แบงก์พาณิชย์บุกต่างจังหวัดรับการขยายตัวเศรษฐกิจภูมิภาค
ธปท.เผยผลพวงลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ในหัวเมืองรับเออีซี ชี้ตัวเลขลงทุนขอบีโอไอ 9 เดือนแตะ
8 แสน ล. ดันเศรษฐกิจอีสาน-ตะวันออกบูม กำลังซื้อพุ่ง
หนุนตลาดอสังหาฯ-รถยนต์กระฉูด 4 แบงก์ใหญ่ปูพรมเปิดสาขา ตจว.
2,279 สาขา "บัวหลวง-กสิกรไทย"
ปรับกลยุทธ์ส่งสินค้าและบริการการเงินครบวงจร
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ผลจากการขยับขึ้นของรายได้ของประชาชน ตามนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตลอดจนมาตรการเพิ่มรายได้อื่น ๆ ของรัฐบาล รวมถึงการใกล้เข้ามาของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ได้ส่งผลโดยตรงกับกิจกรรมการบริโภคและลงทุนในต่างจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ ให้บริการทางการเงิน และการปรับกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ผลจากการขยับขึ้นของรายได้ของประชาชน ตามนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตลอดจนมาตรการเพิ่มรายได้อื่น ๆ ของรัฐบาล รวมถึงการใกล้เข้ามาของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ได้ส่งผลโดยตรงกับกิจกรรมการบริโภคและลงทุนในต่างจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ ให้บริการทางการเงิน และการปรับกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์
ธปท.ชี้เศรษฐกิจภูมิภาคบูม
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้การลงทุนเพื่อซ่อมแซมความเสียหายหลัง น้ำท่วมจะลงทุนไปเกือบหมดแล้วในปีนี้ แต่ ธปท.ยังประเมินว่า การลงทุนในปี 2556 จะยังคงขยายตัวดี เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจปีหน้า เพราะขณะนี้มีปัจจัยสนับสนุนเข้ามาให้เห็น คือการขอรับส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาวะผ่อนคลายทางการเงินก็ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนดอกเบี้ยที่สำคัญ
ขณะเดียวกัน ระยะนี้ยังมีการลงทุนเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยเฉพาะการลงทุนในสาธารณูปโภคในหัวเมืองใหญ่แต่ละภูมิภาค ที่ขณะนี้กำลังกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า การลงทุนใหม่มีแนวโน้มจะขยายตัวดี เห็นได้จากการขอรับส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 8.04 แสนล้านบาท จากที่บีโอไอวางเป้าหมายทั้งปีไว้ 8 แสนล้านบาท
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของธนาคารขณะนี้คือ ผลักดัน การเติบโตทั้งธุรกิจต่างประเทศที่กำลังให้น้ำหนักกับภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตสูง และธุรกิจในประเทศที่มีการขยายตัวออกสู่ภูมิภาคและชนบทสูงขึ้น ซึ่งการเติบโตให้สมดุลทั้งในและต่างประเทศนั้นต้องอาศัยการบริหารจัดการภายในให้ดี
โดยนายศิริเดช เอื้องอุดมสิน ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า ขณะนี้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างมาก โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ที่ใกล้ชายแดนของแต่ละภาคที่ต้องลงทุนเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หาดใหญ่ในภาคใต้ เป็นต้น
ประกอบกับที่ผ่านมามีการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ภาคพื้นตะวันออกเพื่อลดความเสี่ยงน้ำท่วมของหลายอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ขณะที่ปราจีนบุรีก็กำลังมีการเติบโตค่อนข้างสูง และการย้ายฐานออกไปของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยและรถยนต์ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย
"ตอนนี้เศรษฐกิจต่างจังหวัดโตขึ้นมากจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จากเดิมที่ความเจริญในกรุงเทพฯกับต่างจังหวัดจะต่างกันมาก เราก็ให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯ แต่ระยะหลังมานี้เศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้น ทั้งผลจากที่เพื่อนบ้านเปิดประเทศมากขึ้น ภาคเกษตร พืชไร่ ปศุสัตว์ก็ราคาดี กำลังซื้อของคนต่างจังหวัดก็มีมากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงออกไปลงทุนต่างจังหวัดเพื่อรองรับกำลังซื้อดังกล่าว"
บัวหลวงปรับแผนชิงเค้ก ตจว.
