เอกชนเด้งรับนโยบายกนอ.ผุดนิคมฯ แห่งใหม่ ส่วนใหญ่เล็งภาคตะวันออกจ้องรับทุนล็อตใหม่จาก
จีน ญี่ปุ่น "นวนคร" แย้มแผนกว่าพันล้านพัฒนาที่ 1 พันไร่ ตั้งนิคมฯเอสเอ็มอี รอดูท่าทีกนอ.ก่อนตัดสินใจเร็วๆ นี้
ด้านนิคมฯไฮเทคซุ่มเงียบควักอีก 500 ล้าน ปลุกกบินทร์อีกรอบ
รองรับอุตสาหกรรมเล็ก-กลาง พัฒนาพื้นที่ได้ไตรมาส 3 นี้
ขณะที่ทุนอุดรโดดยื่นแสดงความจำนงจับมือกับกนอ.แล้ว
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. พัฒนาโครงการเพิ่มพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 12 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม 3 กลุ่มคือ พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกติดชายทะเล, พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รองรับการค้าชายแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม ที่รองรับการเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เพื่อเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก 8 แห่ง ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และหนองคาย
นวนครทุ่มพันล.ผุดนิคมฯเอสเอ็มอี
ล่าสุดจากการสำรวจของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่ามีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมเขตและสวนอุตสาหกรรมหลายแห่งแสดงความสนใจที่จะร่วมกับกนอ. พัฒนาเขตประกอบการแห่งใหม่และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และบางรายอยู่ในขั้นตอนการเตรียมแผนที่จะดำเนินการอยู่แล้ว
ซึ่งเรื่องนี้นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.นวนครผู้พัฒนาสวนอุตสาหกรรมนวนครที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้สนใจที่จะลงไปพัฒนาพื้นที่สำหรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ในภาคตะวันออกซึ่งขณะนี้ยังไม่พร้อมเปิดเผยชื่อจังหวัด แต่อยู่ในพื้นที่ขนาดกว่า 1 พันไร่ ใช้เงินลงทุนราว 1.2-1.3 พันล้านบาท เพื่อรองรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและอุตสาหกรรมยา หลังจากที่ผ่านมา บมจ.นวนครลงทุนในภาคกลางและภาคอีสานไปก่อนแล้ว โดยโครงการนี้จะชัด เจนภายในปีนี้และมีแนวโน้มว่าจะพัฒนาร่วมกับกนอ. เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
โดยนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีที่จะตั้งขึ้นใหม่ จะรองรับกลุ่มทุนขนาดกลางและขนาดย่อมที่ก่อนหน้านี้มีทุนจากจีนและญี่ปุ่นเดินสายเข้ามาสำรวจพื้นที่ลงทุนโดยเข้ามาครั้งละ 30-40 ราย โดยเฉพาะทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นทุนระลอกใหม่ที่ไม่เคยเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจภายในญี่ปุ่นทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สามารถแข่งขันได้ ขณะที่ในกระบวนการผลิตก็มีปัญหาไฟฟ้าขาด และค่าไฟสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติ ในขณะที่ไทยยังมีความได้เปรียบในแง่ทำเลที่ตั้ง และเป็นจุดยุทธ ศาสตร์ประตูการค้าที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้มีเพียงประเด็นค่าแรงงานที่สูงขึ้นและบาทแข็งค่าต่อเนื่องที่จะเป็นปัญหา ทำให้ทุนกลุ่มนี้ยังไม่เร่งรีบตัดสินใจเข้ามาลงทุนทันที
อย่างไรก็ตามหากดูตามแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. จะเห็นว่าในพื้นที่ภาคอีสาน บมจ.นวนครจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปพัฒนาพื้นที่ที่จังหวัดนครราชสีมา จนถึงขณะนี้ได้ขยายไปถึงพื้นที่เฟสที่ 3 แล้ว ดังนั้นเมื่อกนอ.มีแผนจะร่วมกับเอกชนพัฒนาพื้นที่ใหม่อีกก็น่าสนใจ เพราะก่อนหน้านี้สวนอุต สาหกรรมนวนครทั้งหมดไม่ได้ร่วมกับกนอ.พัฒนาพื้นที่
ไฮเทคลงทุนต่อที่กบินทร์
