พร้อมสรุปเส้นทาง
รถโดยสารที่วิ่งขอนแก่น มุกดาหาร สุวรรณเขต และดานัง ที่จะทาร่วมกัน
หอการค้าฯขอนแก่นพร้อมรับเออีซีขนส่ง เตรียม เร่งเจรจาสายการบินพงสะหวัน หรือลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ เปิดเที่ยวบินตรงจังหวัดขอนแก่น รองรับ นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว คาดเปิดบริการต้นปีหน้า นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ภาคเอกชน เห็นพ้องว่าควรจะผลักดันและขับเคลื่อนให้ จ.ขอนแก่นมีความพร้อมทุกด้านมากที่สุดก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 โดยเฉพาะ ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งมีการผลักดันทั้งทางบกและอากาศ รองรับการเติบโต หลังเออีซี ซึ่งแนวโน้มคาดว่าจะมีนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว มากขึ้น ที่ขอนแก่นมีความพร้อมของสนามบินและขึ้นเป็นสนามบินนานาชาติ โดยเคยหารือกับผู้บริหารของพงสะหวันหรือลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ ของประเทศลาว และรู้ว่าประเทศลาวค่อนข้างให้ความสำคัญและสนใจ จ.ขอนแก่นเป็นพิเศษ ที่จะเป็นเส้นทางบินอีกแห่งหนึ่งในไทย เพราะศักยภาพของจังหวัดเหมาะสม มีทำเลเป็นศูนย์กลางภูมิภาค จึงได้ศึกษาข้อมูล ข้อกฎหมายความเป็นไปได้ ที่จะให้ขอนแก่นเป็นเส้นทางใหม่ของสายการบินลาว เนื่องจากสายการบินใหม่นี้เป็นของเอกชนลาว 100% ทำให้คล่องตัวสูงมาก และกลางเดือน ต.ค.นี้ จะมีการเจรจาสรุปรายละเอียดกัน ที่ประเทศลาว โดยได้เชิญ สายการบินของจีนและเวียดนาม ร่วมหารือ ด้วยโดยเสนอกำหนดเส้นทางการบิน มีจ.ขอนแก่นเป็นศูนย์กลาง เชื่อมปากเซ สุวรรณเขต หรือหลวงพระบาง ของาว ฮานอยหรือโฮจิมินห์ของเวียดนาม และหนานหนิงหรือคุณหมิงของจีน รวมทั้งกำหนดจำนวนเที่ยวและอัตราค่าโดยสาร "มีความเป็นไปได้สูงมาก และคาดไม่เกิน ต้นปีหน้า 2556 น่าจะเปิดให้บริการได้ แม้ว่าขอนแก่นจะไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ภาคอีสานไม่มาก แต่เป็นศูนย์กลางสำคัญทางการค้า และแนวโน้มจะมี นักธุรกิจเข้ามามากขึ้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ขอนแก่น มีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามาค้าขายมาก โดยเฉพาะตลาดประตูน้ำและอีกหลายแห่งจำนวนมากขึ้น และต่อไปเมื่อเปิดเสรี จะมี การไหลเข้ามาไม่ขาดสาย เพราะประเทศไทยมี ข้อกำหนดน้อย ยืดหยุ่นมาก ทำให้เดินทางเข้ามาง่าย สอดคล้องกับการตั้งกงสุลจีน ที่จ.ขอนแก่นอีกด้วย" นายเข็มชาติ กล่าวอีกว่า การเจรจากับลาวครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญ และผู้อำนวยการ.ท่าอากาศยานขอนแก่น ร่วมให้ข้อมูล รวมทั้งมีการสรุปเส้นทางรถโดยสาร ที่จะวิ่งเส้นทางระหว่างขอนแก่น มุกดาหาร สุวรรณเขต และดานัง ที่จะทำร่วมกัน รวมทั้งการเจรจาระหว่างนักลงทุนไทยและลาวที่สนใจลงทุนร่วมกันโดยทางหอการค้าขอนแก่นได้ประสานให้มีการพบปะกันอีกหลายรายในครั้งนี้ด้วย ปัจจุบันสนามบินขอนแก่นมีเฉพาะ สายการบินในประเทศการบินไทยที่ให้บริการทุกวัน วันละ 3 เที่ยว และเพิ่มพิเศษ เป็น 4 เที่ยวในวัน พฤหัสบดี ศุกร์และเสาร์ และเมื่อเร็วๆนี้นายชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหารโฆษะกรุ๊ป ประธานชมรมผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมภาคอีสาน ได้เจรจากับนายสันติ คล่องใช้ยา Director of Commercial AIR ASIA เพื่อเปิดเส้นทางบินใหม่ดอนเมือง -ขอนแก่น ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ต้นปีหน้าเช่นกัน แม้ขอนแก่นไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แต่เป็นศูนย์กลาง สำคัญทางการค้า แนวโน้มมีนักธุรกิจเข้ามามากขึ้น |
KKCC Gold ศูนย์ขุมทองเพื่อการลงทุน หอการค้าจังหวัดขอนแก่น : ข้อมูล เศรษฐกิจการค้า การลงทุน ของจังหวัดขอนแก่น จากแหล่งต่างๆทั้งที่เป็นทางการ และที่เป็น แนวโน้ม ความเคลื่อนไหว ข้อคิดเห็น นำเสนอให้กับสมาชิก/สาธารณะ การวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบ โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น อันนำไปสู่ การสังเคราะห์ และร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนต่างๆในจังหวัด เพื่อสร้างโอกาสธุรกิจ และสัญญาณให้ปรับตัว รองรับการเปลี่ยนแปลง ใช้ตัดสินใจสร้างผลกำไรได้ ดังชื่อว่า “ศูนย์ขุมทอง เพื่อการลงทุน”
วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ขอนแก่นดึง "ลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์" บินตรง
ธอส.แนะลงทุนในอินโดฯ-ฟิลิปปินส์ชี้เศรษฐกิจโต-เมืองขยายตัวเร็ว
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระดับบริหาร
และปฏิบัติการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม
มีมากขึ้นในอนาคต
เนื่องจากคอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่ชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
(Freehold) ได้ในไทย (แต่กฎหมายระบุว่าชาวต่างชาติไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์รวมกันเกินกว่า
49% ของพื้นที่ขายในแต่ละโครงการ)
โดยตลาดที่มีความน่าสนใจในการจะไปลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดนั้น น่าจะเป็นตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน ประกอบกับมีพื้นที่เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีประชากรมากกว่า 28 ล้านคน และยังเติบโตจากการอพยพของคนชนบททั่วประเทศ ยกเว้นในหมู่เกาะบาหลี ซึ่งเป็นเมืองการท่องเที่ยว เป็นผล มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศ โดยเฉพาะด้านการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า และโรงแรม
ในขณะที่ตลาดฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย พื้นที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะในกรุงมะนิลา ส่วน ประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เป็นอีก 2 ประเทศ ที่น่าสนใจในการลงทุน โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเข้าไปในลักษณะของการร่วมทุน
ส่วนประเทศในสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราความเสี่ยงในการลงทุนสูงสุดนั้น คงหนีไม่พ้นเวียดนาม ที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี ส่วนตลาดบรูไนยังไม่มีความพร้อมในตลาดที่อยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากปัจจุบันตลาดมีขนาดเล็กมาก สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่มีน้อยกว่า 1 ล้านคน
นายสัมมากล่าวว่า สำหรับตลาดในไทยนั้น พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วย (ยูนิต) ที่เปิดขายใหม่รวมกันประมาณ 46,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับยอด 32,500 ยูนิต ใน ช่วงเดียวกันของปี 2554, บ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ 24,000 ยูนิต ลดลง 29% เมื่อเทียบกับยอด 34,000 ยูนิต ในช่วงเดียวกันของปี 2554 อย่างไรก็ตาม ปี 2555 เป็นปีที่เห็นความชัดเจนของการขยายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ใน ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม
โดยตลาดที่มีความน่าสนใจในการจะไปลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดนั้น น่าจะเป็นตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน ประกอบกับมีพื้นที่เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีประชากรมากกว่า 28 ล้านคน และยังเติบโตจากการอพยพของคนชนบททั่วประเทศ ยกเว้นในหมู่เกาะบาหลี ซึ่งเป็นเมืองการท่องเที่ยว เป็นผล มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศ โดยเฉพาะด้านการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า และโรงแรม
ในขณะที่ตลาดฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย พื้นที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะในกรุงมะนิลา ส่วน ประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เป็นอีก 2 ประเทศ ที่น่าสนใจในการลงทุน โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเข้าไปในลักษณะของการร่วมทุน
ส่วนประเทศในสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราความเสี่ยงในการลงทุนสูงสุดนั้น คงหนีไม่พ้นเวียดนาม ที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี ส่วนตลาดบรูไนยังไม่มีความพร้อมในตลาดที่อยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากปัจจุบันตลาดมีขนาดเล็กมาก สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่มีน้อยกว่า 1 ล้านคน
นายสัมมากล่าวว่า สำหรับตลาดในไทยนั้น พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วย (ยูนิต) ที่เปิดขายใหม่รวมกันประมาณ 46,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับยอด 32,500 ยูนิต ใน ช่วงเดียวกันของปี 2554, บ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ 24,000 ยูนิต ลดลง 29% เมื่อเทียบกับยอด 34,000 ยูนิต ในช่วงเดียวกันของปี 2554 อย่างไรก็ตาม ปี 2555 เป็นปีที่เห็นความชัดเจนของการขยายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ใน ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม
ที่มา : แนวหน้า
เผยจุดเด่น 2 นศ. ม.ขอนแก่น คว้ารางวัลโลก ออกแบบสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จากเกาหลี
ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดี
ฝ่ายวิชาการและสารสนเทศ เปิดเผยถึง ความสำเร็จของ นักศึกษา ม.ขอนแก่นที่ได้รับ รางวัลชนะเลิศในการประกวด e-Learning Contest 2012 ณ
ประเทศเกาหลี ว่า นักศึกษา ดังกล่าว ได้แก่ นายภัทรจุฬ จันทรมนตรี
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และนางสาวสุวิชชา จอกทอง
นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากคณะเภสัชศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันโครงการ
e-ICON (2012 e-Learning International Contest of Outstanding New ages
(e-ICON) World Contest) ที่ประเทศเกาหลี
โดยรูปแบบการแข่งขันจะเป็นการออกแบบสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
ด้วยการพัฒนาระบบในรูปแบบ Mobile Application ที่เรียกว่า
"Idea Plus" ซึ่งฉีกแนวคิดในการทำ Content ด้วยการนำเสนอระบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
กระตุ้นให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Content และแบ่งปันความรู้
ร่วมกันสามารถตอบสนองและการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์
และต้องทำงานร่วมกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการทำงานแบบทีมเวิร์กตามกฎของการแข่งขัน
ร่วมกับเด็กเกาหลีอีก 2 คน คือ Kwon-Hee Cho และ Beoyl Jeon โดยต้องใช้การสื่อสารด้วยระบบออนไลน์ในการ
สร้างสรรค์งาน และมี ดร.นำพล มหายศนันท์ รองผู้อำนวยการ
สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นผู้ให้คำปรึกษา
ผศ.ดร.เด่นพงษ์ กล่าวด้วยว่า เหตุผลในการคัดเลือกนักศึกษาทั้งสอง เข้าร่วม โครงการนี้ เนื่องจากทั้งสองคนมีจุดเด่น ที่แตกต่างกันในการส่งเสริมและสนับสนุนกัน ได้เป็นอย่างดี คือ "ภัทรจุฬ" มีความชำนาญ จากการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ได้รับรางวัลชนะการแข่งขันพัฒนาแอพพลิเคชั่น มข. ส่วนด้าน "สุวิชชา" จากคณะเภสัชศาสตร์ มีความโดดเด่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และนำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษ เพราะ มีประสบการณ์ในเวทีโต้วาทีภาษาอังกฤษ มาแล้ว ซึ่งทั้งสองคนได้ร่วมกันทำงานโครงการ แบบบูรณาการร่วมกันในวิชาชีพที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นจุดเด่นของทีมในการแบ่งหน้าที่ ในการแข่งขัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่หา ไม่ได้ในห้องเรียน ช่วยส่งเสริมความมั่นใจ และยกระดับศักยภาพของนักศึกษาไปสู่ความเป็นนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผศ.ดร.เด่นพงษ์ กล่าวด้วยว่า เหตุผลในการคัดเลือกนักศึกษาทั้งสอง เข้าร่วม โครงการนี้ เนื่องจากทั้งสองคนมีจุดเด่น ที่แตกต่างกันในการส่งเสริมและสนับสนุนกัน ได้เป็นอย่างดี คือ "ภัทรจุฬ" มีความชำนาญ จากการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ได้รับรางวัลชนะการแข่งขันพัฒนาแอพพลิเคชั่น มข. ส่วนด้าน "สุวิชชา" จากคณะเภสัชศาสตร์ มีความโดดเด่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และนำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษ เพราะ มีประสบการณ์ในเวทีโต้วาทีภาษาอังกฤษ มาแล้ว ซึ่งทั้งสองคนได้ร่วมกันทำงานโครงการ แบบบูรณาการร่วมกันในวิชาชีพที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นจุดเด่นของทีมในการแบ่งหน้าที่ ในการแข่งขัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่หา ไม่ได้ในห้องเรียน ช่วยส่งเสริมความมั่นใจ และยกระดับศักยภาพของนักศึกษาไปสู่ความเป็นนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม
ที่มา :
แนวหน้า
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555
'บีเอ็นไอ'ขยายกลุ่มสมาชิกรับมือเออีซี
บีเอ็นไอ( BNI - Business Network
International) กลุ่มเครือขายผู้ประกอบการที่สร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านกลยุทธ์การแนะนำแบบบอกต่อมุ่งหน้าสู่มูลค่าทางธุรกิจทั่วโลกกว่า
100,000 ล้านบาทเตรียมขยายกลุ่มธุรกิจสู่ 4 ภาคของไทยรับมือเออีซี
ดร. ไอวาน อาร์ ไมส์เนอร์ ผู้ก่อตั้ง และประธาน บีเอ็นไอ กล่าวว่า บีเอ็นไอก่อตั้งมาเป็นเวลา28 ปี ปัจจุบันเรามีผู้ประกอบการถึง 140,000รายใน 50 ประเทศทั่วโลก และตั้งเป้าไว้ที่ 200,000 รายภายในปี 2558 สำหรับปีนี้ตั้งเป้ามูลค่าธุรกิจทั่วโลกไว้ที่ 1แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 9 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้พบว่าธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานมาอยู่ในเอเชียมากขึ้นเพราะธุรกิจในกลุ่มประเทศยุโรปกำลังซบเซาโดยเฉลี่ยแล้วการส่งออกขององค์กรเหล่านี้ทำเงินถึง 60% ของยอดขายทั้งหมด คาดว่า ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดตลาดธุรกิจใหญ่ที่สุดของบีเอ็นไอโดยมีอินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 2รองจากประเทศอเมริกา
ด้านกลุ่มเป้าหมายในอนาคตของบีเอ็นไอนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีคุ้นเคยกับการพูดคุยผ่านเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ตัวอักษรแต่ไม่รู้จักการพูดต่อหน้า(face to face) ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและน่าเชื่อถือมากกว่า คนในรุ่นเทคโนโลยีล้ำหน้านี้จึงเป็นกลุ่มที่ต้องการความรู้เรื่องการทำตลาดแบบบอกต่อเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในที่สุดสำหรับบีเอ็นไอประเทศไทยเน้นการช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงกลาง(SMEs)เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้มีงบฯทำการตลาดไม่มากจึงไม่สามารถโฆษณาสินค้าและบริการของตนได้ถี่และครอบคลุมได้เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่โดยบีเอ็นไอประเทศไทยมีแผนเพิ่มจำนวนกลุ่มผู้ประกอบการให้ถึง 1,200รายทั่วประเทศภายในปี 2558 จากปัจจุบัน 400 รายพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจไปด้วยกันคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจจากปัจจุบัน720 ล้านบาท ไปสู่ 1,200ล้านบาทในปี 2555นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายการสร้างกลุ่มสมาชิกออกไปยังหัวเมืองใหญ่ทั้งสี่ภาคของประเทศคือภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ในพัทยา ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่เป็นต้น
ด้านนายกลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ประธานอำนวยการบริษัท บีเอ็นไอ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า ปัจจุบันกลุ่มสมาชิกบีเอ็นไอประเทศไทย ได้มีการติดต่อและทำงานกับผู้ประกอบการในประเทศ สมาชิกเออีซีอยู่แล้วเรามี BNI Connect Global ระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจทั่วโลกสามารถแนะนำตัวติดต่อประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังคอยเน้นเรื่องสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงระหว่างสมาชิกอยู่เสมอเพราะเปรียบเหมือนเกราะป้องกันคู่แข่งจากเออีซีไม่ให้เจาะเราได้ง่ายๆกล่าวได้ว่า เราพร้อมสำหรับเออีซีในอีก 3 ปีข้างหน้า
ดร. ไอวาน อาร์ ไมส์เนอร์ ผู้ก่อตั้ง และประธาน บีเอ็นไอ กล่าวว่า บีเอ็นไอก่อตั้งมาเป็นเวลา28 ปี ปัจจุบันเรามีผู้ประกอบการถึง 140,000รายใน 50 ประเทศทั่วโลก และตั้งเป้าไว้ที่ 200,000 รายภายในปี 2558 สำหรับปีนี้ตั้งเป้ามูลค่าธุรกิจทั่วโลกไว้ที่ 1แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 9 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้พบว่าธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มย้ายฐานมาอยู่ในเอเชียมากขึ้นเพราะธุรกิจในกลุ่มประเทศยุโรปกำลังซบเซาโดยเฉลี่ยแล้วการส่งออกขององค์กรเหล่านี้ทำเงินถึง 60% ของยอดขายทั้งหมด คาดว่า ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าเอเชียจะกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดตลาดธุรกิจใหญ่ที่สุดของบีเอ็นไอโดยมีอินเดียเป็นประเทศที่มีขนาดธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 2รองจากประเทศอเมริกา
ด้านกลุ่มเป้าหมายในอนาคตของบีเอ็นไอนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีคุ้นเคยกับการพูดคุยผ่านเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ตัวอักษรแต่ไม่รู้จักการพูดต่อหน้า(face to face) ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและน่าเชื่อถือมากกว่า คนในรุ่นเทคโนโลยีล้ำหน้านี้จึงเป็นกลุ่มที่ต้องการความรู้เรื่องการทำตลาดแบบบอกต่อเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในที่สุดสำหรับบีเอ็นไอประเทศไทยเน้นการช่วยผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงกลาง(SMEs)เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านี้มีงบฯทำการตลาดไม่มากจึงไม่สามารถโฆษณาสินค้าและบริการของตนได้ถี่และครอบคลุมได้เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่โดยบีเอ็นไอประเทศไทยมีแผนเพิ่มจำนวนกลุ่มผู้ประกอบการให้ถึง 1,200รายทั่วประเทศภายในปี 2558 จากปัจจุบัน 400 รายพร้อมกับการพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจไปด้วยกันคาดว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจจากปัจจุบัน720 ล้านบาท ไปสู่ 1,200ล้านบาทในปี 2555นอกจากนี้ยังมีแผนจะขยายการสร้างกลุ่มสมาชิกออกไปยังหัวเมืองใหญ่ทั้งสี่ภาคของประเทศคือภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ในพัทยา ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่เป็นต้น
ด้านนายกลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ประธานอำนวยการบริษัท บีเอ็นไอ (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า ปัจจุบันกลุ่มสมาชิกบีเอ็นไอประเทศไทย ได้มีการติดต่อและทำงานกับผู้ประกอบการในประเทศ สมาชิกเออีซีอยู่แล้วเรามี BNI Connect Global ระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงนักธุรกิจไทยกับนักธุรกิจทั่วโลกสามารถแนะนำตัวติดต่อประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังคอยเน้นเรื่องสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงระหว่างสมาชิกอยู่เสมอเพราะเปรียบเหมือนเกราะป้องกันคู่แข่งจากเออีซีไม่ให้เจาะเราได้ง่ายๆกล่าวได้ว่า เราพร้อมสำหรับเออีซีในอีก 3 ปีข้างหน้า
ที่มา : พิมพ์ไทย
มข.ชี้จีนรุกหนักลงทุนสาขาพลังงานในพม่า
มข.เผยผลวิจัยเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านพบพม่ากำลังเป็นศูนย์กลางที่ต่างชาติพาเหรดกันเข้าไปลงทุนมากที่สุด
เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ระบุจีนกำลังรุกหนักในอุตสาหกรรมทางด้านพลังงาน
เพื่อนำกลับไปหล่อเลี้ยงตัวเอง
น.ส.ณาตยา สีหานาม ผู้จัดการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยด้านเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการวิจัยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้าและการลงทุน พบว่าขณะนี้ประเทศที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนต่อการเข้าไปลงทุนมากที่สุดคือประเทศพม่า เนื่องจากปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประเทศพม่านั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ โลหะ และอัญมณี รวมถึงทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
นอกจากปัจจัยดังกล่าวซึ่งดึงดูดนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้าไปลงทุนแล้วยังมีปัจจัยเสริมคือ ด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานของพม่าที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งรัฐบาลพม่าเองยังพยายามผลักดันให้ประเทสเปิดเสรีด้านการลงทุนเพิ่มมากขึ้นกิจการที่รัฐบาลพม่าให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน ได้แก่ การค้าผลผลิตทางการเกษตร การผลิตวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของพม่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2552 ระบุว่า ชาติที่เข้าไปลงทุนในพม่ามากที่สุด คือ ไทย ถัดมาคือ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย ตามลำดับ ส่วนธุรกิจที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้าไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามในปี 2555 นี้ พบว่าประเทศจีน ได้เข้าไปเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของพม่า และเมื่อเทียบมูลค่าการลงทุนในพม่ารวมระยะเวลา 5 ปี (ระหว่างปี 2008-2012) พบว่าต่างชาติที่ลงทุนสูงที่สุดคือจีน รองลงมา คือ ฮ่องกง และไทย
สำหรับจีนเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก การขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ จึงเน้นลงทุนเพื่อผลิตและส่งผลผลิตเข้าสู่ประเทศของตนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามจากการลงทุนในด้านพลังงานโดยต่างชาติ จะทำให้พม่าได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในแง่ของการที่ทรัพยากรจะถูกตักตวงไปใช้ประโยชน์ จนหมดไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว
น.ส.ณาตยา สีหานาม ผู้จัดการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยด้านเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการวิจัยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในด้านการค้าและการลงทุน พบว่าขณะนี้ประเทศที่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนต่อการเข้าไปลงทุนมากที่สุดคือประเทศพม่า เนื่องจากปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประเทศพม่านั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ โลหะ และอัญมณี รวมถึงทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
นอกจากปัจจัยดังกล่าวซึ่งดึงดูดนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้าไปลงทุนแล้วยังมีปัจจัยเสริมคือ ด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานของพม่าที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งรัฐบาลพม่าเองยังพยายามผลักดันให้ประเทสเปิดเสรีด้านการลงทุนเพิ่มมากขึ้นกิจการที่รัฐบาลพม่าให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน ได้แก่ การค้าผลผลิตทางการเกษตร การผลิตวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของพม่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2552 ระบุว่า ชาติที่เข้าไปลงทุนในพม่ามากที่สุด คือ ไทย ถัดมาคือ สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย ตามลำดับ ส่วนธุรกิจที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้าไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามในปี 2555 นี้ พบว่าประเทศจีน ได้เข้าไปเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของพม่า และเมื่อเทียบมูลค่าการลงทุนในพม่ารวมระยะเวลา 5 ปี (ระหว่างปี 2008-2012) พบว่าต่างชาติที่ลงทุนสูงที่สุดคือจีน รองลงมา คือ ฮ่องกง และไทย
สำหรับจีนเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก การขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ จึงเน้นลงทุนเพื่อผลิตและส่งผลผลิตเข้าสู่ประเทศของตนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามจากการลงทุนในด้านพลังงานโดยต่างชาติ จะทำให้พม่าได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในแง่ของการที่ทรัพยากรจะถูกตักตวงไปใช้ประโยชน์ จนหมดไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ที่มา : คม ชัด ลึก
วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555
เปิดประมูลที่รถไฟ 100 ทำเลทองธนารักษ์ปัดฝุ่นมักกะสัน 3 แสนล.
