นางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการ การอุดมศึกษา
เปิดเผยหลังการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ
ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
กับผู้บริหารระดับสูง ของกรมการศึกษาชั้นสูง กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Retreat Meeting) ครั้งที่ 3
ว่า ในการประชุมครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้มีการจัดทำ
บันทึกการประชุมอย่างไม่เป็นทางการร่วมกัน โดยที่ประชุม
เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย-ลาว
ประกอบด้วย ผู้บริหารทั้งสองฝ่าย และให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมรายสาขาความร่วมมือ
ซึ่งได้มอบหมายให้นางสาวชฎารัตน์ สิงหเดชากุล
ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สกอ. เป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทย
และนายแสงแก้ว วงสะกิด หัวหน้าแผนกวิชาการ กรมการศึกษาชั้นสูง
เป็นผู้ประสานงานฝ่ายลาว ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในการดำเนินงานความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาระหว่าง
สปป.ลาว และไทย ดังนี้ (1)การศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
และการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาของบุคลากร ฝ่ายลาว การศึกษากฎ ระเบียบ
กลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาของไทย การสร้างมาตรฐานและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
(2)การพิจารณาสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแก่บุคลากรของกรมการศึกษาชั้นสูง
สปป.ลาว จำนวน 12 คน เป็นทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 3 คน และทุนระดับปริญญาโท จำนวน 9 คน (3)การ ฝึกอบรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยและบุคลากรของกรมการศึกษา ชั้นสูงของ
สปป.ลาว ในหลักสูตรนักบริหารมหาวิทยาลัย (4)การสานต่อความร่วมมือและการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ด้านการจัดตั้ง บริหาร และดำเนินงานวิทยาลัยชุมชน ซึ่งทาง สปป.ลาว
ขอความร่วมมือจาก สกอ. ให้ความช่วยเหลือ ในการจัดการศึกษา ฝึกอบรม
และดูงานด้านการบริหารและจัดการวิทยาลัยชุมชนให้แก่เจ้าหน้าที่ของแขวงและผู้บริหารการศึกษาท้องถิ่นจากแขวงต่างๆ
(5)การแลกเปลี่ยนนักศึกษาภายใต้โครงการสหกิจศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (6)โครงการพี่เลี้ยงการสร้างหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจให้กับมหาวิทยาลัยของ
สปป.ลาว (7)การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญจาก สปป.ลาว มาเป็น
บรรณาธิการร่วมในการจัดทำพจนานุกรมภาษาลาว-ไทย- อังกฤษ (8)การสานต่อการพัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง
สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) และ สปป.ลาว
รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำหรับฝ่ายไทยจะมีการพิจารณาความพร้อมของฝ่ายลาวในการเข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students ตลอดจนขอความร่วมมือจากกรมการศึกษาชั้นสูง สปป.ลาว ในการประสานการจัดสัมมนาวิชาการศึกษาไทยใน สปป.ลาว และให้ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย และอาเซียนไปยังสถาบันอุดมศึกษาลาว เพื่อให้ดำเนินการเรื่องหนังสือตอบรับให้เข้าศึกษาสำหรับ นักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างไทยและสปป.ลาว ตามแผนงานความ ร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตามบันทึกความร่วมมือ 2 ครั้งที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จไปด้วยดี อาทิ การ สนับสนุนด้านตำราและสื่อการสอน การจัดทำข้อตกลง ร่วมกันของวิทยาลัยชุมชนไทยในพื้นที่ชายแดนไทยกับ หน่วยงานอุดมศึกษาใน สปป.ลาว เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ของวิทยาลัยชุมชน ระหว่างวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กับ แขวงสะหวันนะเขต วิทยาลัยชุมชนน่าน และวิทยาลัยชุมชน แพร่ กับแขวงอุดมชัย การจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ 2 การทำความตกลงระหว่าง เครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ สปป.ลาว (LERTNET) โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และ UniNet เพื่อเชื่อมโยง เครือข่ายเฉพาะกิจด้านการศึกษาวิจัยร่วมกัน
รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า สำหรับฝ่ายไทยจะมีการพิจารณาความพร้อมของฝ่ายลาวในการเข้าร่วมโครงการ ASEAN International Mobility for Students ตลอดจนขอความร่วมมือจากกรมการศึกษาชั้นสูง สปป.ลาว ในการประสานการจัดสัมมนาวิชาการศึกษาไทยใน สปป.ลาว และให้ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย และอาเซียนไปยังสถาบันอุดมศึกษาลาว เพื่อให้ดำเนินการเรื่องหนังสือตอบรับให้เข้าศึกษาสำหรับ นักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรม ความร่วมมือระหว่างไทยและสปป.ลาว ตามแผนงานความ ร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายทำร่วมกันตามบันทึกความร่วมมือ 2 ครั้งที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จไปด้วยดี อาทิ การ สนับสนุนด้านตำราและสื่อการสอน การจัดทำข้อตกลง ร่วมกันของวิทยาลัยชุมชนไทยในพื้นที่ชายแดนไทยกับ หน่วยงานอุดมศึกษาใน สปป.ลาว เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ของวิทยาลัยชุมชน ระหว่างวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กับ แขวงสะหวันนะเขต วิทยาลัยชุมชนน่าน และวิทยาลัยชุมชน แพร่ กับแขวงอุดมชัย การจัดกิจกรรมนักศึกษาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ครั้งที่ 2 การทำความตกลงระหว่าง เครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ สปป.ลาว (LERTNET) โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และ UniNet เพื่อเชื่อมโยง เครือข่ายเฉพาะกิจด้านการศึกษาวิจัยร่วมกัน
ที่มา : แนวหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น