สอดคล้องกับที่นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย อินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนา นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ระหว่างนี้บริษัทเตรียมแผนที่จะลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ที่กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ในขนาดพื้นที่ราว 100 ไร่ ลงทุนตั้งแต่ 300-500 ล้านบาท จะเป็นโครงการที่ต่อยอดกับโครงการไฮเทค กบินทร์ อินดัสเตรียล ปาร์ค ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มพัฒนาได้ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านยานยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก คาดว่าจะเป็นโครงการที่ร่วมกับกนอ.ได้ เพราะนโยบายสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. ตรงที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีและเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่รองรับการเข้าสู่เออีซีได้ด้วย เนื่องจากกบินทร์บุรี ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกทม.และอยู่ทางทิศเหนือของอีสเทิร์นซีบอร์ด และอยู่ห่างจากตะเข็บชายแดนไม่มาก
แนะปรับเกณฑ์อีไอเอใหม่
นายทวิช กล่าวอีกว่า ถ้ากนอ. หรือภาครัฐต้องการจะผลักดันให้เกิดการลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ให้เร็วขึ้นก็ควรจะปรับเกณฑ์การพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ โดยพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรมอย่างมีขอบเขต ไม่ใช่เข้มงวดเหมือนกันทั้งหมด โดยควรพิจารณาไปตามความเสี่ยงของอุตสาหกรรม เช่น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบจากมลพิษมากก็ดำเนินการอีไอเอแบบหนึ่ง หรือควรมีช่องทางพิเศษในการดำเนินการด้านอีไอเอกับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงทางมลพิษน้อย เนื่องจากระยะหลังการผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่เป็นไปได้ยากขึ้น เพราะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเรื่องอีไอเอค่อนข้างนาน
ทุนภูธรขานรับมติครม.กรุยทางกว่า 2 พันไร่
นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรม การผู้จัดการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นแสดงความจำนงที่จะร่วมทุนกับกนอ.ไปแล้ว โดยจะพัฒนาพื้นที่จำนวน 2.154 พันไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว เน้นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ และที่สนใจร่วมทุนครั้งนี้ เนื่อง จากเห็นว่ากนอ.มีความชำนาญและประ สบการณ์ในการพัฒนาที่ดิน การที่จะออกไปโรดโชว์ดึงนักลงทุนเข้ามามีศักยภาพสูงเมื่อเทียบกับที่บริษัทจะดำเนินการเอง เพราะนักลงทุนจากต่างประเทศที่เป็นบริษัทใหญ่ๆจะมีความเชื่อมั่นกนอ.และสามารถดึงบริษัทลูกให้ตามเข้ามาลงทุนได้อีก
ที่สำคัญจะสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ต้องการให้จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขึ้น และถือเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดอีกทางหนึ่ง จึงต้องการผลักดันในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น สำหรับสัดส่วนการลงทุนจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องหารืออีกครั้งหลังจากที่กนอ.คัดเลือกผู้ร่วมลงทุนอีกครั้ง ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่กนอ.แจ้งมาแล้ว จะสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในเนื้อที่ประมาณ 500 ตารางเมตรให้ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมยกเว้นค่ากำกับบริการ 2 ปี โดยให้ชำระค่ากำกับบริการในปีที่ 5 เป็นต้นไป รวมถึงกนอ.จะสนับสนุนในเรื่องการประชา สัมพันธ์โครงการทั้งในและต่างประเทศให้ด้วย
"ปัจจุบันทำธุรกิจโรงโม่หิน ล่าสุดตั้งบริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานีฯ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่พัฒนาธุรกิจที่ดิน เนื่องจากมีพื้นที่รองรับอยู่แล้ว จากอดีตที่เคยมีหุ้นส่วนจะทำเขตอุตสาห กรรม แต่ต้องชะงักไปก่อนเพราะวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ครั้งนี้จึงได้ซื้อหุ้นกลับมาดำเนินการเองทั้งหมดโดยจะร่วมกับกนอ."
