ดร.พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ขอนแก่น กล่าวว่า การบริหารจัดการสถานีขนส่งทั้ง 3 แห่งได้แยกการกำกับควบคุมออกเป็น 2 หน่วยงานหลักประกอบด้วย สถานีขนส่งแห่งที่ 1 และ 2
ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนั้นขึ้นตรงกับเทศบาลนครขอนแก่น ขณะที่สถานีขนส่งแห่งที่
3 นั้นอยู่ภายใต้การกำกับของ อบจ.ขอนแก่น ภายใต้แนวคิดของการแยกสถานีขนส่งออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย
สถานีขนส่งผู้โดยสารในเมือง คือแห่งที่1 และ 2 เป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารที่เดินทางในระยะใกล้เพื่อให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการเป็นประจำได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง
ดร.พงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในขณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารนอกเมือง หรือ บขส.แห่งที่ 3 ที่ อบจ.กำกับและควบคุมนั้น จะเป็นสถานที่เชื่อมต่อเพื่อกระจายการเดินทางระยะไกล เช่น จากกรุงเทพฯ หรือการเดินทางข้ามภาค จึงทำให้รูปแบบการก่อสร้าง บขส.แห่งนี้จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่ตัวอาคารเป็น2 ชั้น มีระบบบันไดเลื่อนบริเวณที่พักรอสำหรับผู้โดยสารกว้างขวาง โดยรถที่ได้กำหนดให้ทำการรับ-ส่งผู้โดยสารในสถานีนี้จะอยู่ในหมวด2รถต้นทาง/ปลายทางกรุงเทพฯ และเส้นทางหมวด 3 รถระหว่างจังหวัดรวมไปถึงหมวดรถโดยสารระหว่างประเทศ
"ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไปการเปิดให้บริการผู้โดยสารของสถานีขนส่งแห่งที่ 3 นั้นจะเป็นไปอย่างเต็มรูปแบบทั้งระบบ โดยที่ตั้งของสถานีขนส่งแห่งใหม่นั้นจะตั้งอยู่บริเวณถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่นด้านทิศตะวันตก เส้นทางเลี่ยงเมือง จ.เมืองเก่าอ.เมืองขอนแก่นบนพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจาก บขส.แห่งที่ 1 และ 2 ประมาณ 7 กม. อยู่ห่างจาก ถ.มิตรภาพ ประมาณ 600 เมตรเรียกได้ว่าเป็นจุดตัดที่สมบูรณ์แบบสำหรับรถทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่องที่จะเข้ามาในเขตเมืองซึ่งจากจำนวนเที่ยวรถที่จะต้องวิ่งเข้า-ออก ในบขส.ดังกล่าวที่มากถึง 339 เที่ยวต่อวันจะสามารถให้บริการผู้โดยสารไม่น้อยกว่าวันละ10,000-15,000 คน ดังนั้น แผนการพัฒนาจากนี้ไปคือการยกระดับให้ บขส.แห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งในประเภทรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และ 2 รวมไปถึงรถโดยสารธรรมดา ชั้น 3 และรถตู้โดยสารของกลุ่มภูมิภาคภาคอีสานตอนบนและยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการเดินรถสาธารณะที่สมบูรณ์แบบที่สุดของกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย" นายกอบจ.ขอนแก่น กล่าวและว่า
นายก อบจ.ขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่าหากสรุปจำนวนรถที่จะใช้บริการที่สถานีขนส่งแห่งนี้ จะประกอบด้วย 25 เส้นทาง 339 เที่ยว/วัน แยกเป็น หมวด 1 จำนวน 6 เส้นทาง จำนวน 52 เที่ยว หมวด 2 จำนวน 10 เส้นทาง จำนวน 211 เที่ยว หมวด 3 ย้ายจำนวน13 เส้นทาง จำนวน 74 เที่ยว และรถระหว่างประเทศ จำนวน 1 เส้นทาง จำนวน2 เที่ยว ในขณะที่การเชื่อมต่อการเดินทางไปยัง บขส.แห่งใหม่นั้นได้มีการปรับเส้นทางรถโดยสาร หมวด 1 9 เส้นทาง
ดร.พงษ์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในขณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารนอกเมือง หรือ บขส.แห่งที่ 3 ที่ อบจ.กำกับและควบคุมนั้น จะเป็นสถานที่เชื่อมต่อเพื่อกระจายการเดินทางระยะไกล เช่น จากกรุงเทพฯ หรือการเดินทางข้ามภาค จึงทำให้รูปแบบการก่อสร้าง บขส.แห่งนี้จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่ตัวอาคารเป็น2 ชั้น มีระบบบันไดเลื่อนบริเวณที่พักรอสำหรับผู้โดยสารกว้างขวาง โดยรถที่ได้กำหนดให้ทำการรับ-ส่งผู้โดยสารในสถานีนี้จะอยู่ในหมวด2รถต้นทาง/ปลายทางกรุงเทพฯ และเส้นทางหมวด 3 รถระหว่างจังหวัดรวมไปถึงหมวดรถโดยสารระหว่างประเทศ
"ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไปการเปิดให้บริการผู้โดยสารของสถานีขนส่งแห่งที่ 3 นั้นจะเป็นไปอย่างเต็มรูปแบบทั้งระบบ โดยที่ตั้งของสถานีขนส่งแห่งใหม่นั้นจะตั้งอยู่บริเวณถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่นด้านทิศตะวันตก เส้นทางเลี่ยงเมือง จ.เมืองเก่าอ.เมืองขอนแก่นบนพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจาก บขส.แห่งที่ 1 และ 2 ประมาณ 7 กม. อยู่ห่างจาก ถ.มิตรภาพ ประมาณ 600 เมตรเรียกได้ว่าเป็นจุดตัดที่สมบูรณ์แบบสำหรับรถทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่องที่จะเข้ามาในเขตเมืองซึ่งจากจำนวนเที่ยวรถที่จะต้องวิ่งเข้า-ออก ในบขส.ดังกล่าวที่มากถึง 339 เที่ยวต่อวันจะสามารถให้บริการผู้โดยสารไม่น้อยกว่าวันละ10,000-15,000 คน ดังนั้น แผนการพัฒนาจากนี้ไปคือการยกระดับให้ บขส.แห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งในประเภทรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1 และ 2 รวมไปถึงรถโดยสารธรรมดา ชั้น 3 และรถตู้โดยสารของกลุ่มภูมิภาคภาคอีสานตอนบนและยกระดับสู่การเป็นศูนย์กลางการเดินรถสาธารณะที่สมบูรณ์แบบที่สุดของกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย" นายกอบจ.ขอนแก่น กล่าวและว่า
นายก อบจ.ขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่าหากสรุปจำนวนรถที่จะใช้บริการที่สถานีขนส่งแห่งนี้ จะประกอบด้วย 25 เส้นทาง 339 เที่ยว/วัน แยกเป็น หมวด 1 จำนวน 6 เส้นทาง จำนวน 52 เที่ยว หมวด 2 จำนวน 10 เส้นทาง จำนวน 211 เที่ยว หมวด 3 ย้ายจำนวน13 เส้นทาง จำนวน 74 เที่ยว และรถระหว่างประเทศ จำนวน 1 เส้นทาง จำนวน2 เที่ยว ในขณะที่การเชื่อมต่อการเดินทางไปยัง บขส.แห่งใหม่นั้นได้มีการปรับเส้นทางรถโดยสาร หมวด 1 9 เส้นทาง
ที่มา : สยามรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น