สร้างอนาคตไทย 2020...อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมจริง ๆ
ประเมินจากอาการขานรับของคนใน 4 จังหวัดอีสานกลาง
กลุ่มจังหวัดที่เรียกชื่อไม่เป็นทางการว่า
"ร้อยแก่นสารสินธุ์"ในกลุ่มนี้ ขานชื่อออกมาทุกคนต้องบอกว่า "ขอนแก่น"
เป็นจังหวัดพี่เอื้อย
เพราะทั้งภูมิศาสตร์และนโยบายภาครัฐทุ่มเทการพัฒนาในอดีต มีผลให้ปัจจุบันขอนแก่นเป็นเมืองศูนย์กลางภาคอีสานครบถ้วนทุกด้าน
ทั้งชุมชน ธุรกิจ ศูนย์การค้า การแพทย์ และการศึกษา
ที่ผ่านมา เศรษฐกิจขอนแก่นโต กระฉูด จีดีพีในรอบ 5 ปีเพิ่มขึ้น 5.2% ด้านอุตสาหกรรมขยายตัวถึง 9.41% ขณะที่อสังหาฯขยายตัวอย่างรวดเร็ว 8.90%
สำหรับอนาคตใหม่จากแผนลงทุน 2 ล้านล้าน พบว่า "ขอนแก่น" เป็นพื้นที่มีโครงการลงทุนสูงสุด ทั้งไฮสปีดเทรนรถไฟทางคู่ สถานีขนส่งสินค้าถนน 4 เลน
อีก 3 จังหวัดที่อยู่ติดกัน ความเคลื่อนไหวก็เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในมุมของการปรับปรุง "ผังเมืองรวมจังหวัด" ของแต่ละพื้นที่ อย่าง "จังหวัดกาฬสินธุ์" หยิบยกจุดเด่นของการมีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังใหญ่ที่สุดในประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่
ดังนั้น การปรับปรุงร่างผังเมืองรวมจังหวัด เน้นให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก
ในภาคอสังหาฯ อนาคตเมืองนี้ไม่ธรรมดา มีปัจจัยหนุนมาจากมีการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์และราชมงคลเข้าด้วยกัน จะมีกลุ่มกำลังซื้อใหม่ที่ต้องจับตามองให้ดี
ส่วน "มหาสารคาม" อานิสงส์ของการเป็นเมืองมหาวิทยาลัยเป็นตัวผลักดันให้เมืองโตไม่หยุดเพราะมีการพัฒนาจนกระทั่งเต็มพื้นที่ในเขตเมืองเดิม จนต้องขยายเขตผังเมืองรวมเมืองมหาสารคามใหม่ จาก 10 ตร.กม.เพิ่มอีก 10 เท่าตัว หรือมากกว่า 100 ตร.กม.
สุดท้าย "ร้อยเอ็ด" พบว่าคนเมืองเกินร้อยแห่งนี้ตื่นตัวกับแผนลงทุน 2 ล้านล้าน อย่างน่าประทับใจ ผ่านคำสัมภาษณ์ "วรวรรณ กลิ่นแก้ว" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดที่ระบุว่า
"ร้อยเอ็ดตื่นตัวรถไฟทางคู่มาก พยายามรับโครงการนี้มาเป็นจุดการพัฒนา แม้โดนแค่เสี้ยวเดียวของจังหวัด แต่ก็เปิดพื้นที่ต้อนรับ จุดเด่นคือเรามีสนามบิน อนาคตจะยกระดับให้เป็นศูนย์กลางของจังหวัดใกล้เคียง เช่น กาฬสินธุ์ที่ไม่มีรถไฟ สามารถมาใช้ระบบโลจิสติกส์ร่วมกันได้"
ที่ผ่านมา เศรษฐกิจขอนแก่นโต กระฉูด จีดีพีในรอบ 5 ปีเพิ่มขึ้น 5.2% ด้านอุตสาหกรรมขยายตัวถึง 9.41% ขณะที่อสังหาฯขยายตัวอย่างรวดเร็ว 8.90%
สำหรับอนาคตใหม่จากแผนลงทุน 2 ล้านล้าน พบว่า "ขอนแก่น" เป็นพื้นที่มีโครงการลงทุนสูงสุด ทั้งไฮสปีดเทรนรถไฟทางคู่ สถานีขนส่งสินค้าถนน 4 เลน
อีก 3 จังหวัดที่อยู่ติดกัน ความเคลื่อนไหวก็เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในมุมของการปรับปรุง "ผังเมืองรวมจังหวัด" ของแต่ละพื้นที่ อย่าง "จังหวัดกาฬสินธุ์" หยิบยกจุดเด่นของการมีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังใหญ่ที่สุดในประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่
ดังนั้น การปรับปรุงร่างผังเมืองรวมจังหวัด เน้นให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็นเมืองเกษตรอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก
ในภาคอสังหาฯ อนาคตเมืองนี้ไม่ธรรมดา มีปัจจัยหนุนมาจากมีการควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์และราชมงคลเข้าด้วยกัน จะมีกลุ่มกำลังซื้อใหม่ที่ต้องจับตามองให้ดี
ส่วน "มหาสารคาม" อานิสงส์ของการเป็นเมืองมหาวิทยาลัยเป็นตัวผลักดันให้เมืองโตไม่หยุดเพราะมีการพัฒนาจนกระทั่งเต็มพื้นที่ในเขตเมืองเดิม จนต้องขยายเขตผังเมืองรวมเมืองมหาสารคามใหม่ จาก 10 ตร.กม.เพิ่มอีก 10 เท่าตัว หรือมากกว่า 100 ตร.กม.
สุดท้าย "ร้อยเอ็ด" พบว่าคนเมืองเกินร้อยแห่งนี้ตื่นตัวกับแผนลงทุน 2 ล้านล้าน อย่างน่าประทับใจ ผ่านคำสัมภาษณ์ "วรวรรณ กลิ่นแก้ว" โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดที่ระบุว่า
"ร้อยเอ็ดตื่นตัวรถไฟทางคู่มาก พยายามรับโครงการนี้มาเป็นจุดการพัฒนา แม้โดนแค่เสี้ยวเดียวของจังหวัด แต่ก็เปิดพื้นที่ต้อนรับ จุดเด่นคือเรามีสนามบิน อนาคตจะยกระดับให้เป็นศูนย์กลางของจังหวัดใกล้เคียง เช่น กาฬสินธุ์ที่ไม่มีรถไฟ สามารถมาใช้ระบบโลจิสติกส์ร่วมกันได้"
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น