กนอ.ประกาศร่วมทุนถึง 31 พ.ค.นี้
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมอุตสาห กรรมใหม่ 12 แห่ง มีพื้นที่รวมประมาณ 1.8 หมื่นไร่ แนวทางการลงทุนจะเป็นลักษณะการให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งจะเหมือนกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ หรือนิคมอุตสาหกรรมเหมราชฯ โดยอยู่ระหว่างประกาศเชิญ ชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-31 พฤษภาคม 2556 นี้ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา ได้ยื่นแสดงความสนใจร่วมลงทุนแล้ว ทั้งนี้ การเพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง จะเป็นการรองรับการเข้ามาของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและจีน ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปัจจุบันมีการลงทุนสูง
"งบลงทุนในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง ในเนื้อที่ 1.8 หมื่นไร่ คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนรวม 2.7 หมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากเอกชนทั้งหมด ในขณะที่ภาครัฐจะเข้าไปลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ ระบบสาธารณูปโภคแก่นักลงทุน และมีเอกชนเข้ามาลงทุนตั้ง โรงงานมูลค่ารวม 5.17 แสนล้านบาท"
ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภา คมจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานและรายชื่อเอกชนร่วมลงทุนเสนอต่อคณะกรรมการ กนอ. เพื่อออกระเบียบการลดหย่อนค่ากำกับการบริการให้เอกชนเป็นจำนวน 2 ปี และสนับสนุนการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (OSS) พื้นที่ประมาณ 500 เมตร ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมถึงสนับสนุนโรดโชว์ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่อง การให้สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามเขตการลงทุน
ปัจจุบัน กนอ.มีนิคมรวม 46 แห่ง แบ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.พัฒนาเอง 11 แห่ง และ 35 แห่งเป็นนิคมของเอกชนร่วมลงทุนกับกนอ.ทั้งนี้เชื่อว่าภาพรวมการขายพื้นที่ในเขตประกอบการทั้ง 46 แห่ง ปี 2556 นี้ จะสามารถขายพื้นที่ได้จำนวน 4 พันไร่ จากจำนวนพื้นที่ขายเฉลี่ยปีละประมาณ 3 พันไร่ ในช่วงปี 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุที่พื้นที่ในเขตประกอบการขายดี เนื่องจากมีการปรับขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมยานยนต์ และปิโตรเคมี เป็นต้น
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. พัฒนาโครงการเพิ่มพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมใหม่จำนวน 12 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม 3 กลุ่มคือ พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกติดชายทะเล, พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รองรับการค้าชายแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม ที่รองรับการเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เพื่อเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก 8 แห่ง ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และหนองคาย
นวนครทุ่มพันล.ผุดนิคมฯเอสเอ็มอี
ล่าสุดจากการสำรวจของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่ามีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมเขตและสวนอุตสาหกรรมหลายแห่งแสดงความสนใจที่จะร่วมกับกนอ. พัฒนาเขตประกอบการแห่งใหม่และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และบางรายอยู่ในขั้นตอนการเตรียมแผนที่จะดำเนินการอยู่แล้ว
ซึ่งเรื่องนี้นายนิพิฐ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.นวนครผู้พัฒนาสวนอุตสาหกรรมนวนครที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้สนใจที่จะลงไปพัฒนาพื้นที่สำหรับตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ในภาคตะวันออกซึ่งขณะนี้ยังไม่พร้อมเปิดเผยชื่อจังหวัด แต่อยู่ในพื้นที่ขนาดกว่า 1 พันไร่ ใช้เงินลงทุนราว 1.2-1.3 พันล้านบาท เพื่อรองรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและอุตสาหกรรมยา หลังจากที่ผ่านมา บมจ.นวนครลงทุนในภาคกลางและภาคอีสานไปก่อนแล้ว โดยโครงการนี้จะชัด เจนภายในปีนี้และมีแนวโน้มว่าจะพัฒนาร่วมกับกนอ. เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
โดยนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีที่จะตั้งขึ้นใหม่ จะรองรับกลุ่มทุนขนาดกลางและขนาดย่อมที่ก่อนหน้านี้มีทุนจากจีนและญี่ปุ่นเดินสายเข้ามาสำรวจพื้นที่ลงทุนโดยเข้ามาครั้งละ 30-40 ราย โดยเฉพาะทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นทุนระลอกใหม่ที่ไม่เคยเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่ขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจภายในญี่ปุ่นทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สามารถแข่งขันได้ ขณะที่ในกระบวนการผลิตก็มีปัญหาไฟฟ้าขาด และค่าไฟสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติ ในขณะที่ไทยยังมีความได้เปรียบในแง่ทำเลที่ตั้ง และเป็นจุดยุทธ ศาสตร์ประตูการค้าที่สำคัญ ซึ่งขณะนี้มีเพียงประเด็นค่าแรงงานที่สูงขึ้นและบาทแข็งค่าต่อเนื่องที่จะเป็นปัญหา ทำให้ทุนกลุ่มนี้ยังไม่เร่งรีบตัดสินใจเข้ามาลงทุนทันที
อย่างไรก็ตามหากดูตามแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. จะเห็นว่าในพื้นที่ภาคอีสาน บมจ.นวนครจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปพัฒนาพื้นที่ที่จังหวัดนครราชสีมา จนถึงขณะนี้ได้ขยายไปถึงพื้นที่เฟสที่ 3 แล้ว ดังนั้นเมื่อกนอ.มีแผนจะร่วมกับเอกชนพัฒนาพื้นที่ใหม่อีกก็น่าสนใจ เพราะก่อนหน้านี้สวนอุต สาหกรรมนวนครทั้งหมดไม่ได้ร่วมกับกนอ.พัฒนาพื้นที่
ไฮเทคลงทุนต่อที่กบินทร์
สอดคล้องกับที่นายทวิช เตชะนาวากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย อินดัสเตรียล เอสเตท จำกัด ผู้พัฒนา นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ระหว่างนี้บริษัทเตรียมแผนที่จะลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี ที่กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ในขนาดพื้นที่ราว 100 ไร่ ลงทุนตั้งแต่ 300-500 ล้านบาท จะเป็นโครงการที่ต่อยอดกับโครงการไฮเทค กบินทร์ อินดัสเตรียล ปาร์ค ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มพัฒนาได้ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านยานยนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลัก คาดว่าจะเป็นโครงการที่ร่วมกับกนอ.ได้ เพราะนโยบายสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกนอ. ตรงที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีและเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่รองรับการเข้าสู่เออีซีได้ด้วย เนื่องจากกบินทร์บุรี ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของกทม.และอยู่ทางทิศเหนือของอีสเทิร์นซีบอร์ด และอยู่ห่างจากตะเข็บชายแดนไม่มาก
แนะปรับเกณฑ์อีไอเอใหม่
นายทวิช กล่าวอีกว่า ถ้ากนอ. หรือภาครัฐต้องการจะผลักดันให้เกิดการลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ให้เร็วขึ้นก็ควรจะปรับเกณฑ์การพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ โดยพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรมอย่างมีขอบเขต ไม่ใช่เข้มงวดเหมือนกันทั้งหมด โดยควรพิจารณาไปตามความเสี่ยงของอุตสาหกรรม เช่น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบจากมลพิษมากก็ดำเนินการอีไอเอแบบหนึ่ง หรือควรมีช่องทางพิเศษในการดำเนินการด้านอีไอเอกับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงทางมลพิษน้อย เนื่องจากระยะหลังการผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่เป็นไปได้ยากขึ้น เพราะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาเรื่องอีไอเอค่อนข้างนาน
ทุนภูธรขานรับมติครม.กรุยทางกว่า 2 พันไร่
นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรม การผู้จัดการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นแสดงความจำนงที่จะร่วมทุนกับกนอ.ไปแล้ว โดยจะพัฒนาพื้นที่จำนวน 2.154 พันไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว เน้นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ และที่สนใจร่วมทุนครั้งนี้ เนื่อง จากเห็นว่ากนอ.มีความชำนาญและประ สบการณ์ในการพัฒนาที่ดิน การที่จะออกไปโรดโชว์ดึงนักลงทุนเข้ามามีศักยภาพสูงเมื่อเทียบกับที่บริษัทจะดำเนินการเอง เพราะนักลงทุนจากต่างประเทศที่เป็นบริษัทใหญ่ๆจะมีความเชื่อมั่นกนอ.และสามารถดึงบริษัทลูกให้ตามเข้ามาลงทุนได้อีก
