ลุ้นแจ้งเกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวเมืองขอนแก่น เนื้อที่ 4,100 ไร่ คลุมพื้นที่
อบต.ท่าพระ-อบต.ดอนหัน ทุนจีนหนุนเต็มสูบเงินลงทุน 9,000 ล้าน
เล็งชงบอร์ด กนอ.อนุมัติปลายตุลาคมนี้ กางโรดแมปใช้ประโยชน์ที่ดิน 5 โซน เน้นเจาะนักลงทุนต่างชาติ 70% เผยหากโปรเจ็กต์แรกไปได้สวย
มี
ไป อ.ชุมแพแผนสร้างนิคมแห่งใหม่ต่อทันที
นายอำนาจ ศรีสมบัติ กรรมการ
ทเลือผู้จัดการ บริษัท เบรนซิตี้ จำกัด ในเครือบริษัท แอดวานซ์ ดิจิตอล ซัพพลาย จำกัด ผู้ดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่น เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความคืบหน้าในการยื่นขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น บนเนื้อที่กว่า 4,100 ไร่ บริเวณ อบต.ท่าพระ และ อบต.ดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุนประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ขณะนี้ทางคณะกรรมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่น เตรียมนำ เรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดชุดใหญ่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ ขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี
ปัจจุบันลักษณะพื้นที่ของโครงการเป็นที่ราบกว่า 95% เป็นพื้นที่การเกษตรใช้เพาะปลูกอ้อย พื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายผังเมืองบังคับใช้ ซึ่งทางสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแก้ไขพื้นที่ให้เป็นเขตสีม่วง เพื่อใช้เป็นพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายผังเมือง ต่อไป
"นิคมสีเขียวขอนแก่นในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากประเทศจีน มีทั้งในส่วนของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกรูปแบบไหน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องทุนอย่างแน่นอน ส่วน ข้อกังวลเรื่องผังเมืองก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน
เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทได้รับ
อไผหนังสือยืนยันจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแจ้งว่า พื้นที่นี้สามารถดำเนินการในรูปแบบนิคมโดยถูกต้องตามกฎหมาย"
นายอำนาจกล่าวว่า ภายในนิคมจะแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 โซน ได้แก่ 1) Zone A เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone) มีกลุ่มเป้าหมายโรงงานผลิตรถยนต์/คลัสเตอร์ยานยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน รถยนต์ โรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค
2) Zone B เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (IEAT General
Zone) กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตการเกษตร อาหาร และพลังงาน โรงงานเครื่องจักรกลการเกษตร โรงงานผลิต เครื่องดื่ม 3) Zone C เป็นเขตพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย เขตการทำการค้าส่งและปลีก ศูนย์ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนวัตถุดิบ ศูนย์ธุรกรรมระหว่างประเทศ (Trade Center) ศูนย์การค้าปลอดภาษี (Duty Free Shop) และจัดสรรพื้นที่สร้างที่พักอาศัย
4) Zone D เป็นศูนย์กระจายสินค้า สถานีขนถ่ายสินค้า คลังสินค้า ลานกองเก็บ ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ และ 5) โซนสาธารณะ
สีเขียว ประกอบด้วย สวนสาธารณะ
ศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรม
สีเขียวขอนแก่น และพื้นที่บัฟเฟอร์
โซนบริเวณที่ใกล้หมู่บ้านใช้ทำเป็นออร์แกนิกฟาร์ม (Organic Farming) แปลงเกษตรอินทรีย์ พื้นที่ปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เตรียมพื้นที่บริเวณด้านหน้าโครงการประมาณ 1,376 ไร่ รองรับการเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ โดยในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัยนานาชาติ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สนามกอล์ฟ สถานที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ รวมทั้งพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยสำหรับบุคลากรที่ทำงานในนิคมด้วย
"การทำตลาดเราจะโฟกัสลูกค้าที่เป็นต่างชาติเป็นหลักในสัดส่วน 70% โดยเฉพาะลูกค้าจากจีนกลุ่มอุตสาหกรรม
ประกอบรถยนต์ซึ่งทางรัฐบาลจีนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ หากโปรเจ็กต์แรกประสบความสำเร็จ บริษัทมีแผนที่จะลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ในพื้นที่จังหวัด
ขอนแก่นต่อทันที" นายอำนาจกล่าวผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็น จุดกลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) หรือ EWEC จากเวียดนาม-สปป.ลาว-ไทย-พม่า ซึ่งในแผนแม่บทการลงทุนของรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ให้บริเวณสถานีรถไฟท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น เป็นจุดกระจายสินค้า ศูนย์กลางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ด้วยรถไฟรางคู่