นายศิริเดชกล่าวว่า ธนาคารมีการปรับการทำงานภายในเพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัดไม่ได้ใช้เพียงสินเชื่อและเงินฝากอีกต่อไป แต่ต้องการบริการการเงินที่หลากหลายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ช่องทางสาขายังคงเป็นช่องทางสำคัญในการดูแลลูกค้าในพื้นที่ ต่างจังหวัด ดังนั้น กลยุทธ์ของธนาคารจึงอยู่ในรูปแบบการเปิดสาขาใหม่เพื่อรองรับความต้องการ โดยการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่จะยังอยู่ที่ 30-40 สาขาต่อปี แต่จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น และอยู่ในพื้นที่รอบ ๆ เมืองมากขึ้น เทียบกับอดีตที่สาขาธนาคารจะอยู่ใจกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ คาดว่าการที่เศรษฐกิจในต่างจังหวัดที่เติบโตมากนี้จะทำให้สินเชื่อในประเทศที่มาจากต่างจังหวัดมีสัดส่วนสูงขึ้น จากปัจจุบันสินเชื่อในกรุงเทพฯกับต่างจังหวัดที่ 60 ต่อ 40
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่สินเชื่อต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวสูงถือเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่าขณะนี้บริการทั้งการเงินบุคคลและสินเชื่อธุรกิจยังคงเติบโตอยู่ในหัวเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนสินเชื่อเพื่อการลงทุนในสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการเติบโตมาก
"กรณีลูกค้าบุคคล การใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ตามการลงทุนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ในหัวหิน พัทยา ไม่ใช่การให้สินเชื่อ หรือบริการแบบไมโครไฟแนนซ์ในชนบทตามแนวทางที่ ธปท.พยายามผลักดัน แต่ก็เห็นความพยายามในการให้บริการในตลาดไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์"
ขณะที่ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยก็วางยุทธศาสตร์ในการขยายฐานธุรกิจออกสู่ต่างจังหวัดมากขึ้นเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการ ผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย หรือ เคแบงก์ กล่าวว่า ตลาดต่างจังหวัดจะเป็นเรื่องใหญ่ของเครือกสิกรไทยทั้งหมด และเป็นประเด็นใหญ่สำหรับการรับมือการค้าและการลงทุนเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ปัจจุบันตลาดต่างจังหวัดจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก ในลักษณะกระจายตัวของชุมชนเมืองไปทั่วประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจในกรุงเทพฯเริ่มส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
"สิ่งที่กสิกรไทยดำเนินการตอนนี้คือ ดึงทุกยูนิตของธนาคารรุกต่างจังหวัดหมด โดยกำหนดเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ในการบุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด เพราะธนาคารมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดเมืองไทยให้มากที่สุด โดยปีนี้มีการนำร่องแล้ว 14 จังหวัด ในปีหน้าเพิ่มอีก 8 จังหวัด เป็น 22 จังหวัด โดยจะขยายบริการทางการเงินทุกรูปแบบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า เพื่อให้เป็นธนาคารหลักของลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายย่อยและลูกค้าธุรกิจ พร้อมกับการเพิ่มสาขาของธนาคารจาก 893 สาขาในสิ้นปี 2555 เป็น 975 สาขาในปี 2556"
แนะแบงก์ปรับตัวรับค้าชายแดน
น.ส.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยควรมีการปรับโครงสร้างรองรับปริมาณการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และ 80% เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินค้า ดังนั้น ธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะใช้ระบบเงินสด ซึ่งธนาคารควรมีการปรับกลยุทธ์ เช่น ขยายสาขาในพื้นที่ชายแดน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการเบิกถอนเงิน
