อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "ชาวอีสาน
กับโครงการรถไฟความเร็วสูง" โดยผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวอีสานส่วนใหญ่บ่นการให้บริการรถไฟในปัจจุบัน
และต้องการให้มีรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคาย โดยประมาณ 1 ใน 3 จะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูงแทนพาหนะอื่นๆ
ในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2556 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ
จากผลสำรวจ เมื่อถามความเห็นถึงระบบรถไฟสายอีสานในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 30.2 ตอบว่า แย่ และร้อยละ19.2 ตอบว่า แย่มาก โดยมีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่เห็นว่าระบบรถไฟสายอีสานดีอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ตอบไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน จะประเมินให้คะแนนน้อยกว่า เนื่องจากมีความคาดหวังสูงจากการใช้บริการ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 29.9 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 23.9 ตอบว่าแย่มาก มีเพียงร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ตอบว่าดี
อีสานโพล ได้สอบถามต่อว่า หากจังหวัดของท่านมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วอยู่ที่ 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่าน ค่าโดยสาร 2.5 บาท/กิโลเมตร เช่น ค่าโดยสาร หนองคายไป กทม. ขาเดียวประมาณ 1,540 บาท/เที่ยว และ ค่าโดยสาร ขอนแก่นไป กทม. ประมาณ 1,050 บาท/เที่ยว ท่านคิดว่าส่วนใหญ่ท่านจะเดินอย่างไร กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เลือกที่จะเดินทางด้วยรถทัวร์ถึงร้อยละ 41.0 รองลงมาจึงเป็นรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 37.0 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 12.9 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 5.0 มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่เลือกเดินทางด้วยเครื่องบิน แตกต่างจากกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกเปลี่ยนมาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 31.8 รองลงมาเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์ ร้อยละ 29.2 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 23.2 และเครื่องบิน ร้อยละ 23.2 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 1.7
นอกจากนี้ เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสานเส้นทางใด จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่มีงบประมาณอย่างจำกัดมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 36.7 เห็นว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่สุด (โดยร้อยละ 43.2 ของกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน เห็นว่าเส้นทางนี้มีความเหมาะสมในการลงทุนมากที่สุด) รองลงมาร้อยละ 18.5 เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี มีความเหมาะสม ตามมาด้วยร้อยละ 17.6 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีความเหมาะสม และร้อยละ 17.1 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี มีความเหมาะสม โดยมีเพียงร้อยละ 10.0 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความเหมาะสม
"จากผลสำรวจจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ารถไฟสายอีสานในปัจจุบันให้บริการในระดับ แย่ถึงแย่มาก ทั้งนี้ หากค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 2.5 บาทต่อกิโลเมตร กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์เป็นหลักในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามมาด้วยรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเดินทางของผู้มีรายได้สูง จะเน้นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถทัวร์ รถส่วนตัว และเครื่องบิน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะระยะทางจากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย เป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด" ดร.สุทิน กล่าวตอนท้าย
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99.99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 5.7% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 49.5 เพศชาย ร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 33.6 รองลงมาอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.8, 46-55 ปี ร้อยละ 26.8, อายุ 18- 25 ปี ร้อยละ 6.9 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.0โดยอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 45.4 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 54.6
ส่วนระดับการศึกษาของผู้ตอบส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.0, ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 20.0, มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 17.6, อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 13.8, ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 5.7
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.3 รองลงมาอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.5 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.8 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.3 อาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.7 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 อื่นๆ 0.8
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่รายได้อยู่ที่ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.4 รองลงมารายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 25.3 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 17.6 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 15.8 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.5 และมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 5.4