ไป อ.ชุมแพแผนสร้างนิคมแห่งใหม่ต่อทันที
นายอำนาจ ศรีสมบัติ กรรมการ
ทเลือผู้จัดการ บริษัท เบรนซิตี้ จำกัด ในเครือบริษัท แอดวานซ์ ดิจิตอล ซัพพลาย จำกัด ผู้ดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่น เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความคืบหน้าในการยื่นขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดขอนแก่น บนเนื้อที่กว่า 4,100 ไร่ บริเวณ อบต.ท่าพระ และ อบต.ดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มูลค่าลงทุนประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท ขณะนี้ทางคณะกรรมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่น เตรียมนำ เรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดชุดใหญ่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อพิจารณาอนุมัติประมาณปลายเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ ขั้นตอนการจัดทำรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี
ปัจจุบันลักษณะพื้นที่ของโครงการเป็นที่ราบกว่า 95% เป็นพื้นที่การเกษตรใช้เพาะปลูกอ้อย พื้นที่ดังกล่าวยังไม่มีกฎหมายผังเมืองบังคับใช้ ซึ่งทางสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดขอนแก่น อยู่ระหว่างดำเนินการปรับแก้ไขพื้นที่ให้เป็นเขตสีม่วง เพื่อใช้เป็นพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายผังเมือง ต่อไป
"นิคมสีเขียวขอนแก่นในเบื้องต้นได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากประเทศจีน มีทั้งในส่วนของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกรูปแบบไหน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องทุนอย่างแน่นอน ส่วน ข้อกังวลเรื่องผังเมืองก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน
เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทได้รับ
อไผหนังสือยืนยันจากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแจ้งว่า พื้นที่นี้สามารถดำเนินการในรูปแบบนิคมโดยถูกต้องตามกฎหมาย"
นายอำนาจกล่าวว่า ภายในนิคมจะแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 5 โซน ได้แก่ 1) Zone A เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเขตประกอบการเสรี (IEAT Free Zone) มีกลุ่มเป้าหมายโรงงานผลิตรถยนต์/คลัสเตอร์ยานยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน รถยนต์ โรงงานอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค
2) Zone B เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมทั่วไป (IEAT General
Zone) กลุ่มเป้าหมายเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตการเกษตร อาหาร และพลังงาน โรงงานเครื่องจักรกลการเกษตร โรงงานผลิต เครื่องดื่ม 3) Zone C เป็นเขตพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย เขตการทำการค้าส่งและปลีก ศูนย์ซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนวัตถุดิบ ศูนย์ธุรกรรมระหว่างประเทศ (Trade Center) ศูนย์การค้าปลอดภาษี (Duty Free Shop) และจัดสรรพื้นที่สร้างที่พักอาศัย
4) Zone D เป็นศูนย์กระจายสินค้า สถานีขนถ่ายสินค้า คลังสินค้า ลานกองเก็บ ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ และ 5) โซนสาธารณะ
สีเขียว ประกอบด้วย สวนสาธารณะ
ศูนย์กลางของนิคมอุตสาหกรรม
สีเขียวขอนแก่น และพื้นที่บัฟเฟอร์
โซนบริเวณที่ใกล้หมู่บ้านใช้ทำเป็นออร์แกนิกฟาร์ม (Organic Farming) แปลงเกษตรอินทรีย์ พื้นที่ปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เตรียมพื้นที่บริเวณด้านหน้าโครงการประมาณ 1,376 ไร่ รองรับการเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ โดยในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัยนานาชาติ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สนามกอล์ฟ สถานที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ รวมทั้งพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยสำหรับบุคลากรที่ทำงานในนิคมด้วย
"การทำตลาดเราจะโฟกัสลูกค้าที่เป็นต่างชาติเป็นหลักในสัดส่วน 70% โดยเฉพาะลูกค้าจากจีนกลุ่มอุตสาหกรรม
ประกอบรถยนต์ซึ่งทางรัฐบาลจีนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ หากโปรเจ็กต์แรกประสบความสำเร็จ บริษัทมีแผนที่จะลงทุนในโครงการใหม่ ๆ ในพื้นที่จังหวัด
ขอนแก่นต่อทันที" นายอำนาจกล่าวผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็น จุดกลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) หรือ EWEC จากเวียดนาม-สปป.ลาว-ไทย-พม่า ซึ่งในแผนแม่บทการลงทุนของรัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ให้บริเวณสถานีรถไฟท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น เป็นจุดกระจายสินค้า ศูนย์กลางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ด้วยรถไฟรางคู่
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น