"ศักยภาพค้าชายแดนที่มีปริมาณการค้า 899.8 พันล้านบาทในปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกรรมการเงินในพื้นที่มีความสำคัญมากขึ้น แต่ขอบข่ายการให้บริการอาจยังจำกัดอยู่ในประเทศไทย"
ปัจจุบันสายงานลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีแผนจะเข้าไปเจาะตลาดในต่างจังหวัดและชายแดนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมีเป้าหมายว่าจะเพิ่มสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อในต่างจังหวัดให้มากกว่าในกรุงเทพฯ จากปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อในต่างจังหวัดมีประมาณ 50% ของพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอี
แบงก์ขนาดกลางจัดทัพลุย SME
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ภาพการ ปรับตัวของธนาคารขนาดกลางในปี 2555 เริ่มหันไปจับตลาดลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างมีนัยสำคัญ และให้ความสำคัญกับธุรกิจในต่างจังหวัด เช่น ธนาคารธนชาต มีการปรับโครงสร้างระบบการพิจารณาและอนุมัติ สินเชื่อ (credit scoring) ผ่านสาขา 300 แห่งทั่วประเทศใหม่ ให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้เร็วขึ้นจาก 45 วัน เหลือ 2 วัน และจะมีวงเงินประเภทซอฟต์โลนประมาณ 5,000 ล้านบาทให้กับเอสเอ็มอีไซซ์เล็ก โดยให้วงเงินต่อราย 4-5 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในกรุงเทพฯ และ 1-2 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในต่างจังหวัด เพราะมองว่าลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็กมีประวัติการชำระหนี้ดี โอกาสเกิดหนี้เสียน้อย และหลักประกันที่ให้ไว้กับธนาคารส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยของลูกค้า ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่หลักประกันจะถูกยึด
ด้านธนาคารทหารไทย ใช้หันมาใช้กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจให้กับ ลูกค้าเอสเอ็มอีทั่วประเทศ โดยเปิดโครงการอบรมให้กับลูกค้าธนาคาร เริ่มจากกรุงเทพฯ ชลบุรี และล่าสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งเปิดบริการใหม่ 2 ประเภท เพื่อลดต้นทุนทางการเงินของลูกค้า คือ บัญชีธุรกิจวันแบงก์ วันแอ็กเคานต์ ที่มีจุดเด่นเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมฝาก ถอน และโอน ทุกสาขา 465 แห่งทั่วประเทศ และบริการวันแบงก์วันเดย์ ที่มีจุดเด่นให้ลูกค้าธุรกิจได้รับเงินเคลียริ่งเช็คภายใน 1 วัน โดยมีค่าธรรมเนียมเท่ากับการเคลียริ่งเช็คปกติที่ต้องใช้เวลา 3-5 วันทำการ
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ผลจากการขยับขึ้นของรายได้ของประชาชน ตามนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตลอดจนมาตรการเพิ่มรายได้อื่น ๆ ของรัฐบาล รวมถึงการใกล้เข้ามาของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ได้ส่งผลโดยตรงกับกิจกรรมการบริโภคและลงทุนในต่างจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ ให้บริการทางการเงิน และการปรับกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ผลจากการขยับขึ้นของรายได้ของประชาชน ตามนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ตลอดจนมาตรการเพิ่มรายได้อื่น ๆ ของรัฐบาล รวมถึงการใกล้เข้ามาของการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ได้ส่งผลโดยตรงกับกิจกรรมการบริโภคและลงทุนในต่างจังหวัดในทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการขยายสินเชื่อ ให้บริการทางการเงิน และการปรับกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์
ธปท.ชี้เศรษฐกิจภูมิภาคบูม
