นายอนุสรณ์
จันทนโรจน์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า
ปัญหาดินเค็มซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งมีพื้นที่มากว่า 17 ล้านไร่ หรือประมาณ ร้อยละ 17 ของพื้นที่ทั้งหมด
ซึ่งปัญหาดินเค็มส่วนใหญ่จะพบในที่ลุ่มซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว
ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด สกลนคร มหาสารคาม และขอนแก่น
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไข ปัญหาดินเค็มอย่างเร่งด่วนกรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำ โครงการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม
โดยใช้เป็นพืชเบิกนำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายดินเค็มและปรับระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
ชี มูล โดยดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขามเรียน มีเป้าหมาย 87,436 ไร่ การดำเนินงานจะเน้นปรับปรุงและ
พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของดิน โดยใช้วิธีการทางด้านวิศวกรรม
สำหรับปรับรูปแปลงนาเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ
และใช้วิธีทางด้านพืชโดยในพื้นที่เค็มจัดจะส่งเสริมปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม คือ
กระถินออสเตรเลีย ส่วนพื้นที่ที่มีระดับความเค็มปานกลางถึงเค็มน้อย
จะให้ปลูกโสนแอฟริกัน ถั่วพร้า เป็นปุ๋ยพืชสด
ที่มา : RYT 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น