เผยผลสำรวจผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอีสานส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล
ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กำไรสุทธิลดลง ผู้ประกอบการ 2 ใน 3
ยังจ่ายค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท/วัน และ 1
ใน 4 มีแผนจะปรับลดลูกจ้างคนไทยออก
ขอนแก่น/ เมื่อเร็วๆ นี้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ( มข.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ทำการสำรวจ "ผลกระทบและการปรับตัวต่อนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของ SMEs อีสาน ไตรมาส 3 ปี 2556" โดยสุ่มสอบถามเจ้าของกิจการในภาคอีสาน จำนวน 670 ราย ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่นนครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มข. เปิดเผยถึงผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังจ่ายค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท/วัน คิดเป็นร้อยละ 66.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เนื่องจากรายได้ของผู้ประกอบการบางรายไม่คุ้มทุน หากต้องจ้างตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล ทั้งยังมีผู้ประกอบการบางรายจ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือจ้างเหมาชิ้น จึงทำให้รวมแล้วค่าจ้างรวมไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ในขณะเดียวกันก็มีผู้ประกอบการที่จัดบ้านพักและอาหารแก่ลูกจ้าง จึงทำให้ค่าแรงที่จ้างไม่ถึง 300 บาทต่อวันเช่นกัน
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในด้านต้นทุนค่าแรงงานสูงขึ้น ส่งผลให้ได้กำไรน้อยลงและมีการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 69.1 โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 37.3 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถปรับตัวได้คิดเป็นร้อยละ 96.1 ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการมีร้อยละ 33.7 จะยังคงไม่ลดจำนวนลูกจ้างลง ณ ตอนนี้
แต่มีถึงร้อยละ 26.3 ที่มีแผนจะปรับลดเฉพาะลูกจ้างคนไทย มีเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้นที่จะปรับลดเฉพาะลูกจ้างต่างด้าว และร้อยละ 1.4 จะปรับลดแรงงานทุกสัญชาติ และที่เหลือร้อยละ 36.4 ได้ปรับตัวการดำเนินงานในด้านอื่นๆ เช่น ลดต้นทุนที่ไม่ใช่ค่าแรง ปรับขึ้นราคา จ้างแบบเหมาชิ้น ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีทดแทนแรงงาน
นอกจากนั้น ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ภาคการผลิตได้รับผลกระทบสูงกว่าสาขาอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้แรงงานจำนวนมาก โดยมีร้อยละ 84.6 ของผู้ประกอบการภาคการผลิตที่ระบุว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากต้นปี ขณะที่ภาคการค้ามีร้อยละ 73.1 และภาคบริการอื่นๆ มีร้อยละ 71.0 ในส่วนของกำไรสุทธิ พบว่าภาคการผลิตมีร้อยละ 54.1 ระบุว่ามีกำไรสุทธิลดลง ขณะที่ภาคการค้ามีร้อยละ 52.2 และภาคบริการอื่นๆ มีเพียงร้อยละ 7.5 ที่ระบุว่ากำไรสุทธิลดลง
สำหรับมาตรการที่ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมช่วยเหลือ หรือสนับสนุนจากผลกระทบนโยบายค่าแรง 300 บาท พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีคิดเป็นร้อยละ 26.1 รองลงมาคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คิดเป็นร้อยละ 20.1 ส่งเสริมการตลาดคิดเป็นร้อยละ 20.0 การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่สถานประกอบกิจการคิดเป็นร้อยละ 8.4 การเพิ่มผลผลิตของสถานประกอบกิจการและการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (พัฒนาฝีมือแรงงาน) คิดเป็นร้อยละ 6.2 การผ่อนคลายกฎเกณฑ์การจ้างแรงงานต่างด้าวคิดเป็นร้อยละ 5.3 การช่วยจัดหาแรงงานคิดเป็นร้อยละ 5.2 และมาตรการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 2.3
"ผลสำรวจพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ประกอบการ SMEs ใน 4 จังหวัดใหญ่ของภาคอีสานได้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่สามารถจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันได้ตามนโยบาย และส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการจ้างแรงงาน แต่ยอดขายและกำลังการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กำไรลดลง"ดร.สุทินกล่าว และว่า
โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง แต่ยังสามารถรับมือและปรับตัวได้ และบางส่วนอาจปรับลดพนักงานลงโดยเฉพาะแรงงานไทย โดยภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นภาคการผลิต เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เห็นว่าผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในการทำธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ และรัฐบาลจะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดีเพื่อให้สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs มากนัก