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้การลงทุนเพื่อซ่อมแซมความเสียหายหลัง น้ำท่วมจะลงทุนไปเกือบหมดแล้วในปีนี้ แต่ ธปท.ยังประเมินว่า การลงทุนในปี 2556 จะยังคงขยายตัวดี เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจปีหน้า เพราะขณะนี้มีปัจจัยสนับสนุนเข้ามาให้เห็น คือการขอรับส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาวะผ่อนคลายทางการเงินก็ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนดอกเบี้ยที่สำคัญ
ขณะเดียวกัน ระยะนี้ยังมีการลงทุนเพื่อรองรับการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยเฉพาะการลงทุนในสาธารณูปโภคในหัวเมืองใหญ่แต่ละภูมิภาค ที่ขณะนี้กำลังกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า การลงทุนใหม่มีแนวโน้มจะขยายตัวดี เห็นได้จากการขอรับส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ในช่วง 9 เดือนแรกอยู่ที่ 8.04 แสนล้านบาท จากที่บีโอไอวางเป้าหมายทั้งปีไว้ 8 แสนล้านบาท
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของธนาคารขณะนี้คือ ผลักดัน การเติบโตทั้งธุรกิจต่างประเทศที่กำลังให้น้ำหนักกับภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตสูง และธุรกิจในประเทศที่มีการขยายตัวออกสู่ภูมิภาคและชนบทสูงขึ้น ซึ่งการเติบโตให้สมดุลทั้งในและต่างประเทศนั้นต้องอาศัยการบริหารจัดการภายในให้ดี
โดยนายศิริเดช เอื้องอุดมสิน ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า ขณะนี้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างมาก โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ที่ใกล้ชายแดนของแต่ละภาคที่ต้องลงทุนเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หาดใหญ่ในภาคใต้ เป็นต้น
ประกอบกับที่ผ่านมามีการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมไปสู่ภาคพื้นตะวันออกเพื่อลดความเสี่ยงน้ำท่วมของหลายอุตสาหกรรม ทำให้มีความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ขณะที่ปราจีนบุรีก็กำลังมีการเติบโตค่อนข้างสูง และการย้ายฐานออกไปของโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยและรถยนต์ในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย
"ตอนนี้เศรษฐกิจต่างจังหวัดโตขึ้นมากจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จากเดิมที่ความเจริญในกรุงเทพฯกับต่างจังหวัดจะต่างกันมาก เราก็ให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯ แต่ระยะหลังมานี้เศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้น ทั้งผลจากที่เพื่อนบ้านเปิดประเทศมากขึ้น ภาคเกษตร พืชไร่ ปศุสัตว์ก็ราคาดี กำลังซื้อของคนต่างจังหวัดก็มีมากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ จึงออกไปลงทุนต่างจังหวัดเพื่อรองรับกำลังซื้อดังกล่าว"
บัวหลวงปรับแผนชิงเค้ก ตจว.
นายศิริเดชกล่าวว่า ธนาคารมีการปรับการทำงานภายในเพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ต่างจังหวัดไม่ได้ใช้เพียงสินเชื่อและเงินฝากอีกต่อไป แต่ต้องการบริการการเงินที่หลากหลายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ช่องทางสาขายังคงเป็นช่องทางสำคัญในการดูแลลูกค้าในพื้นที่ ต่างจังหวัด ดังนั้น กลยุทธ์ของธนาคารจึงอยู่ในรูปแบบการเปิดสาขาใหม่เพื่อรองรับความต้องการ โดยการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่จะยังอยู่ที่ 30-40 สาขาต่อปี แต่จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น และอยู่ในพื้นที่รอบ ๆ เมืองมากขึ้น เทียบกับอดีตที่สาขาธนาคารจะอยู่ใจกลางเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ คาดว่าการที่เศรษฐกิจในต่างจังหวัดที่เติบโตมากนี้จะทำให้สินเชื่อในประเทศที่มาจากต่างจังหวัดมีสัดส่วนสูงขึ้น จากปัจจุบันสินเชื่อในกรุงเทพฯกับต่างจังหวัดที่ 60 ต่อ 40