"รถไฟ" เร่งสำรวจที่ดินทำเลทองทั่วประเทศ
ตั้งเป้าปัมรายได้จากการพัฒนาเพิ่ม คัด 100 ย่านสถานี
เปิดประมูล "อยุธยา-หัวหิน-โคราชพิษณุโลก-ขอนแก่น" ดึงเอกชนร่วมทุนแปลงใหญ่มูลค่าเกิน 1
พันล้าน ด้าน "ชัชชาติ" ผนึกคลัง ดึง
"ธนารักษ์" หยิบ "มักกะสัน" เนื้อที่ 571 ไร่ มูลค่ากว่า 3 แสนล้าน
นำร่องหาเอกชนลงทุนรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เคลียร์หนี้ รถไฟ 6 หมื่นล้าน
นายวิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเดือน ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา รถไฟได้เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) จ้างกรมธนารักษ์มาประเมินราคาที่ดินของรถไฟ ทั่วประเทศ จำนวน 234,976 ไร่ เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้านที่ดินใหม่ให้เป็นปัจจุบัน พร้อมจัดหมวดหมู่ที่ดินมีศักยภาพและไม่มีศักยภาพให้ชัดเจน เพื่อนำมาจัดหาประโยชน์รายได้จากการให้เช่าจากการพัฒนาที่ดิน ทั้งเป็นการรวบรวมข้อมูลยื่นบัญชีทรัพย์สินของรถไฟด้านที่ดินว่า มีมูลค่าเท่าไรให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต่อไป
ขณะเดียวกันระหว่างรอผลประเมินราคาที่ดินจากกรมธนารักษ์ ทางหน่วยธุรกิจบริหารทรัพย์สินตามโครงสร้างใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำแผนนำที่ดินสำหรับการพาณิชย์ (noncore business) จำนวน 36,302 ไร่ ที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ คัดแปลงที่มีศักยภาพประมาณ 100 แปลงมาจัดหารายได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ย 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะจัดหารายได้มากขึ้น เนื่องจากมูลค่าที่ดินต้องสูงขึ้นตามราคาประเมินที่กรมธนารักษ์ประเมินให้
คัด 100 ย่านสถานีประมูล
"ส่วนใหญ่เป็นที่ดินย่านสถานีใหญ่ ๆ มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เพราะนำมาประมูลได้ทันที นอกเหนือจากกรุงเทพฯและที่ดินแปลงใหญ่ อาทิ ขอนแก่นพื้นที่ 21 ไร่ เชียงใหม่กว่า 15 ไร่ พระนครศรีอยุธยากว่า 9 ไร่ หัวหินพื้นที่ 7.8 ไร่ สระบุรีพื้นที่ 31 ไร่ ลำปางพื้นที่ 10 ไร่ ศิลาอาสน์พื้นที่ 12 ไร่ พิษณุโลกพื้นที่ 2.96 ไร่ หนองคายใหม่พื้นที่ 11 ไร่ หาดใหญ่ นครราชสีมา เป็นต้น นำมาเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาพัฒนาที่ดิน และรถไฟจะได้ค่าเช่าจากเอกชน"
ดึงเอกชนร่วมทุนแปลงใหญ่
นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ เช่น ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,983 ไร่ ราคาประเมินเดิม 41,660 ล้านบาท สถานีแม่น้ำ 279 ไร่ ราคาประเมินเดิม 5,245 ล้านบาท มักกะสันกว่า 571 ไร่ เดิมประเมินไว้มีมูลค่า 22,840 ล้านบาท และย่าน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ เป็นต้น จะแยกมาจัดหาประโยชน์ออกมาต่างหาก เพราะเป็นโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯเป็นการเช่าระยะยาว 25-30 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้รถไฟเคยรวบรวมที่ดินย่านสถานีมีศักยภาพเพื่อนำร่องมาพัฒนาหารายได้ เช่น สถานีรถไฟหัวหินเนื้อที่ 7 ไร่ และอยุธยาเนื้อที่ 9 ไร่ พัฒนาพื้นที่ซึ่งเน้นรูปแบบอนุรักษ์วัฒนธรรมหรือเน้นสถาปัตยกรรม ท้องถิ่นประจำภาค เน้นพัฒนาเป็น โรงแรม เกสต์เฮาส์แนวราบที่มีเอกลักษณ์
คัดแปลงเด็ดให้ธนารักษ์บริหาร
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดตรงกัน จะให้ทางกรมธนารักษ์มาช่วยดูแลและจัดหาประโยชน์ที่ดินของรถไฟให้ เพื่อให้มีรายได้จากการพัฒนาที่ดินมากขึ้น เนื่องจากมีประสบการณ์มาก่อน ขณะที่รถไฟเองไม่ค่อยมีความเชี่ยวชาญด้านที่ดินเท่าไหร่ ซึ่งกำลังสำรวจว่ามีที่ดินศักยภาพตรงไหนบ้างจะนำมาดำเนินการร่วมกัน เช่น อาจจะหารายได้โดยใช้โมเดลของกรมธนารักษ์ ในการคิดอัตราค่าเช่า เป็นต้น
"จะให้รถไฟทำหน้าที่เดินรถอย่างเดียว เท่าที่ทราบว่าจะมีโครงการนำร่อง คือ นำที่ดินย่านมักกะสันกว่า 571 ไร่ มูลค่าการลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท มาดำเนินการก่อน เพราะอยู่ในแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์และเป็นที่ดินในเมืองที่มีศักยภาพที่สุด โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน แต่ยังไม่ได้สรุปจะเริ่มได้เมื่อไหร่ เพื่อนำรายได้มาชำระหนี้รถไฟที่มีอยู่กว่า 6 หมื่นล้านบาท"
ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว กระทรวงการคลังมีแนวคิดให้กรมธนารักษ์นำที่ดินของรถไฟย่านในเมืองริมถนนรัชาดาภิเษกตลอดทั้งเส้นเพื่อนำมาจัดหาประโยชน์ให้เช่าเพื่อหารายได้มาล้างหนี้ให้รถไฟฯ ซึ่งในขณะนั้นรถไฟมีหนี้อยู่กว่า 4 หมื่นล้านบาท แต่ติดขัดเรื่องระเบียบและข้อกฎหมาย เนื่องจากที่ดินของรถไฟเวนคืนมาเพื่อการเดินรถซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ถ้าจะทำอย่างอื่นต้องแก้กฎหมาย จึงทำให้เรื่องเงียบหายไป จนมาจู่ ๆ กระทรวงการคลังมีแนวคิดนี้ขึ้นมาอีก
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมมีนโยบายให้ธนารักษ์จังหวัดทั่วประเทศประเมินราคาที่ราชพัสดุของกรมใหม่ให้เป็นปัจจุบัน และให้คัดเลือกแปลงที่มีศักยภาพประมาณ 100 แปลง มาจัดหาประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ ปัจจุบันยังไม่ได้รับรายงานแต่อย่างใด
"เราจะดูว่าแต่ละแปลงสามารถนำมาประมูลในปี 2556 ได้ทันที และแปลงไหนจะต้องขอแก้ไขผังเมืองรวมเพื่อนำมาจัดหาประโยชน์ต่อไป"
ทั้งนี้เบื้องต้นในย่านกรุงเทพฯ คาดว่าจะมี 3 แปลงที่จะนำมาประมูลในปี 2556 ได้แก่ 1.พื้นที่เขตพระนคร เนื้อที่ 2 ไร่เศษ เป็นที่ดินเดิมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2.พื้นที่เขตบางพลัด เนื้อที่ 1 ไร่เศษ และ 3.พื้นที่เขตจตุจักร พื้นที่ 4 ไร่เศษ โดยทั้ง 3 แปลงเหมาะพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ เช่น คอนโดฯ ฯลฯ ให้เช่าระยะยาว 30 ปี คาดว่าจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
นายวิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเดือน ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา รถไฟได้เซ็นบันทึกข้อตกลง (MOU) จ้างกรมธนารักษ์มาประเมินราคาที่ดินของรถไฟ ทั่วประเทศ จำนวน 234,976 ไร่ เพื่อประเมินมูลค่าทรัพย์สินด้านที่ดินใหม่ให้เป็นปัจจุบัน พร้อมจัดหมวดหมู่ที่ดินมีศักยภาพและไม่มีศักยภาพให้ชัดเจน เพื่อนำมาจัดหาประโยชน์รายได้จากการให้เช่าจากการพัฒนาที่ดิน ทั้งเป็นการรวบรวมข้อมูลยื่นบัญชีทรัพย์สินของรถไฟด้านที่ดินว่า มีมูลค่าเท่าไรให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต่อไป
ขณะเดียวกันระหว่างรอผลประเมินราคาที่ดินจากกรมธนารักษ์ ทางหน่วยธุรกิจบริหารทรัพย์สินตามโครงสร้างใหม่ อยู่ระหว่างจัดทำแผนนำที่ดินสำหรับการพาณิชย์ (noncore business) จำนวน 36,302 ไร่ ที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ คัดแปลงที่มีศักยภาพประมาณ 100 แปลงมาจัดหารายได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ย 1,600 ล้านบาท คาดว่าจะจัดหารายได้มากขึ้น เนื่องจากมูลค่าที่ดินต้องสูงขึ้นตามราคาประเมินที่กรมธนารักษ์ประเมินให้
คัด 100 ย่านสถานีประมูล
"ส่วนใหญ่เป็นที่ดินย่านสถานีใหญ่ ๆ มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท เพราะนำมาประมูลได้ทันที นอกเหนือจากกรุงเทพฯและที่ดินแปลงใหญ่ อาทิ ขอนแก่นพื้นที่ 21 ไร่ เชียงใหม่กว่า 15 ไร่ พระนครศรีอยุธยากว่า 9 ไร่ หัวหินพื้นที่ 7.8 ไร่ สระบุรีพื้นที่ 31 ไร่ ลำปางพื้นที่ 10 ไร่ ศิลาอาสน์พื้นที่ 12 ไร่ พิษณุโลกพื้นที่ 2.96 ไร่ หนองคายใหม่พื้นที่ 11 ไร่ หาดใหญ่ นครราชสีมา เป็นต้น นำมาเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาพัฒนาที่ดิน และรถไฟจะได้ค่าเช่าจากเอกชน"
ดึงเอกชนร่วมทุนแปลงใหญ่
นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ เช่น ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,983 ไร่ ราคาประเมินเดิม 41,660 ล้านบาท สถานีแม่น้ำ 279 ไร่ ราคาประเมินเดิม 5,245 ล้านบาท มักกะสันกว่า 571 ไร่ เดิมประเมินไว้มีมูลค่า 22,840 ล้านบาท และย่าน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ เป็นต้น จะแยกมาจัดหาประโยชน์ออกมาต่างหาก เพราะเป็นโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จะต้องให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯเป็นการเช่าระยะยาว 25-30 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้รถไฟเคยรวบรวมที่ดินย่านสถานีมีศักยภาพเพื่อนำร่องมาพัฒนาหารายได้ เช่น สถานีรถไฟหัวหินเนื้อที่ 7 ไร่ และอยุธยาเนื้อที่ 9 ไร่ พัฒนาพื้นที่ซึ่งเน้นรูปแบบอนุรักษ์วัฒนธรรมหรือเน้นสถาปัตยกรรม ท้องถิ่นประจำภาค เน้นพัฒนาเป็น โรงแรม เกสต์เฮาส์แนวราบที่มีเอกลักษณ์
คัดแปลงเด็ดให้ธนารักษ์บริหาร
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดตรงกัน จะให้ทางกรมธนารักษ์มาช่วยดูแลและจัดหาประโยชน์ที่ดินของรถไฟให้ เพื่อให้มีรายได้จากการพัฒนาที่ดินมากขึ้น เนื่องจากมีประสบการณ์มาก่อน ขณะที่รถไฟเองไม่ค่อยมีความเชี่ยวชาญด้านที่ดินเท่าไหร่ ซึ่งกำลังสำรวจว่ามีที่ดินศักยภาพตรงไหนบ้างจะนำมาดำเนินการร่วมกัน เช่น อาจจะหารายได้โดยใช้โมเดลของกรมธนารักษ์ ในการคิดอัตราค่าเช่า เป็นต้น
"จะให้รถไฟทำหน้าที่เดินรถอย่างเดียว เท่าที่ทราบว่าจะมีโครงการนำร่อง คือ นำที่ดินย่านมักกะสันกว่า 571 ไร่ มูลค่าการลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท มาดำเนินการก่อน เพราะอยู่ในแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์และเป็นที่ดินในเมืองที่มีศักยภาพที่สุด โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน แต่ยังไม่ได้สรุปจะเริ่มได้เมื่อไหร่ เพื่อนำรายได้มาชำระหนี้รถไฟที่มีอยู่กว่า 6 หมื่นล้านบาท"
ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว กระทรวงการคลังมีแนวคิดให้กรมธนารักษ์นำที่ดินของรถไฟย่านในเมืองริมถนนรัชาดาภิเษกตลอดทั้งเส้นเพื่อนำมาจัดหาประโยชน์ให้เช่าเพื่อหารายได้มาล้างหนี้ให้รถไฟฯ ซึ่งในขณะนั้นรถไฟมีหนี้อยู่กว่า 4 หมื่นล้านบาท แต่ติดขัดเรื่องระเบียบและข้อกฎหมาย เนื่องจากที่ดินของรถไฟเวนคืนมาเพื่อการเดินรถซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ถ้าจะทำอย่างอื่นต้องแก้กฎหมาย จึงทำให้เรื่องเงียบหายไป จนมาจู่ ๆ กระทรวงการคลังมีแนวคิดนี้ขึ้นมาอีก
นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมมีนโยบายให้ธนารักษ์จังหวัดทั่วประเทศประเมินราคาที่ราชพัสดุของกรมใหม่ให้เป็นปัจจุบัน และให้คัดเลือกแปลงที่มีศักยภาพประมาณ 100 แปลง มาจัดหาประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ ปัจจุบันยังไม่ได้รับรายงานแต่อย่างใด
"เราจะดูว่าแต่ละแปลงสามารถนำมาประมูลในปี 2556 ได้ทันที และแปลงไหนจะต้องขอแก้ไขผังเมืองรวมเพื่อนำมาจัดหาประโยชน์ต่อไป"
ทั้งนี้เบื้องต้นในย่านกรุงเทพฯ คาดว่าจะมี 3 แปลงที่จะนำมาประมูลในปี 2556 ได้แก่ 1.พื้นที่เขตพระนคร เนื้อที่ 2 ไร่เศษ เป็นที่ดินเดิมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2.พื้นที่เขตบางพลัด เนื้อที่ 1 ไร่เศษ และ 3.พื้นที่เขตจตุจักร พื้นที่ 4 ไร่เศษ โดยทั้ง 3 แปลงเหมาะพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ เช่น คอนโดฯ ฯลฯ ให้เช่าระยะยาว 30 ปี คาดว่าจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียมไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
นำร่อง"สมุดทะเบียนเกษตรกร"เดินเครื่อง 10 จังหวัด 1 ตุลาคมนี้
นายวิทยา อธิปอนันต์ รองอธิบดีกรมส่งเสริม การเกษตร กล่าวว่า
กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดทำ "สมุดทะเบียนเกษตรกร" โดยในปีงบประมาณ 2555 จะดำเนินการแจกจ่าย ให้เกษตรกร 10
จังหวัด 178 อำเภอ คือ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท
สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น นครศรีธรรมราช จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก
ครอบคลุมครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 1.6
ล้านครัวเรือน และมีแผนขยายผล ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในปี 2556
โดยในสมุดทะเบียนเกษตรกร จะมีข้อมูลของเกษตรกร คือ ข้อมูลทั่วไป อาทิ ชื่อเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียน เลขประจำตัวประชาชน วัน-เดือน-ปีเกิด เลขรหัสประจำบ้าน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ข้อมูลของสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตร การถือครองที่ดิน ที่ตั้งแปลง เอกสารสิทธิ จำนวนเงิน/ผลผลิตที่ได้รับ โดยจะเริ่มแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป
นายวิทยากล่าวอีกว่า สมุดทะเบียนเกษตรกร จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการบันทึกข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตร เพื่อนำไปแสดงตัวตนต่อหน่วยงานของรัฐ หากมีการตรวจสอบยืนยันข้อมูลการผลิตของเกษตรกรตามช่วงเวลาต่างๆ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมภาครัฐ และเนื่องจากในสมุดจะเก็บข้อมูลประวัติการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนการทำการเกษตรในฤดูกาลต่อไปได้ด้วย ในส่วนของภาครัฐเอง สมุดทะเบียนเกษตรกรก็จะเป็นประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์การผลิตพืชที่เป็นปัจจุบัน อย่าง ต่อเนื่องในทุกฤดูกาล รวมทั้งเป็นข้อมูลติดตามการผลิตพืชที่เป็นปัจจุบันของเกษตรกรรายนั้นๆ และภาพรวมในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
โดยในสมุดทะเบียนเกษตรกร จะมีข้อมูลของเกษตรกร คือ ข้อมูลทั่วไป อาทิ ชื่อเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียน เลขประจำตัวประชาชน วัน-เดือน-ปีเกิด เลขรหัสประจำบ้าน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ข้อมูลของสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตร การถือครองที่ดิน ที่ตั้งแปลง เอกสารสิทธิ จำนวนเงิน/ผลผลิตที่ได้รับ โดยจะเริ่มแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในวันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป
นายวิทยากล่าวอีกว่า สมุดทะเบียนเกษตรกร จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการบันทึกข้อมูลกิจกรรมทางการเกษตร เพื่อนำไปแสดงตัวตนต่อหน่วยงานของรัฐ หากมีการตรวจสอบยืนยันข้อมูลการผลิตของเกษตรกรตามช่วงเวลาต่างๆ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมภาครัฐ และเนื่องจากในสมุดจะเก็บข้อมูลประวัติการเกษตรของเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนการทำการเกษตรในฤดูกาลต่อไปได้ด้วย ในส่วนของภาครัฐเอง สมุดทะเบียนเกษตรกรก็จะเป็นประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์การผลิตพืชที่เป็นปัจจุบัน อย่าง ต่อเนื่องในทุกฤดูกาล รวมทั้งเป็นข้อมูลติดตามการผลิตพืชที่เป็นปัจจุบันของเกษตรกรรายนั้นๆ และภาพรวมในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
ที่มา
:
แนวหน้า
วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555
ธุรกิจอพาร์ตเมนต์ขอนแก่นพร้อมรับเออีซี
ขอนแก่นชมรมผู้ประกอบการกิจการหอพักฯเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เผยภาพรวมในจังหวัดขอนแก่น ยัง โตก้าวกระโดด ขณะที่พื้นที่โซน มหาวิทยาลัยขอนแก่นเริ่มอิ่มตัว
นายจตุพร เพชรชูวาปี เลขานุการชมรม ผู้ประกอบการกิจการหอพักอพาร์ตเม้นต์ ขอนแก่น เปิดเผยว่า ธุรกิจห้องเช่าใน จ.ขอนแก่นขยายตัวค่อนข้างมาก แต่ยังแยกเป็นโซน โดยเฉพาะปีนี้พื้นที่โซนมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน ค่อนข้างมาแรง เติบโตทั้งสองฝั่ง ถนนศรีจันทร์และถนนประชาสโมสร ส่วนโซนพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นถือว่าอิ่มตัว แต่ตั้งแต่ปี 2554 เริ่มชะลอตัวและห้องเหลือว่าง ซึ่งอาจเพราะส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับนักศึกษา แต่ช่วง2 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่รับนักศึกษาเพิ่ม ทำให้ห้องพักที่เร่งสร้างมีเกินความต้องการ
"ถ้าดูภาพรวมถือว่า ห้องเช่าทุกประเภทโตอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยอย่างปีละ 10% โดยรวมถือว่า จ.ขอนแก่นยังโตเกือบทุกด้าน ทำให้ความต้องการที่พักอาศัยประเภทห้องเช่าสูงขึ้น ที่สำคัญปี 2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และขอนแก่นถือว่าเป็นจุดศูนย์กลาง จึงต้องเตรียมพร้อม มีการลงทุนธุรกิจอื่นๆ
ตามถนนสายหลัก สายรอง ส่วนราคาต้องยอมรับบางโซนราคาที่ดิน ค่าก่อสร้างแพงขึ้น ทำให้ต้องปรับค่าเช่าให้เหมาะสม เฉลี่ยอพาร์ตเมนต์ ใน จ.ขอนแก่น ห้องละ 3,000-4,000 บาท"
นายจตุพร กล่าวว่า เพื่อให้ผู้ที่เป็นสมาชิกชมรมและผู้ที่สนใจลงทุนธุรกิจห้องเช่าหน้าใหม่ ได้ความรู้เข้าใจกับสถานการณ์ที่แท้จริงของภาพรวมธุรกิจห้องเช่า ชมรมฯได้เตรียมจัดสัมมนาทิศทางธุรกิจที่พักอาศัย ก้าวสู่เออีซี ในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพัก อพาร์ตเมนต์ และ ห้องพัก ในจ.ขอนแก่น เนื่องจากใน 3 ปีไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งธุรกิจห้องพักห้องเช่าต่างๆ จะต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่จะขึ้น"
สำหรับวิทยากร ประกอบด้วย ผู้มีประสบการณ์ธุรกิจอสังหาฯอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ที่สามารถวางแผนกิจการห้องพักให้สอบรับกับการเข้าสู่เออีซี มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรมนุษย์ที่จะให้ความรู้การบริหารคนให้ทันยุคทันสมัย และตัวแทนกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ มาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่จะประกอบกิจการห้องพักห้องเช่า พร้อมแนวทางการลงทุน บริหารคนและการวางแผนเพื่อแข่งขันกับชาติ และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งการทำกิจการรองรับต่างชาติที่จะเข้ามาอาศัยในประเทศมากขึ้น
ถ้าดูภาพรวมถือว่า ห้องเช่าทุกประเภทโตอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปีละ 10% และถือว่าขอนแก่น ยังโตเกือบทุกด้าน
นายจตุพร เพชรชูวาปี เลขานุการชมรม ผู้ประกอบการกิจการหอพักอพาร์ตเม้นต์ ขอนแก่น เปิดเผยว่า ธุรกิจห้องเช่าใน จ.ขอนแก่นขยายตัวค่อนข้างมาก แต่ยังแยกเป็นโซน โดยเฉพาะปีนี้พื้นที่โซนมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน ค่อนข้างมาแรง เติบโตทั้งสองฝั่ง ถนนศรีจันทร์และถนนประชาสโมสร ส่วนโซนพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นถือว่าอิ่มตัว แต่ตั้งแต่ปี 2554 เริ่มชะลอตัวและห้องเหลือว่าง ซึ่งอาจเพราะส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับนักศึกษา แต่ช่วง2 ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่รับนักศึกษาเพิ่ม ทำให้ห้องพักที่เร่งสร้างมีเกินความต้องการ
"ถ้าดูภาพรวมถือว่า ห้องเช่าทุกประเภทโตอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยอย่างปีละ 10% โดยรวมถือว่า จ.ขอนแก่นยังโตเกือบทุกด้าน ทำให้ความต้องการที่พักอาศัยประเภทห้องเช่าสูงขึ้น ที่สำคัญปี 2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และขอนแก่นถือว่าเป็นจุดศูนย์กลาง จึงต้องเตรียมพร้อม มีการลงทุนธุรกิจอื่นๆ
ตามถนนสายหลัก สายรอง ส่วนราคาต้องยอมรับบางโซนราคาที่ดิน ค่าก่อสร้างแพงขึ้น ทำให้ต้องปรับค่าเช่าให้เหมาะสม เฉลี่ยอพาร์ตเมนต์ ใน จ.ขอนแก่น ห้องละ 3,000-4,000 บาท"
นายจตุพร กล่าวว่า เพื่อให้ผู้ที่เป็นสมาชิกชมรมและผู้ที่สนใจลงทุนธุรกิจห้องเช่าหน้าใหม่ ได้ความรู้เข้าใจกับสถานการณ์ที่แท้จริงของภาพรวมธุรกิจห้องเช่า ชมรมฯได้เตรียมจัดสัมมนาทิศทางธุรกิจที่พักอาศัย ก้าวสู่เออีซี ในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพัก อพาร์ตเมนต์ และ ห้องพัก ในจ.ขอนแก่น เนื่องจากใน 3 ปีไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งธุรกิจห้องพักห้องเช่าต่างๆ จะต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ที่จะขึ้น"
สำหรับวิทยากร ประกอบด้วย ผู้มีประสบการณ์ธุรกิจอสังหาฯอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ที่สามารถวางแผนกิจการห้องพักให้สอบรับกับการเข้าสู่เออีซี มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรมนุษย์ที่จะให้ความรู้การบริหารคนให้ทันยุคทันสมัย และตัวแทนกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ มาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่จะประกอบกิจการห้องพักห้องเช่า พร้อมแนวทางการลงทุน บริหารคนและการวางแผนเพื่อแข่งขันกับชาติ และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว รวมทั้งการทำกิจการรองรับต่างชาติที่จะเข้ามาอาศัยในประเทศมากขึ้น
ถ้าดูภาพรวมถือว่า ห้องเช่าทุกประเภทโตอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปีละ 10% และถือว่าขอนแก่น ยังโตเกือบทุกด้าน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
'5 ผู้นำธุรกิจ 5 ภาค'...เจาะลึก เศรษฐกิจอีสาน/ตะวันออกรุ่ง-ปักษ์ใต้ซึม
ก้าวสู่ไตรมาสโค้งท้ายของปีแล้ว ทีมข่าว "ประชาชาติธุรกิจ"
ตะลุยสัมภาษณ์พิเศษนักธุรกิจมือโปร 5 คน 5 ภูมิภาคของไทยมาวิเคราะห์ เจาะลึกภาวะเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค
ซึ่งมีทั้งจุดแข็ง-โอกาส และความเสี่ยงต่อการวางแผนการค้า การลงทุนในปี 2556
เมืองเหนือแหล่งผลิตอาหาร
"ณรงค์ คองประเสริฐ" ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในโค้งสุดท้ายจะยังขยายตัวได้จากหลายปัจจัยบวก แต่ยังมีความกังวลปัจจัยการเมือง เงินเฟ้อ ค่าแรง 300 บาท โดยเฉพาะนโยบาย "ประชานิยม" ที่รัฐบาลทุ่มงบฯมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะนั่นคือ ต้นทุนสำคัญของประเทศที่ส่งผลให้หนี้สินเพิ่มขึ้น และจะเกิดภาวะบริโภคเกินตัว
ในส่วนของ จ.เชียงใหม่ เซ็กเตอร์ที่เติบโตค่อนข้างดี คือ ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์จากงานราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก) ในไตรมาส 1 ส่วนไตรมาส 2 นักท่องเที่ยว ลดลงเพราะเข้าสู่โลว์ซีซั่น แต่ก็โชคดีที่ได้นักท่องเที่ยวเพิ่มเข้ามาจากการเปิดบินตรงเชียงใหม่-มาเก๊า, เชียงใหม่-เกาหลี และนักท่องเที่ยวออสเตรเลีย
ภาคการผลิตที่ดีต่อเนื่องก็คือ ภาคเกษตรแปรรูป ซึ่งภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญและมีแนวโน้มขยายตัวที่ดีมาก และธุรกิจค้าปลีกรถยนต์เติบโตขึ้นเกือบ 100%
ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างมากในเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากน้ำท่วมที่ภาคกลาง-กรุงเทพฯเมื่อปี 2554 ทำให้นักลงทุนแห่มาลงทุนทำบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ขณะที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และมอลล์ขนาดกลางก็เกิดขึ้นหลายแห่ง อีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เร่งลงทุนมากก็คือ ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ที่จะบังคับใช้ในสิ้นปีนี้ ซึ่งไม่สนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลมากคือ ค่าแรง 300 บาทที่จะปรับขึ้นต้นปี 2556 เพราะต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานอย่างหัตถกรรม และภาคบริการ-โรงแรม อีกเรื่องที่ห่วงคือ เงินเฟ้อ ซึ่งกำลังซื้อจะลดลง
ณรงค์ทิ้งท้ายว่า การใช้นโยบายประชานิยม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีในระยะสั้น แต่จะไม่เป็นผลดีในระยะยาว รัฐควรนำเงินงบประมาณไปลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้ประชาชนมากกว่า อาทิ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ซึ่งทุกจังหวัดในภาคเหนือก็จะได้รับประโยชน์ เพราะต้นทุนด้านโลจิสติกส์บ้านเราสูงมาก
เขยฝรั่ง-จีนปักหลักอีสาน
"สมชัย ไกรครุฑรี" กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่โชคดีที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทั้งน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว ขณะที่กำลังซื้อที่ไหลเวียนในภูมิภาคได้จากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมากทั้ง สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชาที่ต้องซึ้อสินค้าจากไทย 70-80% เฉพาะอุดรธานีมีรถยนต์จากเพื่อนบ้านเข้ามาในจังหวัดเฉลี่ย 3,000 กว่าคัน/วัน มีส่วนแบ่ง ของเม็ดเงินถึง 60% โดยหนองคายและขอนแก่นแบ่งกันไปจังหวัดละ 20%
เช่นเดียวกับภาคการเกษตร มีปริมาณผลผลิต 22% ของประเทศ ข้าวหอมมะลิยังเป็นเบอร์ 1 และตามมาติด ๆ คือ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ส่วนภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมก็ทยอยย้ายฐานการผลิตมาในอีสาน ทำให้รายได้ของประชากรดีขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งที่น่าจับตามองคือ จีนเล็งภาคอีสานของไทยไว้ในอนาคตอันใกล้
