ธุรกิจขายตรงไทยเฟื่องรับเปิดเออีซี
คาดตัวเลขพุ่งแตะแสนล้านในอีก 1-2 ปี ปัจจุบันเกือบ 7 หมื่นล้าน
คาดบริษัทข้ามชาติจ่อยกขบวนเข้าทำตลาด นายกสมาคมการขายตรงไทยมั่นใจโอกาสอีกมหาศาล
เล็งผนึกบริษัทขายตรง ต่างชาติ จัดตั้งสมาพันธ์การขายตรงอาเซียน
นายกิจธวัช ฤทธีราวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมการขายตรงไทย กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมขายตรง เชื่อว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าขยับขึ้นไปถึง 1 แสนล้านบาทได้ ปัจจุบันอุตฯขายตรงของไทยมีมูลค่า 68,000 ล้านบาท เติบโตเกือบ 10% ต่อปี หรือ 9.48% ทั้งนี้ ระหว่างปี 2551-2555 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11.39% เนื่องจากการเข้ามาของบริษัทขายตรงรายใหม่ ๆ เป็นธุรกิจขายตรงหลายชั้น (MLM) มีสัดส่วน 82.7% ขายตรงชั้นเดียว (SLM) 18.9% และ รูปแบบอื่น ๆ อีก 2.5%
จากศักยภาพและโอกาสดังกล่าว เมื่อเปิดเออีซีจะมีบริษัทขายตรงต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเริ่มสังเกตพบว่ามีบริษัทจากในประเทศอาเซียนเข้ามาสำรวจตลาดบ้าง ขณะที่ทางสมาคมการขายตรงไทยก็มีแผนร่วมมือกับบริษัทขายตรงในอาเซียน จัดตั้งสมาพันธ์การขายตรงอาเซียน คาดว่า 2 ปีข้างหน้า หรือก่อนเปิดเออีซีจะเห็นความชัดเจน ขณะเดียวกันทางสมาคมเริ่มเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง รวมถึงนักธุรกิจให้มีความรู้และเตรียมรับมือ โดยเฉพาะเรื่องการสร้างแบรนด์ อะแวร์เนส
"เออีซีเป็นเค้กอันหอมหวาน เมื่อดูจากตัวเลขของสมาพันธ์ขายตรงโลก พบว่าตลาดอาเซียนเติบโต 10% ยังไม่นับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้ง และไม่ได้เปิดอย่างเต็มรูปแบบ จึงค่อนข้างน่าสนใจ เมื่อเทียบกับขายตรงโลกที่มีการขยายตัวแค่ 5%"
ทั้งนี้ จากตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่าปัจจุบันมีสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงจำนวน 1,000 บริษัท จากการสำรวจ 800 บริษัท พบว่ามีความเคลื่อนไหว ต่อเนื่อง 353 บริษัท โดยตั้งแต่ต้นปีมีบริษัทใหม่ยื่นขอจดทะเบียน 381 บริษัท และในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ สคบ.เตรียมประชุมหารือการจัดฐานข้อมูลสินค้า ที่มีจำหน่ายผ่านช่องทางขายตรง และมี นโยบายมอบตราสัญลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
ขณะที่ตลาดหลักในอาเซียน ประกอบด้วย 6 ประเทศคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยปี 2555 มีรายได้รวมกัน 3 แสนล้านบาท เวียดนามมีอัตราการเติบโต 21.7% มาเลเซีย 16.4% อินโดนีเซียเติบโต 9.1% ไทยเติบโต 10.3% สิงคโปร์ 6.4% ฟิลิปปินส์ 2.29% หากเทียบจำนวนประชากรต่อคนทำธุรกิจขายตรงในมาเลเซียอยู่ที่ 1 : 6 ไทย 1 : 6 สิงคโปร์ 1 : 13 อินโดนีเซีย 1 : 27 ฟิลิปปินส์ 1 : 32 เวียดนาม 1 : 79"
นายกิจธวัชยังได้ฉายภาพเทรนด์ขายตรงของไทยว่า ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1.สุขภาพ จากตัวเลขคนรับประทานผักมีสัดส่วนลดลง 2.คนที่มีน้ำหนักส่วนเกินมีแนวโน้มมากขึ้น จาก 4.4 ล้านคนเป็นโรคอ้วน คาดว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มเป็น 24 ล้านคน 3.ความเครียด มีตัวเลขว่าคนไทยติดอันดับ 5 ของโลก
4.ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง ทำให้ความต้องการสินค้าขนาดใหญ่ลดลง และแนวโน้ม สินค้าชิ้นเล็กขายดีขึ้น 5.เข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ ทำให้สินค้าสำหรับผู้ใหญ่และสินค้ากลุ่มกระดูกและข้อได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น 6.สินค้าที่ต้องการการใช้ต่อเนื่องได้รับความสนใจน้อยลง เพราะ ผู้บริโภคต้องการเลือกใช้สินค้าที่ให้ผลลัพธ์เร็ว 7.ปัจจุบันสินค้าออกใหม่มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรม เพื่อสร้างความแตกต่างและดึงดูดลูกค้า
และสุดท้ายคือปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคน ดังนั้นในฐานะธุรกิจเครือข่าย จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาสื่อสารการตลาด เพราะปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อตามความเห็นของคนรอบข้าง (Second Opinion) จากเดิมที่มีโฆษณาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นหลัก
