เมื่อคิดถึงภาค "อีสาน" ก่อนหน้านี้ต้องยอมรับว่า
ส่วนใหญ่แล้ว มักจะเห็นแต่ภาพความแห้งแล้ง ถนนหนทางทุรกันดาร ประชากรยากจน แต่ช่วง
10-20 ปีที่ผ่านมานี้ เมื่อสาธารณูปโภคเข้าถึงพร้อม ๆ
กับความเจริญในด้านต่าง ๆ ที่ผลักดันให้อีสานดูดีขึ้น โดยวัดได้จากการที่มี
"ห้างสรรพสินค้า" เข้าไปเปิดให้บริการ ทั้งแบบค้าปลีก ค้าส่ง
ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง มี "สายการบินต้นทุนต่ำ" ลงจอด
ส่งผลให้การเดินทางไปมาหาสู่กันยิ่งสะดวกสบายขึ้น
ล่าสุด เมื่อรัฐบาลกำลังจะพัฒนาโครงสร้างทาง "คมนาคม" ทั้งสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ ถนน 4 เลน ขยายสนามบิน เพื่อรองรับการที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และอีกหลายจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกีฬา เช่น บุรีรัมย์ ยิ่งส่งผลให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในเชิงที่อยู่อาศัย และในเชิงพาณิชย์เติบโตขึ้นมาก ขณะเดียวกันราคาที่ดินก็ถีบตัวสูงขึ้นเกินเท่าตัวแทบทุกพื้นที่
ต้องยอมรับอีกอย่างว่า จังหวัดในภาคอีสานรวม 20 จังหวัด มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร สภาพทางภูมิศาสตร์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่อื่น ๆ รวมทั้งระยะทางในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และสภาพความเป็นเมืองชายแดนหรือในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่ส่วนใหญ่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ดีมาก เมื่อเข้าสู่เออีซี ที่จะมีการลงทุนหลั่งไหลมาสู่อีสานมากขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร การขนส่งคมนาคมติดต่อกับประเทศในอินโดจีน ทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม ตลอดไปถึงพื้นที่ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันก็สอด คล้องกับสภาพพื้นที่แต่ละจังหวัด เช่น เมืองชายแดนริมแม่น้ำโขง จะมีโรงแรม รีสอร์ทจำนวนมาก เช่น อ.เชียงคาน จ.เลย ถ้าเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีนักศึกษาจำนวนมาก ก็จะมีหอพัก อพาร์ตเมนต์มาก เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม และแน่นอนว่า พื้นที่เศรษฐกิจใจกลางเมืองของจังหวัดใหญ่ มีราคาที่ดินปรับขึ้นสูงขึ้นมากเท่าใด ยิ่งเกิดคอนโดมิเนียมมากขึ้นตามเท่านั้น โดยเฉพาะที่ นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี
เมื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ และอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหล่านี้ ต้องแลกกับต้นทุนที่ดินที่ราคาแพงขึ้น เกิดการลงทุน การเก็งกำไร จนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต เพราะไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ จนอาจทำ ให้ตลาดที่อยู่อาศัยในภาคอีสานโดยรวมต้องชะลอตัวลง ท่ามกลางปัญหาราคาวัสดุก่อสร้างและค่ารับเหมาก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขาดแคลนแรงงาน ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นด้วย
โดยจังหวัดที่มีที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก คือ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี ส่วนจังหวัดที่มีโครงการที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม และจังหวัดที่มีโครงการที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ นครพนม บึงกาฬ สกลนคร กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร
อย่างไรก็ดี ใน 20 จังหวัดภาคอีสานนั้น มีถึง 10 จังหวัด ที่ไม่มีคอนโดมิเนียมเลย ส่วนอีก 8 จังหวัดมีเพียง 1-3 โครงการเท่านั้น แต่มี 3 จังหวัดที่มีคอนโดมิเนียมจำนวนมาก จนน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดภาวะที่อยู่อาศัยล้นตลาด นั่นคือ นครราชสีมา อุดรธานี และขอนแก่น