"มีการประชุมร่วมระหว่างหอการค้าไทยและหอการค้าภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด ยังไม่มีใครบ่นว่าค้าขายไม่ดี แต่สิ่งที่กังวลคือ เอสเอ็มอีกับการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาทต้นปีหน้า ถ้าค่อย ๆ ขึ้น 20%, 50% และ 70% จะเป็นผลดีมากกว่า"
สมชัยมองการเติบโตของภาคอีสานว่า ขณะนี้เป็นภาคที่ถูกพูดถึงทั้งในแง่ของการลงทุนและการมองหาที่พักอาศัยในอนาคต โดยเฉพาะคนกรุงเริ่มมองหาบ้านหลังที่ 2 ซึ่งเชียงใหม่ก็เริ่มแออัดแล้ว กลุ่มผู้เกษียณทั้งคนไทย และเขยฝรั่งในภูมิภาคนี้กว่า 4 หมื่นคู่ ก็เลือกที่จะปักหลักที่อีสาน ทั้งโคราช ขอนแก่น อุดรฯ หนองบัวลำภู หนองคาย สุรินทร์ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ แต่วาระเร่งด่วนก็คือ การ "บริหารจัดการน้ำ" อย่างเป็นระบบในภาคอีสาน
รง.ภาคกลางอ่วมค่าจ้าง 300-โลกร้อน
"ดร.สิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ" ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง มองว่า เศรษฐกิจภาพรวมปีนี้น่าจะเติบโตอยู่ที่ 7% เนื่องจากในระยะนี้ไปจนถึงปลายปี'55 ผลผลิตการเกษตรมีปัญหา ทำให้กำลังการผลิตลดน้อยลง และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลงเช่นกัน
ส่วนปัญหาในประเทศเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ช่วงนี้จึงไม่มีผลผลิตข้าวโพดหวาน สับปะรด ป้อนเข้าสู่โรงงาน และในบางจังหวัดเกิดปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ปลูกข้าว ฝนตกชุกเกือบทุกวันก็กรีดยางพาราไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ราคายางตกต่ำอยู่แล้ว
นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์โดยเฉพาะรถบรรทุกเพื่อใช้ในการขนส่งปัจจุบันขาดแคลนมาก หากต้องการใช้รถจะต้องรอนาน 6-10 เดือน ขณะที่ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงก็ปรับขึ้นทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้น
อีกทั้งผู้ประกอบการหลายรายยังกังวลการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค. 56 บางจังหวัดเท่ากับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถึง 100% ส่วน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ทยอยปิดกิจการไปตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ส่วนอุตฯขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้เตรียมนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน ในระยะยาวการจ้างงานลดลงแน่นอน
อุตฯหัวหอกใต้ทรุด-ปีหน้าเผาจริง
"ทวี ปิยะพัฒนา" รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดูแลพื้นที่ภาคใต้ วิเคราะห์ว่า ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ในภาพรวม 3 ไตรมาสที่ผ่านมาถือว่าตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่เป็นหัวหอกหลักอย่างยางพารา ปาล์มน้ำมัน แปรรูปสัตว์น้ำ ส่งออกอาหารทะเล ทุกอย่างลดลงหมด ตัวเลขส่งออกลดลง 15% มีเพียงภาคการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ยังพอไปได้
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ดีมาจาก ทั่วโลก ตัวแปรมันแย่ทั้งกระดาน ไตรมาสสุดท้ายก็ยังไม่ดีขึ้น ภาวะตอนนี้ทุกคนชะลอไปหมด ต่างคนต่างประหยัด ชะลอการใช้จ่าย ล่าสุดเงินบาทแข็งค่าก็กระทบผู้ส่งออก ที่น่าห่วงคือเอสเอ็มอีต่างจังหวัด ที่พึ่งพาซัพพลายเชนจะอยู่ลำบาก เพราะปรับขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายทุกอย่างแพงขึ้น ทั้งค่าแรง 300 บาท และหากรัฐบาลมีมาตรการหยุดการตรึงราคาดีเซล ก็จะกระทบหนักเข้าไปอีก
"ผมมองว่าปีหน้าจะเป็นการเผาจริง หลังสงกรานต์จะเห็นชัดเจน"
เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรดำเนินการคือ 1.แก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่ระบุว่าการโค่นยางพาราต้องขออนุญาต ทั้ง ๆ ที่ยางเป็นป่าปลูก 2.การขยายเวลาเงินกู้ซอฟต์โลนออกไปอีก 3.ให้ประกาศพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปลอดภาษี เพื่อกระตุ้นการลงทุน และประกาศเป็นโซนพิเศษ สามารถรับแรงงานต่างด้าวได้ทุกเดือน ไม่ใช่แค่ปีละ 1 ครั้ง และขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องโลจิสติกส์ โดยเฉพาะ รถไฟทางคู่จากใต้สุดถึง กทม. เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่ง
ตะวันออกสดใส-ลงทุนใหม่โต
"สุนทร ธัญญรัตนกุล" ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี ชี้ว่า ภาคตะวันออกมีการขยายตัวการลงทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งจากทุนท้องถิ่นและทุนขนาดใหญ่ครอบคลุมทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม การค้า อสังหาริมทรัพย์ หรือธุรกิจบริการ โรงแรม ประกอบกับภูมิประเทศในภาคตะวันออกยังเอื้อต่อการลงทุน เพราะเป็นศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรม อยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึก สนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภา สะดวกในการเดินทาง การขนส่ง การกระจายสินค้า และปัจจัยใหม่เรื่องน้ำไม่ท่วม
"วันนี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกสดใส มีการค้าขายลงทุนอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นไม่มีพระอาทิตย์ตกดินที่ภาคตะวันออกแน่นอน"
ในส่วนของ จ.ชลบุรี ทุกวันนี้มีการลงทุนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดัชนีชี้วัดสำคัญคือการซื้อขายที่ดินเพื่อการลงทุน ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัวในเขตทำเล ดี ๆ เช่น อ.ศรีราชา และ อ.เมือง เฉลี่ยไร่ละ 30-60 ล้านบาท หรือที่พัทยาเฉลี่ยไร่ละ 20 ล้านบาทขึ้นไป แต่ถ้าใกล้ชายหาดก็ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
"ที่ดินในชลบุรีมีการจับจองจำนวนมาก เพื่อเตรียมขยายการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ คนมีเงินไม่ได้อยากฝากธนาคารอย่างเดียวก็นำไปลงทุน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องภาษีที่ดิน เมื่อรัฐยังไม่กล้าเก็บภาษีที่ดิน คนก็กล้าลงทุนมากขึ้น"
นอกจากนี้ที่ดินในชลบุรีที่เคยเป็นแหล่งปลูกพืชเกษตร มีการแปลงสภาพไปเป็นพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ หมู่บ้านจัดสรรขึ้นเป็นดอกเห็ด รวมทั้งการลงทุนคอนโดมิเนียม
ปัญหาของภาคตะวันออกขณะนี้คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ใช้แรงงานต่างด้าว เพราะแนวโน้ม คนไทยใช้แรงงานลดน้อยลง
ส่วนวิกฤตน้ำภาคตะวันออก ประธานหอฯชลบุรีฟันธงว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญ โอกาสน้ำท่วมใหญ่หรือวิกฤตขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกคงไม่มี เพราะมีการ เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
นี่คือ 5 มุมมองสะท้อนเศรษกิจไทยที่เป็นอยู่ใน 5 ภูมิภาค...!
เมืองเหนือแหล่งผลิตอาหาร
"ณรงค์ คองประเสริฐ" ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในโค้งสุดท้ายจะยังขยายตัวได้จากหลายปัจจัยบวก แต่ยังมีความกังวลปัจจัยการเมือง เงินเฟ้อ ค่าแรง 300 บาท โดยเฉพาะนโยบาย "ประชานิยม" ที่รัฐบาลทุ่มงบฯมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะนั่นคือ ต้นทุนสำคัญของประเทศที่ส่งผลให้หนี้สินเพิ่มขึ้น และจะเกิดภาวะบริโภคเกินตัว
ในส่วนของ จ.เชียงใหม่ เซ็กเตอร์ที่เติบโตค่อนข้างดี คือ ภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์จากงานราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก) ในไตรมาส 1 ส่วนไตรมาส 2 นักท่องเที่ยว ลดลงเพราะเข้าสู่โลว์ซีซั่น แต่ก็โชคดีที่ได้นักท่องเที่ยวเพิ่มเข้ามาจากการเปิดบินตรงเชียงใหม่-มาเก๊า, เชียงใหม่-เกาหลี และนักท่องเที่ยวออสเตรเลีย
ภาคการผลิตที่ดีต่อเนื่องก็คือ ภาคเกษตรแปรรูป ซึ่งภาคเหนือเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญและมีแนวโน้มขยายตัวที่ดีมาก และธุรกิจค้าปลีกรถยนต์เติบโตขึ้นเกือบ 100%
ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างมากในเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากน้ำท่วมที่ภาคกลาง-กรุงเทพฯเมื่อปี 2554 ทำให้นักลงทุนแห่มาลงทุนทำบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ขณะที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และมอลล์ขนาดกลางก็เกิดขึ้นหลายแห่ง อีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เร่งลงทุนมากก็คือ ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ที่จะบังคับใช้ในสิ้นปีนี้ ซึ่งไม่สนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ
แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลมากคือ ค่าแรง 300 บาทที่จะปรับขึ้นต้นปี 2556 เพราะต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานอย่างหัตถกรรม และภาคบริการ-โรงแรม อีกเรื่องที่ห่วงคือ เงินเฟ้อ ซึ่งกำลังซื้อจะลดลง
ณรงค์ทิ้งท้ายว่า การใช้นโยบายประชานิยม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีในระยะสั้น แต่จะไม่เป็นผลดีในระยะยาว รัฐควรนำเงินงบประมาณไปลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ให้ประชาชนมากกว่า อาทิ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ซึ่งทุกจังหวัดในภาคเหนือก็จะได้รับประโยชน์ เพราะต้นทุนด้านโลจิสติกส์บ้านเราสูงมาก
เขยฝรั่ง-จีนปักหลักอีสาน
"สมชัย ไกรครุฑรี" กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่โชคดีที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงทั้งน้ำท่วมหรือแผ่นดินไหว ขณะที่กำลังซื้อที่ไหลเวียนในภูมิภาคได้จากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมากทั้ง สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชาที่ต้องซึ้อสินค้าจากไทย 70-80% เฉพาะอุดรธานีมีรถยนต์จากเพื่อนบ้านเข้ามาในจังหวัดเฉลี่ย 3,000 กว่าคัน/วัน มีส่วนแบ่ง ของเม็ดเงินถึง 60% โดยหนองคายและขอนแก่นแบ่งกันไปจังหวัดละ 20%
เช่นเดียวกับภาคการเกษตร มีปริมาณผลผลิต 22% ของประเทศ ข้าวหอมมะลิยังเป็นเบอร์ 1 และตามมาติด ๆ คือ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ส่วนภาคการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมก็ทยอยย้ายฐานการผลิตมาในอีสาน ทำให้รายได้ของประชากรดีขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งที่น่าจับตามองคือ จีนเล็งภาคอีสานของไทยไว้ในอนาคตอันใกล้
"มีการประชุมร่วมระหว่างหอการค้าไทยและหอการค้าภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด ยังไม่มีใครบ่นว่าค้าขายไม่ดี แต่สิ่งที่กังวลคือ เอสเอ็มอีกับการขึ้นค่าแรงงาน 300 บาทต้นปีหน้า ถ้าค่อย ๆ ขึ้น 20%, 50% และ 70% จะเป็นผลดีมากกว่า"
สมชัยมองการเติบโตของภาคอีสานว่า ขณะนี้เป็นภาคที่ถูกพูดถึงทั้งในแง่ของการลงทุนและการมองหาที่พักอาศัยในอนาคต โดยเฉพาะคนกรุงเริ่มมองหาบ้านหลังที่ 2 ซึ่งเชียงใหม่ก็เริ่มแออัดแล้ว กลุ่มผู้เกษียณทั้งคนไทย และเขยฝรั่งในภูมิภาคนี้กว่า 4 หมื่นคู่ ก็เลือกที่จะปักหลักที่อีสาน ทั้งโคราช ขอนแก่น อุดรฯ หนองบัวลำภู หนองคาย สุรินทร์ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ แต่วาระเร่งด่วนก็คือ การ "บริหารจัดการน้ำ" อย่างเป็นระบบในภาคอีสาน
รง.ภาคกลางอ่วมค่าจ้าง 300-โลกร้อน
"ดร.สิงห์ ตั้งเจริญชัยชนะ" ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคกลาง มองว่า เศรษฐกิจภาพรวมปีนี้น่าจะเติบโตอยู่ที่ 7% เนื่องจากในระยะนี้ไปจนถึงปลายปี'55 ผลผลิตการเกษตรมีปัญหา ทำให้กำลังการผลิตลดน้อยลง และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ยอดการสั่งซื้อลดลงเช่นกัน
ส่วนปัญหาในประเทศเกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ช่วงนี้จึงไม่มีผลผลิตข้าวโพดหวาน สับปะรด ป้อนเข้าสู่โรงงาน และในบางจังหวัดเกิดปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ปลูกข้าว ฝนตกชุกเกือบทุกวันก็กรีดยางพาราไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ราคายางตกต่ำอยู่แล้ว
นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์โดยเฉพาะรถบรรทุกเพื่อใช้ในการขนส่งปัจจุบันขาดแคลนมาก หากต้องการใช้รถจะต้องรอนาน 6-10 เดือน ขณะที่ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงก็ปรับขึ้นทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้น