ที่สำคัญจะสอดรับกับมติคณะรัฐมนตรี ที่ต้องการให้จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขึ้น และถือเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดอีกทางหนึ่ง จึงต้องการผลักดันในเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น สำหรับสัดส่วนการลงทุนจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องหารืออีกครั้งหลังจากที่กนอ.คัดเลือกผู้ร่วมลงทุนอีกครั้ง ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่กนอ.แจ้งมาแล้ว จะสนับสนุนการก่อสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในเนื้อที่ประมาณ 500 ตารางเมตรให้ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท พร้อมยกเว้นค่ากำกับบริการ 2 ปี โดยให้ชำระค่ากำกับบริการในปีที่ 5 เป็นต้นไป รวมถึงกนอ.จะสนับสนุนในเรื่องการประชา สัมพันธ์โครงการทั้งในและต่างประเทศให้ด้วย
"ปัจจุบันทำธุรกิจโรงโม่หิน ล่าสุดตั้งบริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานีฯ ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่พัฒนาธุรกิจที่ดิน เนื่องจากมีพื้นที่รองรับอยู่แล้ว จากอดีตที่เคยมีหุ้นส่วนจะทำเขตอุตสาห กรรม แต่ต้องชะงักไปก่อนเพราะวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ครั้งนี้จึงได้ซื้อหุ้นกลับมาดำเนินการเองทั้งหมดโดยจะร่วมกับกนอ."
กนอ.ประกาศร่วมทุนถึง 31 พ.ค.นี้
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมอุตสาห กรรมใหม่ 12 แห่ง มีพื้นที่รวมประมาณ 1.8 หมื่นไร่ แนวทางการลงทุนจะเป็นลักษณะการให้เอกชนร่วมลงทุน ซึ่งจะเหมือนกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ หรือนิคมอุตสาหกรรมเหมราชฯ โดยอยู่ระหว่างประกาศเชิญ ชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-31 พฤษภาคม 2556 นี้ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย อุดรธานี ขอนแก่น และนครราชสีมา ได้ยื่นแสดงความสนใจร่วมลงทุนแล้ว ทั้งนี้ การเพิ่มพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง จะเป็นการรองรับการเข้ามาของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและจีน ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปัจจุบันมีการลงทุนสูง
"งบลงทุนในพื้นที่อุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง ในเนื้อที่ 1.8 หมื่นไร่ คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนรวม 2.7 หมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากเอกชนทั้งหมด ในขณะที่ภาครัฐจะเข้าไปลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะ ระบบสาธารณูปโภคแก่นักลงทุน และมีเอกชนเข้ามาลงทุนตั้ง โรงงานมูลค่ารวม 5.17 แสนล้านบาท"
ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภา คมจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานและรายชื่อเอกชนร่วมลงทุนเสนอต่อคณะกรรมการ กนอ. เพื่อออกระเบียบการลดหย่อนค่ากำกับการบริการให้เอกชนเป็นจำนวน 2 ปี และสนับสนุนการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (OSS) พื้นที่ประมาณ 500 เมตร ในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมถึงสนับสนุนโรดโชว์ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ก็จะเป็นเรื่อง การให้สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามเขตการลงทุน
ปัจจุบัน กนอ.มีนิคมรวม 46 แห่ง แบ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.พัฒนาเอง 11 แห่ง และ 35 แห่งเป็นนิคมของเอกชนร่วมลงทุนกับกนอ.ทั้งนี้เชื่อว่าภาพรวมการขายพื้นที่ในเขตประกอบการทั้ง 46 แห่ง ปี 2556 นี้ จะสามารถขายพื้นที่ได้จำนวน 4 พันไร่ จากจำนวนพื้นที่ขายเฉลี่ยปีละประมาณ 3 พันไร่ ในช่วงปี 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุที่พื้นที่ในเขตประกอบการขายดี เนื่องจากมีการปรับขยายพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมยานยนต์ และปิโตรเคมี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น