คมนาคม เร่งสร้างรถไฟความเร็วสนองนโยบายรัฐบาล คาดก่อสร้างได้ภายในปี 2556 หลังทางการจีนเยือนไทยสำรวจเส้นทาง
ให้ความสนใจเส้น กทม.-เชียงใหม่ และกทม.-หนองคาย
ส่วนญี่ปุ่นและเกาหลีให้ความสนใจเช่นกันเตรียมส่งข้อเสนอให้ไทยตัดสิน...
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการหารือความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ในโอกาสที่คณะผู้แทนจีนนำโดยนาย Wang Shengwen อธิบดีกรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาเยือนไทย ว่า ทางการจีนได้เดินทางเข้ามาเพื่อสำรวจเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยฝ่ายจีนสนใจที่จะให้ความร่วมมือดำเนินการใน 2 เส้นทาง ตามขนาดร่างมาตรฐาน 1.435 เมตร คือ 1. เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ 2.กรุงเทพฯ-หนองคาย สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากการศึกษาเบื้องต้นของจีน เห็นว่าควรเน้นขนส่งผู้โดยสาร โดยจะทำการศึกษาด้วยความเร็วที่ 250-300 กม./ชม. โดยฝ่ายจีนเสนอให้สร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 87% ของเส้นทางทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม
ส่วนเส้นที่ 2.กรุงเทพฯ-หนองคาย จะเน้นขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยจะศึกษาด้วยความเร็ว 160 กก./ชม. หรือมากกว่า โดยจีนต้องการจะใช้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านไทย เชื่อมต่อไปยัง ลาว และจีนได้ ทั้งนี้จากการพิจารณาข้อเสนอเบื้องต้นของจีนเห็นว่าน่าสนใจ เพราะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ไทย ลาว และจีนเข้าด้วยกัน แต่ขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกว่าจะดำเนินการร่วมกับใคร เนื่องจากญี่ปุ่น และเกาหลี เตรียมเสนอผลการศึกษาการมาให้เราพิจารณาเช่นกัน ซึ่งเราต้องเลือกประเทศที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ส่วนรูปแบบการลงทุนชัดเจนแล้วว่าไทยจะลงทุนเองทั้งหมด
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการหารือความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ในโอกาสที่คณะผู้แทนจีนนำโดยนาย Wang Shengwen อธิบดีกรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาเยือนไทย ว่า ทางการจีนได้เดินทางเข้ามาเพื่อสำรวจเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยฝ่ายจีนสนใจที่จะให้ความร่วมมือดำเนินการใน 2 เส้นทาง ตามขนาดร่างมาตรฐาน 1.435 เมตร คือ 1. เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ 2.กรุงเทพฯ-หนองคาย สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากการศึกษาเบื้องต้นของจีน เห็นว่าควรเน้นขนส่งผู้โดยสาร โดยจะทำการศึกษาด้วยความเร็วที่ 250-300 กม./ชม. โดยฝ่ายจีนเสนอให้สร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 87% ของเส้นทางทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม
ส่วนเส้นที่ 2.กรุงเทพฯ-หนองคาย จะเน้นขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยจะศึกษาด้วยความเร็ว 160 กก./ชม. หรือมากกว่า โดยจีนต้องการจะใช้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านไทย เชื่อมต่อไปยัง ลาว และจีนได้ ทั้งนี้จากการพิจารณาข้อเสนอเบื้องต้นของจีนเห็นว่าน่าสนใจ เพราะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ไทย ลาว และจีนเข้าด้วยกัน แต่ขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกว่าจะดำเนินการร่วมกับใคร เนื่องจากญี่ปุ่น และเกาหลี เตรียมเสนอผลการศึกษาการมาให้เราพิจารณาเช่นกัน ซึ่งเราต้องเลือกประเทศที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ส่วนรูปแบบการลงทุนชัดเจนแล้วว่าไทยจะลงทุนเองทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น