อีกทั้งผู้ประกอบการหลายรายยังกังวลการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค. 56 บางจังหวัดเท่ากับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำถึง 100% ส่วน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ทยอยปิดกิจการไปตั้งแต่เกิดเหตุน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว ส่วนอุตฯขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้เตรียมนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงาน ในระยะยาวการจ้างงานลดลงแน่นอน
อุตฯหัวหอกใต้ทรุด-ปีหน้าเผาจริง
"ทวี ปิยะพัฒนา" รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดูแลพื้นที่ภาคใต้ วิเคราะห์ว่า ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ในภาพรวม 3 ไตรมาสที่ผ่านมาถือว่าตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่เป็นหัวหอกหลักอย่างยางพารา ปาล์มน้ำมัน แปรรูปสัตว์น้ำ ส่งออกอาหารทะเล ทุกอย่างลดลงหมด ตัวเลขส่งออกลดลง 15% มีเพียงภาคการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ยังพอไปได้
ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไม่ดีมาจาก ทั่วโลก ตัวแปรมันแย่ทั้งกระดาน ไตรมาสสุดท้ายก็ยังไม่ดีขึ้น ภาวะตอนนี้ทุกคนชะลอไปหมด ต่างคนต่างประหยัด ชะลอการใช้จ่าย ล่าสุดเงินบาทแข็งค่าก็กระทบผู้ส่งออก ที่น่าห่วงคือเอสเอ็มอีต่างจังหวัด ที่พึ่งพาซัพพลายเชนจะอยู่ลำบาก เพราะปรับขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายทุกอย่างแพงขึ้น ทั้งค่าแรง 300 บาท และหากรัฐบาลมีมาตรการหยุดการตรึงราคาดีเซล ก็จะกระทบหนักเข้าไปอีก
"ผมมองว่าปีหน้าจะเป็นการเผาจริง หลังสงกรานต์จะเห็นชัดเจน"
เรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลควรดำเนินการคือ 1.แก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่ระบุว่าการโค่นยางพาราต้องขออนุญาต ทั้ง ๆ ที่ยางเป็นป่าปลูก 2.การขยายเวลาเงินกู้ซอฟต์โลนออกไปอีก 3.ให้ประกาศพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปลอดภาษี เพื่อกระตุ้นการลงทุน และประกาศเป็นโซนพิเศษ สามารถรับแรงงานต่างด้าวได้ทุกเดือน ไม่ใช่แค่ปีละ 1 ครั้ง และขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องโลจิสติกส์ โดยเฉพาะ รถไฟทางคู่จากใต้สุดถึง กทม. เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่ง
ตะวันออกสดใส-ลงทุนใหม่โต
"สุนทร ธัญญรัตนกุล" ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี ชี้ว่า ภาคตะวันออกมีการขยายตัวการลงทุนใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งจากทุนท้องถิ่นและทุนขนาดใหญ่ครอบคลุมทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม การค้า อสังหาริมทรัพย์ หรือธุรกิจบริการ โรงแรม ประกอบกับภูมิประเทศในภาคตะวันออกยังเอื้อต่อการลงทุน เพราะเป็นศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรม อยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึก สนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภา สะดวกในการเดินทาง การขนส่ง การกระจายสินค้า และปัจจัยใหม่เรื่องน้ำไม่ท่วม
"วันนี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกสดใส มีการค้าขายลงทุนอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นไม่มีพระอาทิตย์ตกดินที่ภาคตะวันออกแน่นอน"
ในส่วนของ จ.ชลบุรี ทุกวันนี้มีการลงทุนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ดัชนีชี้วัดสำคัญคือการซื้อขายที่ดินเพื่อการลงทุน ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเท่าตัวในเขตทำเล ดี ๆ เช่น อ.ศรีราชา และ อ.เมือง เฉลี่ยไร่ละ 30-60 ล้านบาท หรือที่พัทยาเฉลี่ยไร่ละ 20 ล้านบาทขึ้นไป แต่ถ้าใกล้ชายหาดก็ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
"ที่ดินในชลบุรีมีการจับจองจำนวนมาก เพื่อเตรียมขยายการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ คนมีเงินไม่ได้อยากฝากธนาคารอย่างเดียวก็นำไปลงทุน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องภาษีที่ดิน เมื่อรัฐยังไม่กล้าเก็บภาษีที่ดิน คนก็กล้าลงทุนมากขึ้น"
นอกจากนี้ที่ดินในชลบุรีที่เคยเป็นแหล่งปลูกพืชเกษตร มีการแปลงสภาพไปเป็นพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ หมู่บ้านจัดสรรขึ้นเป็นดอกเห็ด รวมทั้งการลงทุนคอนโดมิเนียม
ปัญหาของภาคตะวันออกขณะนี้คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ใช้แรงงานต่างด้าว เพราะแนวโน้ม คนไทยใช้แรงงานลดน้อยลง
ส่วนวิกฤตน้ำภาคตะวันออก ประธานหอฯชลบุรีฟันธงว่า ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญ โอกาสน้ำท่วมใหญ่หรือวิกฤตขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกคงไม่มี เพราะมีการ เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
นี่คือ 5 มุมมองสะท้อนเศรษกิจไทยที่เป็นอยู่ใน 5 ภูมิภาค...!
ที่มา
:
ประชาชาติธุรกิจ
"แองโกล สิงคโปร์" ทุ่ม 200 ล.สร้าง 'อีลิต สกูล' บุกต่างจังหวัด
หากพูดถึงการศึกษาของประเทศในเอเชีย "สิงคโปร์"
ติดกลุ่มประเทศผู้นำอย่างไม่ต้องสงสัย
ตัวอย่างเห็นได้จากการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA พบว่า ทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสิงคโปร์มีคะแนนติดระดับ Top 10 มาโดยตลอด
ความสำเร็จดังกล่าวยืนยันให้เห็นถึงระบบการศึกษาของสิงคโปร์ว่ามีความเข้มแข็งและโดดเด่นอย่างมาก
ในประเทศไทย มีโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนหลักสูตรสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ปกครองที่ต้องการสร้างพื้นฐานให้กับลูกหลานก้าวไปสู่วิชาชีพอย่างแพทย์ วิศวกร และดูเหมือนว่าความนิยมนี้จะเพิ่มสูงขึ้น ในชื่อ "โรงเรียนนานาชาติแองโกล สิงคโปร์" ที่เพิ่งเปิดแคมปัสแห่งที่ 2 บริเวณสุขุมวิท 64 บนพื้นที่กว่า 8 ไร่
"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์ "จูลี่ ซูทันโต้" ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ แองโกล สิงคโปร์ ถึงรูปแบบการเรียนการสอนแบบสิงคโปร์ รวมถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แคมปัสแห่งที่ 2 เป็นอย่างไร
แคมปัสแรกของเราอยู่ที่สุขุมวิท 31 มีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ตอนนี้ไม่เพียงพอต่อนักเรียนที่มีแนวโน้มเข้ามาเรียนมากขึ้น โดยเราเปิดสอนตั้งแต่ระดับเนิร์ส เซอรี่จนถึงเกรด 12 เราจึงต้องการพื้นที่ในการสร้างอาคารเรียน สระว่ายน้ำ โรงยิม และพื้นที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม จึงขยายมาเปิดแคมปัสใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นงบฯส่วนของห้องแล็บกว่า 5 ล้านบาท มีทั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ทีวีที่ใช้สอนตอบโต้กับนักเรียน หรือไมโครสโคปลิงก์กับห้องแล็บที่บางมหาวิทยาลัยไม่มี แต่โรงเรียนเรามี และนักเรียนทุกคนมีของส่วนตัวใช้
แล้วบรรยากาศการเรียนการสอนล่ะ
โรงเรียนสามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 1,200 คน แต่เราจะรับไม่เกิน 800 คน ไม่ใช่ว่าใครทุกคนก็สามารถเข้ามาเรียนที่นี่ได้ ดังนั้น มาตรฐานการเรียนการสอนของเราค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเทอม แคมปัสทั้งสองแห่งตอนนี้มีนักเรียนอยู่ประมาณ 500 คน อาจารย์ประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติตามวิชาที่สอน ที่จำนวนอาจารย์มากขนาดนี้เพราะระดับชั้นอนุบาลต้องมีอาจารย์อย่างน้อยห้องละ 2 คน เพื่อดูแลเด็กอย่างทั่วถึง โดยนักเรียนเรามี 25 สัญชาติ และ 65% เป็นเด็กเอเชีย เช่น เกาหลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย
"นักเรียนของเราต้องเรียนรู้อย่างน้อย 3 ภาษา มีภาษาไทยและอังกฤษเป็นตัวหลัก อีกภาษาจะบังคับให้เลือกเรียนมีทั้งภาษาเกาหลี, จีน, สเปน, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, บาฮาซา โดยจะเปิดคลาสสอนภาษาสเปนและเยอรมันหลังเลิกเรียนสำหรับนักเรียนที่สนใจ หรือหากสนใจนอกเหนือจาก 2 ภาษาข้างต้นนักเรียนยัง รวมกลุ่มกันเลือกเรียนภาษาที่ต้องการเพื่อเป็นภาษาที่ 4 ได้"
ทำไมต้องลงทุนห้องแล็บมากขนาดนั้น
เพราะเรามีความเข้มแข็งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เด็กที่เรียนกับเรามุ่งมั่นจะเป็นวิศวกร แพทย์ ขณะที่ผู้ปกครองของพวกเขาส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเหล่านี้เช่นกัน นอกจากนี้ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกายังมองว่าหลักสูตรสิงคโปร์มีความโดดเด่นทางด้านนี้อย่างมาก และเห็นว่าควรนำหลักสูตรนี้เข้าไปใช้ในการเรียนการสอนของสหรัฐอเมริกา เพราะคะแนนสอบด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอเมริกาสูงไม่เท่ากับคนจีนและสิงคโปร์
หลักสูตรเข้มแข็ง แล้วอาจารย์เป็น อย่างไร
อาจารย์ 80% ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นคนสิงคโปร์ ขณะที่อาจารย์วิชาอื่น ๆ ต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชานั้น ๆ ซึ่งอาจารย์ทุกคนต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงศึกษาฯของสิงคโปร์ก่อน เพื่อให้ได้วิธีการสอนแบบสิงคโปร์อย่างแท้จริง ทำให้การสอนของที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น
นอกจากนี้ การสอนแบบสิงคโปร์จะต่างจากอเมริกัน เพราะเราเน้นตรรกะ ทำให้เด็กเข้าใจและจดจำมากกว่าการสอนให้จำเพียงอย่างเดียว
กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง
แม้โรงเรียนอื่นจะบอกว่าเขาสอน หลักสูตรสิงคโปร์ มีอาจารย์มาจากสิงคโปร์ ใช้หนังสือเรียนของสิงคโปร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเข้าใจ หลักสูตรสิงคโปร์ พวกเขาไม่ได้เข้าถึง หลักสูตรสิงคโปร์ที่มีแนวการเรียน การสอนเฉพาะ อย่างอาจารย์ต้องมีการอบรมก่อน หรือข้อสอบก็ออกโดยอาจารย์ที่เป็นบอร์ดของโรงเรียนในสิงคโปร์ ดังนั้น ข้อสอบของเราจะได้มาตรฐาน ตามโรงเรียนสิงคโปร์
"ยอดนักเรียนเพิ่มขึ้น คิดว่าเกิดจากการบอกต่อปากต่อปาก ซึ่งมีพลังมากกว่าการทำการตลาด เพราะการบอกต่อเกิดจากผู้ปกครองมีความเชื่อมั่น และมั่นใจในหลักสูตรของเรา"
แผนธุรกิจในอนาคต
เรามีโครงการเฟส 3 สร้างอาคารเรียน 5 ชั้น แต่ต้องรอให้เฟส 2 ที่กำลังก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน ทั้งนี้ มีผู้ปกครองหลายคนต้องการให้เราไปเปิดแคมปัส ต่างจังหวัดด้วย เราจึงมีแผนขยายแคมปัส ไปตามภูมิภาคละ 1 แห่ง อาจเป็น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ขณะเดียวกัน เราจะไปเปิดสอนอีกแคมปัสบริเวณ เยาวราชที่จะสอนระดับอนุบาล
"เราวางเป้าหมายให้แองโกล สิงคโปร์เป็นอีลิตสกูล คนมาเรียนเพราะต้องการความแตกต่างจากคนอื่น เราต้องทำให้เด็กอยากมาเข้าที่นี่เอง ไม่ใช่เพราะ เป็นความต้องการของผู้ปกครอง เพราะเด็กจะได้รู้ว่าเขาต้องการอะไรเพื่อ ความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งจะเกิดขึ้น จากการถูกกระตุ้นมาตั้งแต่เด็ก และเราจะทำทุกอย่างให้มีคุณภาพ เหมือนสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ อย่าง เราต้องการเป็นแบบนั้นเช่นกัน"
ในประเทศไทย มีโรงเรียนที่ทำการเรียนการสอนหลักสูตรสิงคโปร์ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ปกครองที่ต้องการสร้างพื้นฐานให้กับลูกหลานก้าวไปสู่วิชาชีพอย่างแพทย์ วิศวกร และดูเหมือนว่าความนิยมนี้จะเพิ่มสูงขึ้น ในชื่อ "โรงเรียนนานาชาติแองโกล สิงคโปร์" ที่เพิ่งเปิดแคมปัสแห่งที่ 2 บริเวณสุขุมวิท 64 บนพื้นที่กว่า 8 ไร่
"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมภาษณ์ "จูลี่ ซูทันโต้" ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ แองโกล สิงคโปร์ ถึงรูปแบบการเรียนการสอนแบบสิงคโปร์ รวมถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แคมปัสแห่งที่ 2 เป็นอย่างไร
แคมปัสแรกของเราอยู่ที่สุขุมวิท 31 มีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ตอนนี้ไม่เพียงพอต่อนักเรียนที่มีแนวโน้มเข้ามาเรียนมากขึ้น โดยเราเปิดสอนตั้งแต่ระดับเนิร์ส เซอรี่จนถึงเกรด 12 เราจึงต้องการพื้นที่ในการสร้างอาคารเรียน สระว่ายน้ำ โรงยิม และพื้นที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม จึงขยายมาเปิดแคมปัสใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นงบฯส่วนของห้องแล็บกว่า 5 ล้านบาท มีทั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ทีวีที่ใช้สอนตอบโต้กับนักเรียน หรือไมโครสโคปลิงก์กับห้องแล็บที่บางมหาวิทยาลัยไม่มี แต่โรงเรียนเรามี และนักเรียนทุกคนมีของส่วนตัวใช้
แล้วบรรยากาศการเรียนการสอนล่ะ