ขอนแก่น/ เมื่อเร็วๆ นี้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ( มข.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ทำการสำรวจ "ผลกระทบและการปรับตัวต่อนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของ SMEs อีสาน ไตรมาส 3 ปี 2556" โดยสุ่มสอบถามเจ้าของกิจการในภาคอีสาน จำนวน 670 ราย ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่นนครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี
ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มข. เปิดเผยถึงผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังจ่ายค่าแรงต่ำกว่า 300 บาท/วัน คิดเป็นร้อยละ 66.9 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เนื่องจากรายได้ของผู้ประกอบการบางรายไม่คุ้มทุน หากต้องจ้างตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล ทั้งยังมีผู้ประกอบการบางรายจ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือจ้างเหมาชิ้น จึงทำให้รวมแล้วค่าจ้างรวมไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ในขณะเดียวกันก็มีผู้ประกอบการที่จัดบ้านพักและอาหารแก่ลูกจ้าง จึงทำให้ค่าแรงที่จ้างไม่ถึง 300 บาทต่อวันเช่นกัน
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในด้านต้นทุนค่าแรงงานสูงขึ้น ส่งผลให้ได้กำไรน้อยลงและมีการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 69.1 โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 37.3 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถปรับตัวได้คิดเป็นร้อยละ 96.1 ซึ่งการปรับตัวของผู้ประกอบการมีร้อยละ 33.7 จะยังคงไม่ลดจำนวนลูกจ้างลง ณ ตอนนี้
แต่มีถึงร้อยละ 26.3 ที่มีแผนจะปรับลดเฉพาะลูกจ้างคนไทย มีเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้นที่จะปรับลดเฉพาะลูกจ้างต่างด้าว และร้อยละ 1.4 จะปรับลดแรงงานทุกสัญชาติ และที่เหลือร้อยละ 36.4 ได้ปรับตัวการดำเนินงานในด้านอื่นๆ เช่น ลดต้นทุนที่ไม่ใช่ค่าแรง ปรับขึ้นราคา จ้างแบบเหมาชิ้น ใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีทดแทนแรงงาน
นอกจากนั้น ผลการสำรวจยังพบอีกว่า ภาคการผลิตได้รับผลกระทบสูงกว่าสาขาอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้แรงงานจำนวนมาก โดยมีร้อยละ 84.6 ของผู้ประกอบการภาคการผลิตที่ระบุว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากต้นปี ขณะที่ภาคการค้ามีร้อยละ 73.1 และภาคบริการอื่นๆ มีร้อยละ 71.0 ในส่วนของกำไรสุทธิ พบว่าภาคการผลิตมีร้อยละ 54.1 ระบุว่ามีกำไรสุทธิลดลง ขณะที่ภาคการค้ามีร้อยละ 52.2 และภาคบริการอื่นๆ มีเพียงร้อยละ 7.5 ที่ระบุว่ากำไรสุทธิลดลง
สำหรับมาตรการที่ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมช่วยเหลือ หรือสนับสนุนจากผลกระทบนโยบายค่าแรง 300 บาท พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยเหลือเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีคิดเป็นร้อยละ 26.1 รองลงมาคือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คิดเป็นร้อยละ 20.1 ส่งเสริมการตลาดคิดเป็นร้อยละ 20.0 การจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่สถานประกอบกิจการคิดเป็นร้อยละ 8.4 การเพิ่มผลผลิตของสถานประกอบกิจการและการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน (พัฒนาฝีมือแรงงาน) คิดเป็นร้อยละ 6.2 การผ่อนคลายกฎเกณฑ์การจ้างแรงงานต่างด้าวคิดเป็นร้อยละ 5.3 การช่วยจัดหาแรงงานคิดเป็นร้อยละ 5.2 และมาตรการอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 2.3
"ผลสำรวจพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ประกอบการ SMEs ใน 4 จังหวัดใหญ่ของภาคอีสานได้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่สามารถจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันได้ตามนโยบาย และส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการจ้างแรงงาน แต่ยอดขายและกำลังการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กำไรลดลง"ดร.สุทินกล่าว และว่า
โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง แต่ยังสามารถรับมือและปรับตัวได้ และบางส่วนอาจปรับลดพนักงานลงโดยเฉพาะแรงงานไทย โดยภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นภาคการผลิต เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เห็นว่าผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการในการทำธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ และรัฐบาลจะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ดีเพื่อให้สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs มากนัก
ที่มา :
บ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น