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักที่อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2556 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ
จากผลสำรวจ เมื่อถามความเห็นถึงระบบรถไฟสายอีสานในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 40.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 30.2 ตอบว่า แย่ และร้อยละ19.2 ตอบว่า แย่มาก โดยมีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่เห็นว่าระบบรถไฟสายอีสานดีอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ตอบไปในทิศทางเดียวกัน โดยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน จะประเมินให้คะแนนน้อยกว่า เนื่องจากมีความคาดหวังสูงจากการใช้บริการ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 38.3 ตอบว่าพอใช้ รองลงมาร้อยละ 29.9 ตอบว่าแย่ และร้อยละ 23.9 ตอบว่าแย่มาก มีเพียงร้อยละ 8.0 เท่านั้นที่ตอบว่าดี
อีสานโพล ได้สอบถามต่อว่า หากจังหวัดของท่านมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วอยู่ที่ 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่าน ค่าโดยสาร 2.5 บาท/กิโลเมตร เช่น ค่าโดยสาร หนองคายไป กทม. ขาเดียวประมาณ 1,540 บาท/เที่ยว และ ค่าโดยสาร ขอนแก่นไป กทม. ประมาณ 1,050 บาท/เที่ยว ท่านคิดว่าส่วนใหญ่ท่านจะเดินอย่างไร กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เลือกที่จะเดินทางด้วยรถทัวร์ถึงร้อยละ 41.0 รองลงมาจึงเป็นรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 37.0 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 12.9 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 5.0 มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่เลือกเดินทางด้วยเครื่องบิน แตกต่างจากกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกเปลี่ยนมาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 31.8 รองลงมาเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์ ร้อยละ 29.2 รถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 23.2 และเครื่องบิน ร้อยละ 23.2 รถไฟความเร็วธรรมดา ร้อยละ 1.7
นอกจากนี้ เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอีสานเส้นทางใด จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนที่มีงบประมาณอย่างจำกัดมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 36.7 เห็นว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย มีความคุ้มค่าเหมาะสมที่สุด (โดยร้อยละ 43.2 ของกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือน เห็นว่าเส้นทางนี้มีความเหมาะสมในการลงทุนมากที่สุด) รองลงมาร้อยละ 18.5 เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี มีความเหมาะสม ตามมาด้วยร้อยละ 17.6 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น มีความเหมาะสม และร้อยละ 17.1 เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-อุดรธานี มีความเหมาะสม โดยมีเพียงร้อยละ 10.0 ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีความเหมาะสม
"จากผลสำรวจจะเห็นว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง เห็นว่ารถไฟสายอีสานในปัจจุบันให้บริการในระดับ แย่ถึงแย่มาก ทั้งนี้ หากค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 2.5 บาทต่อกิโลเมตร กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ ยังคงเลือกเดินทางด้วยรถทัวร์เป็นหลักในการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ตามมาด้วยรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการเดินทางของผู้มีรายได้สูง จะเน้นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถทัวร์ รถส่วนตัว และเครื่องบิน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่เห็นว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางที่เหมาะสมในการลงทุน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะระยะทางจากนครราชสีมาไปยังกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งด้วยรถยนต์ โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม เห็นว่า เส้นทางกรุงเทพฯหนองคาย เป็นเส้นทางที่เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด" ดร.สุทิน กล่าวตอนท้าย
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99.99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 5.7% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 49.5 เพศชาย ร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 33.6 รองลงมาอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.8, 46-55 ปี ร้อยละ 26.8, อายุ 18- 25 ปี ร้อยละ 6.9 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 5.0โดยอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เขตเมือง) ร้อยละ 45.4 และอยู่นอกเขตเทศบาล (เขตชนบท) ร้อยละ 54.6
ส่วนระดับการศึกษาของผู้ตอบส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.0, ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 20.0, มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 17.6, อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 13.8, ปริญญาโทและเอก ร้อยละ 5.7
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 31.3 รองลงมาอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.5 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.8 รับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.3 อาชีพ พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.7 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.3 อื่นๆ 0.8
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่รายได้อยู่ที่ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.4 รองลงมารายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 25.3 รายได้ 20,001-40,000 บาท ร้อยละ 17.6 รายได้ 15.001-20,000 บาท ร้อยละ 15.8 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.5 และมากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 5.4
ที่มา :
บ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น