นายกิจธวัช ฤทธีราวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมการขายตรงไทย กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมขายตรง เชื่อว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าขยับขึ้นไปถึง 1 แสนล้านบาทได้ ปัจจุบันอุตฯขายตรงของไทยมีมูลค่า 68,000 ล้านบาท เติบโตเกือบ 10% ต่อปี หรือ 9.48% ทั้งนี้ ระหว่างปี 2551-2555 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 11.39% เนื่องจากการเข้ามาของบริษัทขายตรงรายใหม่ ๆ เป็นธุรกิจขายตรงหลายชั้น (MLM) มีสัดส่วน 82.7% ขายตรงชั้นเดียว (SLM) 18.9% และ รูปแบบอื่น ๆ อีก 2.5%
จากศักยภาพและโอกาสดังกล่าว เมื่อเปิดเออีซีจะมีบริษัทขายตรงต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเริ่มสังเกตพบว่ามีบริษัทจากในประเทศอาเซียนเข้ามาสำรวจตลาดบ้าง ขณะที่ทางสมาคมการขายตรงไทยก็มีแผนร่วมมือกับบริษัทขายตรงในอาเซียน จัดตั้งสมาพันธ์การขายตรงอาเซียน คาดว่า 2 ปีข้างหน้า หรือก่อนเปิดเออีซีจะเห็นความชัดเจน ขณะเดียวกันทางสมาคมเริ่มเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจขายตรง รวมถึงนักธุรกิจให้มีความรู้และเตรียมรับมือ โดยเฉพาะเรื่องการสร้างแบรนด์ อะแวร์เนส
"เออีซีเป็นเค้กอันหอมหวาน เมื่อดูจากตัวเลขของสมาพันธ์ขายตรงโลก พบว่าตลาดอาเซียนเติบโต 10% ยังไม่นับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้ง และไม่ได้เปิดอย่างเต็มรูปแบบ จึงค่อนข้างน่าสนใจ เมื่อเทียบกับขายตรงโลกที่มีการขยายตัวแค่ 5%"
ทั้งนี้ จากตัวเลขของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่าปัจจุบันมีสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงจำนวน 1,000 บริษัท จากการสำรวจ 800 บริษัท พบว่ามีความเคลื่อนไหว ต่อเนื่อง 353 บริษัท โดยตั้งแต่ต้นปีมีบริษัทใหม่ยื่นขอจดทะเบียน 381 บริษัท และในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ สคบ.เตรียมประชุมหารือการจัดฐานข้อมูลสินค้า ที่มีจำหน่ายผ่านช่องทางขายตรง และมี นโยบายมอบตราสัญลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
ขณะที่ตลาดหลักในอาเซียน ประกอบด้วย 6 ประเทศคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย โดยปี 2555 มีรายได้รวมกัน 3 แสนล้านบาท เวียดนามมีอัตราการเติบโต 21.7% มาเลเซีย 16.4% อินโดนีเซียเติบโต 9.1% ไทยเติบโต 10.3% สิงคโปร์ 6.4% ฟิลิปปินส์ 2.29% หากเทียบจำนวนประชากรต่อคนทำธุรกิจขายตรงในมาเลเซียอยู่ที่ 1 : 6 ไทย 1 : 6 สิงคโปร์ 1 : 13 อินโดนีเซีย 1 : 27 ฟิลิปปินส์ 1 : 32 เวียดนาม 1 : 79"
นายกิจธวัชยังได้ฉายภาพเทรนด์ขายตรงของไทยว่า ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1.สุขภาพ จากตัวเลขคนรับประทานผักมีสัดส่วนลดลง 2.คนที่มีน้ำหนักส่วนเกินมีแนวโน้มมากขึ้น จาก 4.4 ล้านคนเป็นโรคอ้วน คาดว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มเป็น 24 ล้านคน 3.ความเครียด มีตัวเลขว่าคนไทยติดอันดับ 5 ของโลก
4.ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง ทำให้ความต้องการสินค้าขนาดใหญ่ลดลง และแนวโน้ม สินค้าชิ้นเล็กขายดีขึ้น 5.เข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ ทำให้สินค้าสำหรับผู้ใหญ่และสินค้ากลุ่มกระดูกและข้อได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น 6.สินค้าที่ต้องการการใช้ต่อเนื่องได้รับความสนใจน้อยลง เพราะ ผู้บริโภคต้องการเลือกใช้สินค้าที่ให้ผลลัพธ์เร็ว 7.ปัจจุบันสินค้าออกใหม่มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรม เพื่อสร้างความแตกต่างและดึงดูดลูกค้า
และสุดท้ายคือปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคน ดังนั้นในฐานะธุรกิจเครือข่าย จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาสื่อสารการตลาด เพราะปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อตามความเห็นของคนรอบข้าง (Second Opinion) จากเดิมที่มีโฆษณาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นหลัก
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น