เดือนม.ค.
คำขอบีโอไอแตะ 7.4 หมื่นล้าน
มั่นใจตลอดปีนี้แตะ 7 แสนล้านบาท พร้อมรับฟังข้อเสนอภาคเอกชน
ก่อนปรับปรุงยุทธสาสตร์การลงทุนใหม่ ว่าจะงดให้บีโอไอ
กิจการใดหรือเพิ่มบีโอไอให้กิจการใดเอกชนร้องขอสิทธิพิเศษในการลงทุนตามแนวชายแดน
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่:เพื่ออุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างยั่งยืน" ที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 1,000 คน ว่า การปรับยุทธศาสตร์การลงทุนใหม่ ยังไม่มีผลต่อการชะลอการลงทุนล่าสุดคำยื่นขอรับการส่งเสริมเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริม 185 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 74,800 ล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ม.ค. 2555 ที่มีการยื่นขอรับการส่งเสริม 102 โครงการมูลค่า 73,400 ล้านบาท และคาดว่าการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดปีนี้ จะมีมูลค่ารวม 700,000 ล้านบาท
"ภาพรวมการลงทุนปีที่ผ่านมา ที่มียอดขอรับการส่งเสริมสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากเป็นปีที่มีอัตราการเติบโตที่ผิดปกติจากที่ชะลอมาจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงปี 2554 แต่ในปีนี้ภาพรวมการลงทุน ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติในระดับ 700,000 ล้านบาท ส่วนการปรับยุทธศาสตร์ลงทุนใหม่ของบีโอไอ ผมมั่นใจว่าจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในปีหน้า"
สำหรับการรับฟังความเห็นจากเอกชน ครั้งสุดท้ายจะจัดขึ้นวันที่ 18 ก.พ. ที่จ.สุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นจะเปิดเวทีย่อย รับฟังความเห็นจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นต้นเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งหากการดำเนินงานทั้งหมดเสร็จสิ้นในเดือนมี.ค. ก็จะประกาศยุทศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยใหม่ได้ในเดือย มิ.ย.
ทั้งนี้ จากการรับฟังความเห็นครั้งที่ผ่านมาจะพบว่ามีประเด็นที่แนะนำ อาทิ เขตส่งเสริมการลงทุน ที่แบ่งเป็นเขต 1-2-3 ที่เอกชนเสนอแนะว่าเมื่อค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศพื้นที่ต่างจังหวัดที่ไม่พร้อมในเรื่องระบบสาธารณูปโภคอาจจะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้บีโอไอ ได้เน้นการส่งเสริมฯ แบบใหม่จะเน้นที่การรวมกลุ่ม (Cluster) ที่จะมองในเรื่องของมูลค่า สินค้ามากกว่ารายกิจการ และยังมีความเห็นเรื่องประเภทกิจการ ที่จะยกเลิกส่งเสริมฯ จะมีจำนวนเท่าใด เรื่องนี้ต้องมาหารือกันกับภาคเอกชนอีกครั้งหนึ่ง เช่นกรณีอุตสาหกรรมประเภท อาหารลูกอม การผลิตไม่ได้มีเทคโนโลยีระดับสูง ก็จะไม่ส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของสิทธิประโยชน์สูงเหมือนในขณะนี้ แต่ถ้าเป็นอาหารที่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตระดับสูงในการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารก็จะพิจารณาให้การส่งเสริม เป็นต้น
นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ต่อหัวต่ำเช่น ศรีสะเกษ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสร้างนิคมอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อพัฒนาการลงทุนในภูมิภาค และเห็นว่าบีโอไอ ควรจัดสิทธิประโยชน์ สนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อย้ายอุตสาหกรรมจากส่วนกลางไปภูมิภาค และเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้จังหวัดใหญ่ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเป็นศูนย์กลางการลงทุน เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น และให้จังหวัดชายแดนเป็นพื้นที่การลงทุนเชื่อมกับเมืองใหญ่.
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง "ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่:เพื่ออุตสาหกรรมไทย เติบโตอย่างยั่งยืน" ที่ จ.นครราชสีมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 1,000 คน ว่า การปรับยุทธศาสตร์การลงทุนใหม่ ยังไม่มีผลต่อการชะลอการลงทุนล่าสุดคำยื่นขอรับการส่งเสริมเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริม 185 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 74,800 ล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ม.ค. 2555 ที่มีการยื่นขอรับการส่งเสริม 102 โครงการมูลค่า 73,400 ล้านบาท และคาดว่าการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดปีนี้ จะมีมูลค่ารวม 700,000 ล้านบาท
"ภาพรวมการลงทุนปีที่ผ่านมา ที่มียอดขอรับการส่งเสริมสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากเป็นปีที่มีอัตราการเติบโตที่ผิดปกติจากที่ชะลอมาจากปัญหาน้ำท่วมในช่วงปี 2554 แต่ในปีนี้ภาพรวมการลงทุน ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติในระดับ 700,000 ล้านบาท ส่วนการปรับยุทธศาสตร์ลงทุนใหม่ของบีโอไอ ผมมั่นใจว่าจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนในปีหน้า"
สำหรับการรับฟังความเห็นจากเอกชน ครั้งสุดท้ายจะจัดขึ้นวันที่ 18 ก.พ. ที่จ.สุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นจะเปิดเวทีย่อย รับฟังความเห็นจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นต้นเพื่อที่จะนำมาปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งหากการดำเนินงานทั้งหมดเสร็จสิ้นในเดือนมี.ค. ก็จะประกาศยุทศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยใหม่ได้ในเดือย มิ.ย.
ทั้งนี้ จากการรับฟังความเห็นครั้งที่ผ่านมาจะพบว่ามีประเด็นที่แนะนำ อาทิ เขตส่งเสริมการลงทุน ที่แบ่งเป็นเขต 1-2-3 ที่เอกชนเสนอแนะว่าเมื่อค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศพื้นที่ต่างจังหวัดที่ไม่พร้อมในเรื่องระบบสาธารณูปโภคอาจจะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้บีโอไอ ได้เน้นการส่งเสริมฯ แบบใหม่จะเน้นที่การรวมกลุ่ม (Cluster) ที่จะมองในเรื่องของมูลค่า สินค้ามากกว่ารายกิจการ และยังมีความเห็นเรื่องประเภทกิจการ ที่จะยกเลิกส่งเสริมฯ จะมีจำนวนเท่าใด เรื่องนี้ต้องมาหารือกันกับภาคเอกชนอีกครั้งหนึ่ง เช่นกรณีอุตสาหกรรมประเภท อาหารลูกอม การผลิตไม่ได้มีเทคโนโลยีระดับสูง ก็จะไม่ส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของสิทธิประโยชน์สูงเหมือนในขณะนี้ แต่ถ้าเป็นอาหารที่มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตระดับสูงในการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารก็จะพิจารณาให้การส่งเสริม เป็นต้น
นายธวัชชัย เฮงประเสริฐ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ต่อหัวต่ำเช่น ศรีสะเกษ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายสร้างนิคมอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อพัฒนาการลงทุนในภูมิภาค และเห็นว่าบีโอไอ ควรจัดสิทธิประโยชน์ สนับสนุนนิคมอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อย้ายอุตสาหกรรมจากส่วนกลางไปภูมิภาค และเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้จังหวัดใหญ่ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมเป็นศูนย์กลางการลงทุน เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น และให้จังหวัดชายแดนเป็นพื้นที่การลงทุนเชื่อมกับเมืองใหญ่.
ที่มา :
ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น