โรงเรียนสามารถรองรับนักเรียนได้ถึง 1,200 คน แต่เราจะรับไม่เกิน 800 คน ไม่ใช่ว่าใครทุกคนก็สามารถเข้ามาเรียนที่นี่ได้ ดังนั้น มาตรฐานการเรียนการสอนของเราค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเทอม แคมปัสทั้งสองแห่งตอนนี้มีนักเรียนอยู่ประมาณ 500 คน อาจารย์ประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติตามวิชาที่สอน ที่จำนวนอาจารย์มากขนาดนี้เพราะระดับชั้นอนุบาลต้องมีอาจารย์อย่างน้อยห้องละ 2 คน เพื่อดูแลเด็กอย่างทั่วถึง โดยนักเรียนเรามี 25 สัญชาติ และ 65% เป็นเด็กเอเชีย เช่น เกาหลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย
"นักเรียนของเราต้องเรียนรู้อย่างน้อย 3 ภาษา มีภาษาไทยและอังกฤษเป็นตัวหลัก อีกภาษาจะบังคับให้เลือกเรียนมีทั้งภาษาเกาหลี, จีน, สเปน, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, บาฮาซา โดยจะเปิดคลาสสอนภาษาสเปนและเยอรมันหลังเลิกเรียนสำหรับนักเรียนที่สนใจ หรือหากสนใจนอกเหนือจาก 2 ภาษาข้างต้นนักเรียนยัง รวมกลุ่มกันเลือกเรียนภาษาที่ต้องการเพื่อเป็นภาษาที่ 4 ได้"
ทำไมต้องลงทุนห้องแล็บมากขนาดนั้น
เพราะเรามีความเข้มแข็งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เด็กที่เรียนกับเรามุ่งมั่นจะเป็นวิศวกร แพทย์ ขณะที่ผู้ปกครองของพวกเขาส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเหล่านี้เช่นกัน นอกจากนี้ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกายังมองว่าหลักสูตรสิงคโปร์มีความโดดเด่นทางด้านนี้อย่างมาก และเห็นว่าควรนำหลักสูตรนี้เข้าไปใช้ในการเรียนการสอนของสหรัฐอเมริกา เพราะคะแนนสอบด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอเมริกาสูงไม่เท่ากับคนจีนและสิงคโปร์
หลักสูตรเข้มแข็ง แล้วอาจารย์เป็น อย่างไร
อาจารย์ 80% ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นคนสิงคโปร์ ขณะที่อาจารย์วิชาอื่น ๆ ต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชานั้น ๆ ซึ่งอาจารย์ทุกคนต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงศึกษาฯของสิงคโปร์ก่อน เพื่อให้ได้วิธีการสอนแบบสิงคโปร์อย่างแท้จริง ทำให้การสอนของที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น
นอกจากนี้ การสอนแบบสิงคโปร์จะต่างจากอเมริกัน เพราะเราเน้นตรรกะ ทำให้เด็กเข้าใจและจดจำมากกว่าการสอนให้จำเพียงอย่างเดียว
กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง
แม้โรงเรียนอื่นจะบอกว่าเขาสอน หลักสูตรสิงคโปร์ มีอาจารย์มาจากสิงคโปร์ ใช้หนังสือเรียนของสิงคโปร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเข้าใจ หลักสูตรสิงคโปร์ พวกเขาไม่ได้เข้าถึง หลักสูตรสิงคโปร์ที่มีแนวการเรียน การสอนเฉพาะ อย่างอาจารย์ต้องมีการอบรมก่อน หรือข้อสอบก็ออกโดยอาจารย์ที่เป็นบอร์ดของโรงเรียนในสิงคโปร์ ดังนั้น ข้อสอบของเราจะได้มาตรฐาน ตามโรงเรียนสิงคโปร์
"ยอดนักเรียนเพิ่มขึ้น คิดว่าเกิดจากการบอกต่อปากต่อปาก ซึ่งมีพลังมากกว่าการทำการตลาด เพราะการบอกต่อเกิดจากผู้ปกครองมีความเชื่อมั่น และมั่นใจในหลักสูตรของเรา"
แผนธุรกิจในอนาคต
เรามีโครงการเฟส 3 สร้างอาคารเรียน 5 ชั้น แต่ต้องรอให้เฟส 2 ที่กำลังก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเสียก่อน ทั้งนี้ มีผู้ปกครองหลายคนต้องการให้เราไปเปิดแคมปัส ต่างจังหวัดด้วย เราจึงมีแผนขยายแคมปัส ไปตามภูมิภาคละ 1 แห่ง อาจเป็น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ขณะเดียวกัน เราจะไปเปิดสอนอีกแคมปัสบริเวณ เยาวราชที่จะสอนระดับอนุบาล
"เราวางเป้าหมายให้แองโกล สิงคโปร์เป็นอีลิตสกูล คนมาเรียนเพราะต้องการความแตกต่างจากคนอื่น เราต้องทำให้เด็กอยากมาเข้าที่นี่เอง ไม่ใช่เพราะ เป็นความต้องการของผู้ปกครอง เพราะเด็กจะได้รู้ว่าเขาต้องการอะไรเพื่อ ความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งจะเกิดขึ้น จากการถูกกระตุ้นมาตั้งแต่เด็ก และเราจะทำทุกอย่างให้มีคุณภาพ เหมือนสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ อย่าง เราต้องการเป็นแบบนั้นเช่นกัน"
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ที่ดินเมืองขอนแก่น 26อำเภอพุ่ง8.42% ถนนศรีจันทร์2แสน
แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์
จังหวัด เปิดเผยถึงราคาประเมินที่ดินในรอบบัญชีปี 2555-2558 ว่าราคา ที่ดินใหม่ในจังหวัด ทั้ง 26 อำเภอ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.42% โดยอำเภอเมือง เพิ่มขึ้น 2.99% ชุมแพเพิ่มขึ้น 11.17% บ้านไผ่เพิ่มขึ้น 7.01% พลเพิ่มขึ้น 3.06% ภูผาม่านเพิ่มขึ้น 17.63% สีชมพูเพิ่มขึ้น 13.97%
ภูเวียงเพิ่มขึ้น 11.84% หนอง เรือเพิ่มขึ้น 10.04%
บ้านฝางเพิ่มขึ้น 8.10% อุบลรัตน์เพิ่มขึ้น 5.91%
สวนกวางเพิ่มขึ้น 12.22% น้ำพองเพิ่มขึ้น 5.24%
กระนวนเพิ่มขึ้น 12.23% ซำสูงเพิ่มขึ้น 7.43%
พระยืนเพิ่มขึ้น 7.15% มัญจาคีรีเพิ่มขึ้น 4.23%
บ้านแฮดเพิ่มขึ้น 5.72% โคกโพธิ์ไชยเพิ่มขึ้น 5.73%
ชนบทเพิ่มขึ้น 16.42% โนนศิลาเพิ่มขึ้น 6.91%
แวงใหญ่เพิ่มขึ้น 2.99% แวงน้อยเพิ่มขึ้น 2.16%
เปือยน้อยเพิ่มขึ้น 16.78% หนองสองห้องเพิ่มขึ้น
12.84% หนองนาคำเพิ่มขึ้น 4.14% และเวียงเก่าเพิ่มขึ้น
4.95% สำหรับที่ดินแพงสุดในจังหวัด อยู่ติดถนนศรีจันทร์
ราคาตารางวาละ 200,000 บาท
ที่มา :
โลกวันนี้
KSLซื้อธุรกิจเครื่องดื่มจบปีหน้า เล็งผุดโรงงานน้ำตาลใหม่ในพม่า
KSL รับเจรจาพันธมิตรธุรกิจเครื่องดื่มใน-นอกประเทศ
มูลค่า 3-4 พันล้านบาท หวังต่อยอดธุรกิจ คาดกลางปีหน้ารู้ผล
พร้อมมองราคาน้ำตาลปีหน้าต่ำกว่า 25 เซ็นต์ต่อปอนด์จากราว 26-27
เซ็นต์ต่อปอนด์ในปีนี้ จากความต้องการชะลอตัว และตั้งงบปีหน้า 2
พันล้านบาท ปรับปรุงเครื่องจักร และจ่ายคงค้างโงงานที่เลย
แย้มสนใจสร้างโรงงานน้ำตาล ในพม่า นายชลัช ชินธรรมมิตร์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่-สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL กล่าวถึงความคืบหน้าการซื้อกิจการเครื่องดื่มว่า
ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ มูลค่าประมาณ 3-4 พันล้านบาท
ทั้งนี้การซื้อกิจการเครื่องดื่มนั้น เป็นการต่อยอดธุรกิจหลักคือธุรกิจการผลิต และจำหน่ายน้ำตาล และยังสร้างความแข็งแกร่ง รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งคาดว่าจะสรุปกลางปีหน้า
สำหรับรูปแบบของการซื้อกิจการเครื่องดื่มนั้น อาจเป็นลักษณะการจ่ายเงินสดส่วนหนึ่ง และอีกส่วนจะให้ผู้ถือหุ้นในกิจการดังกล่าว เข้าถือหุ้นใน KSL เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัท และเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มชินธรรมมิตร์ อาจจะลดลง 10-20% จากปัจจุบันที่ถือหุ้นใน KSL สัดส่วนราว 65%
ส่วนยอดขายปี 2555/2556 จะเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักจากราว 2.3 หมื่นล้านบาทในปีนี้ หลังโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในจังหวัดเลยแล้วเสร็จ และจะเริ่มผลิตในปลายเดือนธันวาคมนี้
ดังนั้นคาดว่าปีหน้าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตันอ้อยซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาล 8 แสนตัน จาก 7.3 แสนตันในปีนี้ โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นทำให้มีกากอ้อยผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น และมีกากน้ำตาลผลิตเอทานอลมากขึ้นในปีหน้า นอกจากนี้ตั้งเป้าผลิตและขายเอทานอลเต็มกำลังการผลิตที่ระดับ 100-105 ล้านลิตร และการผลิตและขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอล คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของกำไรรวม ขณะที่ธุรกิจน้ำตาล ทำกำไรได้ราว 60% ของกำไรรวม นายชลัช กล่าวเพิ่มว่า ราคาน้ำตาลในปีหน้า คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 25 เซ็นต์ต่อปอนด์จากราว 26-27 เซ็นต์ต่อปอนด์ในปีนี้ เนื่องจากจะมีผลผลิตน้ำตาลรวม จากผู้ผลิตหลายรายของโลกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตาสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิดว่า จะมีผลผลิตน้ำตาลออกมาสู่ตลาดได้ ตามคาดการณ์ดังกล่าวหรือไม่ด้วย ขณะที่ความต้องการใช้น้ำตาลในตลาดโลก มองว่าจะยังคงมีการเติบโต แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมองว่าแม้ความต้องการของตลาดโลกในช่วงที่ไม่ดีนัก การใช้น้ำตาลของโลกก็ยังคงเติบโตระดับ 1-2%
สำหรับปีหน้า บริษัทตั้งงบลงทุนเบื้องต้นราว 2 พันล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงค้างในการทำโรงงานที่จังหวัดเลยราว 1.5 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าบำรุงรักษาประจำปี ขณะที่การลงทุนใหม่นั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในจังหวัดสระแก้ว หรือจะเป็นการปรับปรุงโรงงานเดิม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีกอย่างน้อย 50%
อีกทั้งบริษัทยังให้ความสนใจเข้าไปลงทุนโรงงานน้ำตาลในพม่าด้วย เพราะมองว่าพม่ามีศักยภาพที่ดีทั้งในส่วนของดินเพื่อการเกษตร และประชากร โดยจะเป็นลักษณะการเช่า หรือซื้อโรงงานเก่าแล้วมาปรับปรุง แต่คาดว่าคงใช้เวลาอีกนาน เพราะยังมีความกังวลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และกฎหมายต่างๆ ที่ยังมีความไม่ชัดเจน
ทั้งนี้การซื้อกิจการเครื่องดื่มนั้น เป็นการต่อยอดธุรกิจหลักคือธุรกิจการผลิต และจำหน่ายน้ำตาล และยังสร้างความแข็งแกร่ง รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งคาดว่าจะสรุปกลางปีหน้า
สำหรับรูปแบบของการซื้อกิจการเครื่องดื่มนั้น อาจเป็นลักษณะการจ่ายเงินสดส่วนหนึ่ง และอีกส่วนจะให้ผู้ถือหุ้นในกิจการดังกล่าว เข้าถือหุ้นใน KSL เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัท และเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มชินธรรมมิตร์ อาจจะลดลง 10-20% จากปัจจุบันที่ถือหุ้นใน KSL สัดส่วนราว 65%
ส่วนยอดขายปี 2555/2556 จะเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักจากราว 2.3 หมื่นล้านบาทในปีนี้ หลังโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในจังหวัดเลยแล้วเสร็จ และจะเริ่มผลิตในปลายเดือนธันวาคมนี้
ดังนั้นคาดว่าปีหน้าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านตันอ้อยซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาล 8 แสนตัน จาก 7.3 แสนตันในปีนี้ โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นทำให้มีกากอ้อยผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น และมีกากน้ำตาลผลิตเอทานอลมากขึ้นในปีหน้า นอกจากนี้ตั้งเป้าผลิตและขายเอทานอลเต็มกำลังการผลิตที่ระดับ 100-105 ล้านลิตร และการผลิตและขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจไฟฟ้าและเอทานอล คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของกำไรรวม ขณะที่ธุรกิจน้ำตาล ทำกำไรได้ราว 60% ของกำไรรวม นายชลัช กล่าวเพิ่มว่า ราคาน้ำตาลในปีหน้า คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 25 เซ็นต์ต่อปอนด์จากราว 26-27 เซ็นต์ต่อปอนด์ในปีนี้ เนื่องจากจะมีผลผลิตน้ำตาลรวม จากผู้ผลิตหลายรายของโลกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตาสถานการณ์ราคาอย่างใกล้ชิดว่า จะมีผลผลิตน้ำตาลออกมาสู่ตลาดได้ ตามคาดการณ์ดังกล่าวหรือไม่ด้วย ขณะที่ความต้องการใช้น้ำตาลในตลาดโลก มองว่าจะยังคงมีการเติบโต แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมองว่าแม้ความต้องการของตลาดโลกในช่วงที่ไม่ดีนัก การใช้น้ำตาลของโลกก็ยังคงเติบโตระดับ 1-2%
สำหรับปีหน้า บริษัทตั้งงบลงทุนเบื้องต้นราว 2 พันล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายคงค้างในการทำโรงงานที่จังหวัดเลยราว 1.5 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าบำรุงรักษาประจำปี ขณะที่การลงทุนใหม่นั้น ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในจังหวัดสระแก้ว หรือจะเป็นการปรับปรุงโรงงานเดิม เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีกอย่างน้อย 50%
อีกทั้งบริษัทยังให้ความสนใจเข้าไปลงทุนโรงงานน้ำตาลในพม่าด้วย เพราะมองว่าพม่ามีศักยภาพที่ดีทั้งในส่วนของดินเพื่อการเกษตร และประชากร โดยจะเป็นลักษณะการเช่า หรือซื้อโรงงานเก่าแล้วมาปรับปรุง แต่คาดว่าคงใช้เวลาอีกนาน เพราะยังมีความกังวลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และกฎหมายต่างๆ ที่ยังมีความไม่ชัดเจน
ที่มา : ทันหุ้น
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
งานอีสานแฟร์ 2012
สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย
จังหวัดขอนแก่น(สสวท.)
