นางชนินนาถ เก้าสำราญ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและการขนส่งและจราจร (สนข.) เผยในงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟรางคู่ เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ (ระยะเร่งด่วน) ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ว่า เป็นการนำเสนอผลสรุป เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอของ 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และขอนแก่น รวม 19 สถานี ระยะทาง 187 กิโลเมตร ออกแบบกำหนดให้ก่อสร้างรางเพิ่มขนานกับแนวเส้นทางเดิม 1 ทาง แก้ไขปรับปรุงทางตัดผ่านทางรถไฟ 4 รูปแบบ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ การก่อสร้างจะดำเนินการเฉพาะในพื้นที่ตามแนวเขตทางรถไฟเท่านั้นและไม่ให้มีการตัดต้นไม้ ให้ก่อสร้างเฉพาะในเวลากลางวัน นายสาธร สินปรุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ขอให้พิจารณาการขยายขนาดรางรถไฟ จากเดิม 97 เซนติเมตร ปรับเปลี่ยนเป็นขนาดราง 1.43.5 เมตร ซึ่งเป็นขนาดสากล และเพิ่มงบฯในการสร้างรางไม้หมอนร่วม จะทำให้รถไฟทั้งสองขนาดใช้รางร่วมกันได้ ขณะนี้ประเทศจีนได้ก่อสร้างรางรถไฟไปยังประเทศแถบอินโดจีน หากยังใช้ขนาดรางเดิมโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ หรือฮับ ในภูมิภาค อินโดจีนเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขนาดรางไม่สัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ที่มา : ข้าวสด หน้า 29
รถไฟรางคู่ น่าทำมากกว่า รถไฟความเร็วสูง
ตอบลบแค่แง่คิด คือ รถไฟรางคู่ ทำความเร็ว เต็มที่ของกำลังรถไฟ แต่ต้องจัดการเรื่องรางให้ดี
รถไฟความเร็วสูง เงินลงทุนสูง ค่าใช้จ่าย ตั๋ว ก็ต้องสูงตามไปด้วย