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่สินเชื่อต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวสูงถือเป็นเรื่องที่ดี แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่าขณะนี้บริการทั้งการเงินบุคคลและสินเชื่อธุรกิจยังคงเติบโตอยู่ในหัวเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนสินเชื่อเพื่อการลงทุนในสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มีการเติบโตมาก
"กรณีลูกค้าบุคคล การใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ตามการลงทุนของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ในหัวหิน พัทยา ไม่ใช่การให้สินเชื่อ หรือบริการแบบไมโครไฟแนนซ์ในชนบทตามแนวทางที่ ธปท.พยายามผลักดัน แต่ก็เห็นความพยายามในการให้บริการในตลาดไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์"
ขณะที่ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยก็วางยุทธศาสตร์ในการขยายฐานธุรกิจออกสู่ต่างจังหวัดมากขึ้นเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้นายกฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการ ผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย หรือ เคแบงก์ กล่าวว่า ตลาดต่างจังหวัดจะเป็นเรื่องใหญ่ของเครือกสิกรไทยทั้งหมด และเป็นประเด็นใหญ่สำหรับการรับมือการค้าและการลงทุนเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ปัจจุบันตลาดต่างจังหวัดจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก ในลักษณะกระจายตัวของชุมชนเมืองไปทั่วประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจในกรุงเทพฯเริ่มส่งสัญญาณเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว
"สิ่งที่กสิกรไทยดำเนินการตอนนี้คือ ดึงทุกยูนิตของธนาคารรุกต่างจังหวัดหมด โดยกำหนดเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ในการบุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด เพราะธนาคารมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดเมืองไทยให้มากที่สุด โดยปีนี้มีการนำร่องแล้ว 14 จังหวัด ในปีหน้าเพิ่มอีก 8 จังหวัด เป็น 22 จังหวัด โดยจะขยายบริการทางการเงินทุกรูปแบบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า เพื่อให้เป็นธนาคารหลักของลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายย่อยและลูกค้าธุรกิจ พร้อมกับการเพิ่มสาขาของธนาคารจาก 893 สาขาในสิ้นปี 2555 เป็น 975 สาขาในปี 2556"
แนะแบงก์ปรับตัวรับค้าชายแดน
น.ส.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยควรมีการปรับโครงสร้างรองรับปริมาณการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และ 80% เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนสินค้า ดังนั้น ธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะใช้ระบบเงินสด ซึ่งธนาคารควรมีการปรับกลยุทธ์ เช่น ขยายสาขาในพื้นที่ชายแดน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการเบิกถอนเงิน
"ศักยภาพค้าชายแดนที่มีปริมาณการค้า 899.8 พันล้านบาทในปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกรรมการเงินในพื้นที่มีความสำคัญมากขึ้น แต่ขอบข่ายการให้บริการอาจยังจำกัดอยู่ในประเทศไทย"
ปัจจุบันสายงานลูกค้าธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีแผนจะเข้าไปเจาะตลาดในต่างจังหวัดและชายแดนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี โดยมีเป้าหมายว่าจะเพิ่มสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อในต่างจังหวัดให้มากกว่าในกรุงเทพฯ จากปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อในต่างจังหวัดมีประมาณ 50% ของพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอี
แบงก์ขนาดกลางจัดทัพลุย SME
