"อพท." เผยแผนปี'56-57
ผนึกเอกชนท่องเที่ยว "ทีต้า-สทท." พัฒนาเส้นทาง
ท่องเที่ยว ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวชุมชนโต 10% พร้อมเล็งศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอีก
10 แห่ง ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพิ่ม เสริมทัพ 7 พื้นที่พิเศษ ยันเห็นด้วยกับมติ ครม.ที่โยก "เชียงใหม่
ไนท์ซาฟารี" ให้สำนักงานพิงคนครดูแล
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษทั้ง 7 แห่งในปี 2556-2557 ว่า ได้ตั้งเป้าดัน รายได้ชุมชนเติบโตเฉลี่ย 10% ภายใต้แนวคิดการสร้างผลประโยชน์ชุมชนผ่านการท่องเที่ยว (Community Benetting Through Tourism : CBTT) เน้นให้ชุมชนมีรายได้และผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ผ่านการส่งเสริมขีดความสามารถของชุมชนใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความคิดสร้างสรรค์ 2.ดึงการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ และ 3.เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนของสินค้าท่องเที่ยว
โดย อพท.ได้ผนึกกับภาคเอกชน 2 องค์กร อย่างสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (ทีต้า) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) มาร่วมสร้างเส้นทางท่องเที่ยว โดยทีต้าพัฒนาเส้นทางในพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย คาดเสนอขายได้ในปี 2557 ภายใต้แนวคิดเมืองแห่งการพักผ่อน "เลเชอร์ เลย"
ส่วน สทท.ก็เตรียมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง สุพรรณบุรี ซึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ต้องสร้างแหล่งท่องเที่ยวระดับแม็กเนตขึ้นมาเพื่อดึงนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การดูแลของวัดทำเทียม โดยตั้งเป้าหมายเงินทุนสำหรับจัดสร้างที่ 200 ล้านบาท
นอกเหนือจากผลประโยชน์ของชุมชนนอกเหนือจากผลประโยชน์ของชุมชนด้านเศรษฐกิจแล้ว อพท.ยังเตรียมจัดทำดัชนีชี้วัดด้านสังคมที่มีชื่อว่า "ชุมชนอยู่ดี มีสุข" เป็นอีกหนึ่งตัววัดผลการทำงาน อ้างอิงแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน
"หลังผ่านแผนและขั้นตอนการประเมินในปี 2557 อพท.ได้เล็งศึกษา 10 พื้นที่เพื่อประกาศเป็นพื้นที่พิเศษต่อไป เช่น เชียงแสน จังหวัดเชียงราย, คูเมืองเชียงใหม่, ผาชันสามพันโบก อุบลราชธานี และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์"
ส่วนกรณีที่ ครม.มีมติเห็นชอบให้ จัดตั้ง "สำนักงานพัฒนาพิงคนคร" ขึ้น เพื่อดูแล 3 กิจการในเชียงใหม่ ได้แก่ โครงการเชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี, โครงการศูนย์ประชุมเชียงใหม่ และอุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น อพท.เห็นด้วยอย่างมาก เพราะจะทำให้การท่องเที่ยวในเชียงใหม่มีเจ้าภาพและเกิดการบูรณาการที่ชัดเจน
"เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารีถือเป็นพื้นที่พิเศษแห่งเดียว จากทั้งหมด 7 แห่งที่สร้างรายได้ แม้ว่าในอนาคตไนท์ซาฟารีจะไม่ได้อยู่ในความดูแลของ อพท.ต่อไป ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา 6 พื้นที่ที่เหลือ เพราะแต่ละพื้นที่มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอยู่แล้ว"เพราะแต่ละพื้นที่มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอยู่แล้ว"
ทั้งนี้ มองว่าหากอพท.มีแผนหรือโครงการที่มีเป้าหมายทำรายได้ขึ้นมา อุปสรรคสำคัญคือข่าวเชิงลบเรื่องการยุบองค์การมหาชน ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากพันธมิตร โดย อพท.ขอยืนยันว่า ยังไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่ทำให้ อพท.โดนยุบตามกระแสข่าว เพราะเราได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในเกณฑ์ที่สูง ทำให้เราเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ ท่องเที่ยวต่อไป
พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษทั้ง 7 แห่งในปี 2556-2557 ว่า ได้ตั้งเป้าดัน รายได้ชุมชนเติบโตเฉลี่ย 10% ภายใต้แนวคิดการสร้างผลประโยชน์ชุมชนผ่านการท่องเที่ยว (Community Benetting Through Tourism : CBTT) เน้นให้ชุมชนมีรายได้และผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ผ่านการส่งเสริมขีดความสามารถของชุมชนใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความคิดสร้างสรรค์ 2.ดึงการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ และ 3.เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนของสินค้าท่องเที่ยว
โดย อพท.ได้ผนึกกับภาคเอกชน 2 องค์กร อย่างสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (ทีต้า) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) มาร่วมสร้างเส้นทางท่องเที่ยว โดยทีต้าพัฒนาเส้นทางในพื้นที่พิเศษจังหวัดเลย คาดเสนอขายได้ในปี 2557 ภายใต้แนวคิดเมืองแห่งการพักผ่อน "เลเชอร์ เลย"
ส่วน สทท.ก็เตรียมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง สุพรรณบุรี ซึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ต้องสร้างแหล่งท่องเที่ยวระดับแม็กเนตขึ้นมาเพื่อดึงนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโครงการภายใต้การดูแลของวัดทำเทียม โดยตั้งเป้าหมายเงินทุนสำหรับจัดสร้างที่ 200 ล้านบาท
นอกเหนือจากผลประโยชน์ของชุมชนนอกเหนือจากผลประโยชน์ของชุมชนด้านเศรษฐกิจแล้ว อพท.ยังเตรียมจัดทำดัชนีชี้วัดด้านสังคมที่มีชื่อว่า "ชุมชนอยู่ดี มีสุข" เป็นอีกหนึ่งตัววัดผลการทำงาน อ้างอิงแนวทางของกรมพัฒนาชุมชน
"หลังผ่านแผนและขั้นตอนการประเมินในปี 2557 อพท.ได้เล็งศึกษา 10 พื้นที่เพื่อประกาศเป็นพื้นที่พิเศษต่อไป เช่น เชียงแสน จังหวัดเชียงราย, คูเมืองเชียงใหม่, ผาชันสามพันโบก อุบลราชธานี และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์"
ส่วนกรณีที่ ครม.มีมติเห็นชอบให้ จัดตั้ง "สำนักงานพัฒนาพิงคนคร" ขึ้น เพื่อดูแล 3 กิจการในเชียงใหม่ ได้แก่ โครงการเชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี, โครงการศูนย์ประชุมเชียงใหม่ และอุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น อพท.เห็นด้วยอย่างมาก เพราะจะทำให้การท่องเที่ยวในเชียงใหม่มีเจ้าภาพและเกิดการบูรณาการที่ชัดเจน
"เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารีถือเป็นพื้นที่พิเศษแห่งเดียว จากทั้งหมด 7 แห่งที่สร้างรายได้ แม้ว่าในอนาคตไนท์ซาฟารีจะไม่ได้อยู่ในความดูแลของ อพท.ต่อไป ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา 6 พื้นที่ที่เหลือ เพราะแต่ละพื้นที่มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอยู่แล้ว"เพราะแต่ละพื้นที่มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนในการพัฒนาอยู่แล้ว"
ทั้งนี้ มองว่าหากอพท.มีแผนหรือโครงการที่มีเป้าหมายทำรายได้ขึ้นมา อุปสรรคสำคัญคือข่าวเชิงลบเรื่องการยุบองค์การมหาชน ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากพันธมิตร โดย อพท.ขอยืนยันว่า ยังไม่เห็นเหตุผลใด ๆ ที่ทำให้ อพท.โดนยุบตามกระแสข่าว เพราะเราได้รับการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในเกณฑ์ที่สูง ทำให้เราเดินหน้าพัฒนาพื้นที่ ท่องเที่ยวต่อไป
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น