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขอเชิญพ่อค้าแม่ค้าจองพื้นที่ขายสินค้าในงาน Esaan Fair 2012
วันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2555
ณ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สถานที่จัดงานเกษตร มข.)
โดยสามารถจองพื้นที่ได้แล้ววันนี้ที่ สมาคมฯ(ติดกับหอการค้า จ.ขอนแก่น)
หรือจองพื้นที่ผ่านเว็บไซต์ ราคาบูทละ 13,000 (สำหรับบูทกลาง)
15,000 (สำหรับบูทหัวมุม)
***พิเศษ*** จองพื้นที่และชำระเงินตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 กันยายน 2555 ลดราคา 20% ต่อบูท
และ จองพื้นที่และชำระเงินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ตุลาคม 2555 ลดราคา 10% ต่อบูท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-7542509 คุณชุรีย์พร(เล็ก)
087-4252559 คุณปัญญา(อาร์ท)
043-227832 สสวท.ขอนแก่น (ในวันและเวลาราชการ)
ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขอเชิญพ่อค้าแม่ค้าจองพื้นที่ขายสินค้าในงาน Esaan Fair 2012
วันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2555
ณ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น (สถานที่จัดงานเกษตร มข.)
โดยสามารถจองพื้นที่ได้แล้ววันนี้ที่ สมาคมฯ(ติดกับหอการค้า จ.ขอนแก่น)
หรือจองพื้นที่ผ่านเว็บไซต์ ราคาบูทละ 13,000 (สำหรับบูทกลาง)
15,000 (สำหรับบูทหัวมุม)
***พิเศษ*** จองพื้นที่และชำระเงินตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 กันยายน 2555 ลดราคา 20% ต่อบูท
และ จองพื้นที่และชำระเงินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ตุลาคม 2555 ลดราคา 10% ต่อบูท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-7542509 คุณชุรีย์พร(เล็ก)
087-4252559 คุณปัญญา(อาร์ท)
043-227832 สสวท.ขอนแก่น (ในวันและเวลาราชการ)
มข.บริการนักลงทุนไทยพัฒนาศักยภาพเข้าตลาดอินเตอร์
ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ
ผู้อำนวยการโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินงานศูนย์พัฒนาการลงทุนไทยในต่างประเทศ
โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาการลงทุนไทยในต่างประเทศขึ้น
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักลงทุนไทยทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมในการไปลงทุนยังต่างประเทศนั้น
สกท.มีความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) จึงจัดจ้างให้เป็นที่ปรึกษาในโครงการของศูนย์ดังกล่าว
โดยมข.ดำเนินการจัดอบรมในหลักสูตรต่างๆ
ให้กับนักลงทุนไทยเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
เป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม
รวมทั้งมุมมองการเสาะแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และการจับคู่ธุรกิจในต่างประเทศ
ตลอดทั้งความมั่นใจในการขยายธุรกิจของตนเองไปยังต่างประเทศ
ดร.ศักดิ์ดากล่าวว่า มข.ในฐานะองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมีผู้บริหาร บุคลากรที่มีศักยภาพ และมีประสบการณ์ธุรกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนมีเครือข่ายธุรกิจจำนวนมากที่พร้อมจะสนับสนุนให้การถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎีที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลสัมฤทธิ์และนำไปใช้ได้จริงให้แก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย โดยจัดการอบรมให้และเชื่อมเครือข่ายทางธุรกิจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ คณาจารยฺ์ของมหาวิทยาลัยยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติได้จริงให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจกับต่างประเทศ มข.จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดโครงการนี้จนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สู่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยที่สนใจ เข้าร่วมการสัมมนาชี้แจงโครงการได้ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ หรือสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2209-1100
ดร.ศักดิ์ดากล่าวว่า มข.ในฐานะองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา และมีผู้บริหาร บุคลากรที่มีศักยภาพ และมีประสบการณ์ธุรกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนมีเครือข่ายธุรกิจจำนวนมากที่พร้อมจะสนับสนุนให้การถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎีที่นำไปสู่การปฏิบัติที่เห็นผลสัมฤทธิ์และนำไปใช้ได้จริงให้แก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย โดยจัดการอบรมให้และเชื่อมเครือข่ายทางธุรกิจสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ คณาจารยฺ์ของมหาวิทยาลัยยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติได้จริงให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างเครือข่ายในการทำธุรกิจกับต่างประเทศ มข.จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดโครงการนี้จนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สู่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยที่สนใจ เข้าร่วมการสัมมนาชี้แจงโครงการได้ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ หรือสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2209-1100
ที่มา
:
ข่าวสด
เทศบาลนครขอนแก่นคว้าอปท.ดีเด่น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ นางสาวศิริกัลยา
โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น ได้เป็นตัวแทนเข้ารับมอบโล่เชิดชูเกียรติองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น (อปท.) ที่มีผลงานดีเด่นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จากนายไพบูลย์ พิมพ์พิสิษฐ์ถาวร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ด้านคุ้มครองผู้บริโภคจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยมี
นายแพทย์คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ผู้รับใบประกาศเกียรติคุณ และนายบุญเลี้ยง สุตะชา
ปราชญ์ราษฎรชุมชนบ้านมะขาม ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเทศบาลนครขอนแก่น ได้รับโล่ท้องถิ่นดีเด่นจาก อปท. ซึ่งนับว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ นำความภาคภูมิใจมาสู่ข้าราชการและพนักงานของเทศบาลนครขอนแก่นกันถ้วนหน้า ที่จะได้ยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมจะได้ร่วมกันทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมสืบต่อไป ในโอกาสนี้ อย. ยังได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท.เพื่อแก้ปัญหาในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ปี 2549 ด้วยเทศบาลนครขอนแก่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญการคุ้มครองผู้บริโภคว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ไม่ได้ หากประชาชนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ และไม่ห่วงใยสุขภาพของตนเอง ซึ่งจากแนวคิดและหลักการถ่ายทอดภารกิจ ด้านการกระจายอำนาจเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ ทำให้เกิดเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขึ้นในที่สุด
ดังนั้น เทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ดำเนินการผลิตสื่อ พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้ในการบริโภค เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม และขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของผู้บริโภคในท้องถิ่น การตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนคุ้มครองผู้บริโภค จากการโฆษณาชวนเชื่อและโฆษณาเกินจริง โดยใช้ถ้อยคำ อาทิทาแล้วผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา กินแล้วหายปวดทันที ยารักษาสารพัดโรค ส่งผลให้มีผู้บริโภคหลายรายแล้วที่ตกเป็นเหยื่อเพราะหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริงดังกล่าว
ทางเทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนในเขตเทศบาลฯ ที่มีความประสงค์แจ้งข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนให้ยั่งยืน โดยมีทั้งหมด 8 ศูนย์ คือ ศูนย์แจ้งข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพคุ้มครอง เขต 1 โรงเรียนบริหารธุรกิจ,ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 ชุมชนโนนชัย เขต 2, ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 หนองใหญ่, ศูนย์ฯ ศส.ม.ช.บะขาม เขต 3, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ วัดหนองแวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ ชาตะผดุง เขต 4, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ สามเหลี่ยมและศูนย์บริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น ผู้ใดสนใจสอบถามไปได้ที่ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0-4322-5514 ในวันและเวลาราชการ.
ที่มา : เดลินิวส์
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเทศบาลนครขอนแก่น ได้รับโล่ท้องถิ่นดีเด่นจาก อปท. ซึ่งนับว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ นำความภาคภูมิใจมาสู่ข้าราชการและพนักงานของเทศบาลนครขอนแก่นกันถ้วนหน้า ที่จะได้ยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมจะได้ร่วมกันทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมสืบต่อไป ในโอกาสนี้ อย. ยังได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท.เพื่อแก้ปัญหาในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่ปี 2549 ด้วยเทศบาลนครขอนแก่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญการคุ้มครองผู้บริโภคว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ไม่ได้ หากประชาชนไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ และไม่ห่วงใยสุขภาพของตนเอง ซึ่งจากแนวคิดและหลักการถ่ายทอดภารกิจ ด้านการกระจายอำนาจเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ ทำให้เกิดเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขึ้นในที่สุด
ดังนั้น เทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ดำเนินการผลิตสื่อ พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้ในการบริโภค เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม และขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของผู้บริโภคในท้องถิ่น การตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนคุ้มครองผู้บริโภค จากการโฆษณาชวนเชื่อและโฆษณาเกินจริง โดยใช้ถ้อยคำ อาทิทาแล้วผิวขาวทันใจ หน้าใสทันตา กินแล้วหายปวดทันที ยารักษาสารพัดโรค ส่งผลให้มีผู้บริโภคหลายรายแล้วที่ตกเป็นเหยื่อเพราะหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริงดังกล่าว
ทางเทศบาลนครขอนแก่น จึงได้ประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนในเขตเทศบาลฯ ที่มีความประสงค์แจ้งข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนให้ยั่งยืน โดยมีทั้งหมด 8 ศูนย์ คือ ศูนย์แจ้งข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพคุ้มครอง เขต 1 โรงเรียนบริหารธุรกิจ,ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 ชุมชนโนนชัย เขต 2, ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 หนองใหญ่, ศูนย์ฯ ศส.ม.ช.บะขาม เขต 3, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ วัดหนองแวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ ชาตะผดุง เขต 4, ศูนย์บริการสาธารณสุขฯ สามเหลี่ยมและศูนย์บริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น ผู้ใดสนใจสอบถามไปได้ที่ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0-4322-5514 ในวันและเวลาราชการ.
ที่มา : เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)