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ภาพการ ปรับตัวของธนาคารขนาดกลางในปี 2555 เริ่มหันไปจับตลาดลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างมีนัยสำคัญ และให้ความสำคัญกับธุรกิจในต่างจังหวัด เช่น ธนาคารธนชาต มีการปรับโครงสร้างระบบการพิจารณาและอนุมัติ สินเชื่อ (credit scoring) ผ่านสาขา 300 แห่งทั่วประเทศใหม่ ให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้เร็วขึ้นจาก 45 วัน เหลือ 2 วัน และจะมีวงเงินประเภทซอฟต์โลนประมาณ 5,000 ล้านบาทให้กับเอสเอ็มอีไซซ์เล็ก โดยให้วงเงินต่อราย 4-5 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในกรุงเทพฯ และ 1-2 ล้านบาท สำหรับธุรกิจในต่างจังหวัด เพราะมองว่าลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็กมีประวัติการชำระหนี้ดี โอกาสเกิดหนี้เสียน้อย และหลักประกันที่ให้ไว้กับธนาคารส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยของลูกค้า ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่หลักประกันจะถูกยึด
ด้านธนาคารทหารไทย ใช้หันมาใช้กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจให้กับ ลูกค้าเอสเอ็มอีทั่วประเทศ โดยเปิดโครงการอบรมให้กับลูกค้าธนาคาร เริ่มจากกรุงเทพฯ ชลบุรี และล่าสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งเปิดบริการใหม่ 2 ประเภท เพื่อลดต้นทุนทางการเงินของลูกค้า คือ บัญชีธุรกิจวันแบงก์ วันแอ็กเคานต์ ที่มีจุดเด่นเรื่องยกเว้นค่าธรรมเนียมฝาก ถอน และโอน ทุกสาขา 465 แห่งทั่วประเทศ และบริการวันแบงก์วันเดย์ ที่มีจุดเด่นให้ลูกค้าธุรกิจได้รับเงินเคลียริ่งเช็คภายใน 1 วัน โดยมีค่าธรรมเนียมเท่ากับการเคลียริ่งเช็คปกติที่ต้องใช้เวลา 3-5 วันทำการ
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
เรียน
ตอบลบคุณกำลังมองหา บริษัท เงินกู้ทางการเงินที่แท้จริงเพื่อให้เงินกู้ระหว่าง 5,000 ยูโรและ 50,000,000 ยูโร (สำหรับสินเชื่อธุรกิจหรือ บริษัท สินเชื่อส่วนบุคคลสินเชื่อบ้านสินเชื่อบ้านสินเชื่อรถยนต์สินเชื่อรวมหนี้เงินร่วมลงทุนสินเชื่อเพื่อสุขภาพ ฯลฯ )
หรือคุณถูกปฏิเสธเงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินเพราะเหตุผลหนึ่งข้อหรือข้ออื่น ๆ ?
สมัครตอนนี้และรับสินเชื่อทางการเงินจริงที่ประมวลผลและอนุมัติภายใน 3 วัน
บริษัท เงินกู้ร่วมดวงจันทร์ที่ศักดิ์สิทธิ์เราเป็น "ผู้ให้กู้สินเชื่อที่ได้รับการรับรองในระดับสากล" ที่ให้สินเชื่อทางการเงินที่แท้จริงแก่บุคคลและ บริษัท ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนที่ถูกต้องหรือหนังสือเดินทางระหว่างประเทศของคุณ
การชำระคืนเงินกู้ของเราเริ่มต้นที่ 1 (หนึ่ง) ปีหลังจากที่คุณได้รับเงินกู้ของคุณและระยะเวลาการชำระคืนอยู่ระหว่าง 3 ถึง 35 ปี
สำหรับการตอบสนองทันทีและการดำเนินการตามคำขอสินเชื่อของคุณภายใน 2 วันทำการ
ติดต่อเราโดยตรงผ่านอีเมลนี้: divinemooncooperativeloan@gmail.com
ติดต่อเราด้วยข้อมูลต่อไปนี้:
ชื่อเต็ม:____________________________
จำนวนเงินที่ต้องการเป็นสินเชื่อ: ________________
ระยะเวลาการให้สินเชื่อ: _________________________
วัตถุประสงค์สำหรับสินเชื่อ: ______________________
วันเกิด:___________________________
เพศ:_______________________________
สถานภาพการสมรส:__________________________
ที่อยู่ติดต่อ:_______________________
เมือง / รหัสไปรษณีย์: __________________________
ประเทศ:_______________________________
อาชีพ:____________________________
โทรศัพท์มือถือ:__________________________
ส่งคำขอของคุณสำหรับการตอบสนองทันทีไปที่: divinemooncooperativeloan@gmail.com
ขอบคุณ.
ดวงจันทร์ศักดิ์สิทธิ์
ผู้อำนวยการ
บริษัท เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ดวงจันทร์
อีเมล์: divinemooncooperativeloan@gmail.com