เหล่านี้คือทิศทางของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ "สัมมนา คีตสิน" ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ถ่ายทอดให้เห็นส่วนหนึ่ง หลังจากที่ได้ลงพื้นที่สำรวจตลาดที่อยู่อาศัยแทบทุกจังหวัด ในภาคอีสานด้วยตัวเอง
ล่าสุด เมื่อรัฐบาลกำลังจะพัฒนาโครงสร้างทาง "คมนาคม" ทั้งสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ ถนน 4 เลน ขยายสนามบิน เพื่อรองรับการที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และอีกหลายจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกีฬา เช่น บุรีรัมย์ ยิ่งส่งผลให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในเชิงที่อยู่อาศัย และในเชิงพาณิชย์เติบโตขึ้นมาก ขณะเดียวกันราคาที่ดินก็ถีบตัวสูงขึ้นเกินเท่าตัวแทบทุกพื้นที่
ต้องยอมรับอีกอย่างว่า จังหวัดในภาคอีสานรวม 20 จังหวัด มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร สภาพทางภูมิศาสตร์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่อื่น ๆ รวมทั้งระยะทางในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และสภาพความเป็นเมืองชายแดนหรือในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ แต่ส่วนใหญ่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ดีมาก เมื่อเข้าสู่เออีซี ที่จะมีการลงทุนหลั่งไหลมาสู่อีสานมากขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร การขนส่งคมนาคมติดต่อกับประเทศในอินโดจีน ทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม ตลอดไปถึงพื้นที่ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
สำหรับรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันก็สอด คล้องกับสภาพพื้นที่แต่ละจังหวัด เช่น เมืองชายแดนริมแม่น้ำโขง จะมีโรงแรม รีสอร์ทจำนวนมาก เช่น อ.เชียงคาน จ.เลย ถ้าเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีนักศึกษาจำนวนมาก ก็จะมีหอพัก อพาร์ตเมนต์มาก เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม และแน่นอนว่า พื้นที่เศรษฐกิจใจกลางเมืองของจังหวัดใหญ่ มีราคาที่ดินปรับขึ้นสูงขึ้นมากเท่าใด ยิ่งเกิดคอนโดมิเนียมมากขึ้นตามเท่านั้น โดยเฉพาะที่ นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี
เมื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ และอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหล่านี้ ต้องแลกกับต้นทุนที่ดินที่ราคาแพงขึ้น เกิดการลงทุน การเก็งกำไร จนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต เพราะไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ จนอาจทำ ให้ตลาดที่อยู่อาศัยในภาคอีสานโดยรวมต้องชะลอตัวลง ท่ามกลางปัญหาราคาวัสดุก่อสร้างและค่ารับเหมาก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขาดแคลนแรงงาน ที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้นด้วย
โดยจังหวัดที่มีที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก คือ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี ส่วนจังหวัดที่มีโครงการที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ได้แก่ อุบลราชธานี มหาสารคาม และจังหวัดที่มีโครงการที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ นครพนม บึงกาฬ สกลนคร กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร
อย่างไรก็ดี ใน 20 จังหวัดภาคอีสานนั้น มีถึง 10 จังหวัด ที่ไม่มีคอนโดมิเนียมเลย ส่วนอีก 8 จังหวัดมีเพียง 1-3 โครงการเท่านั้น แต่มี 3 จังหวัดที่มีคอนโดมิเนียมจำนวนมาก จนน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดภาวะที่อยู่อาศัยล้นตลาด นั่นคือ นครราชสีมา อุดรธานี และขอนแก่น
เหล่านี้คือทิศทางของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ "สัมมนา คีตสิน" ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ถ่ายทอดให้เห็นส่วนหนึ่ง หลังจากที่ได้ลงพื้นที่สำรวจตลาดที่อยู่อาศัยแทบทุกจังหวัด ในภาคอีสานด้วยตัวเอง
ที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น