วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รู้จักอาเซียน: ตลาดยางพาราจีน-ไทย


          สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
          กระทรวงการต่างประเทศนเป็นอีกประเทศสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจกับไทยอย่างสูง ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยการค้าระหว่างไทยกับจีนได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ยางพารา" ของไทยที่ส่งออกไปยังจีน
          เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการผลิตยางรถยนต์มากที่สุดในโลก ทำให้มีความจำเป็นในการใช้ยางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ในปริมาณที่สูงมากที่สุดในโลกเช่นกัน
          สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับตลาดยางพาราจีนว่า อุตสาหกรรมยางรถยนต์ในจีนเป็นอุตสาหกรรมที่มีการกระจุกตัวสูง ผู้ผลิตรายใหญ่ 10 รายแรก มีผลผลิตรวมกันถึงร้อยละ 77 ของผลผลิตยางรถยนต์ทั้งหมด ปัจจุบันจีนอาศัยการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศในการผลิตยางรถยนต์ โดยร้อยละ 70 ของยางรถยนต์จีนผลิตจากยางพาราต่างประเทศ
          ในขณะเดียวกัน การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมรถยนต์ทำให้จีนต้องเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกยางพาราภายในประเทศ ตลอดจนเพิ่มการลงทุนธุรกิจยางพาราในต่างประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งนี้ ผลผลิตจากยางพาราในประเทศจีน ปี 2554 มีเพียง 0.78 ล้านตัน ในขณะที่จีนมีความต้องการใช้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพาราสูงถึงเกือบ 4.8 ล้านตัน
          ทั้งนี้ แหล่งเพาะปลูกยางพาราที่สำคัญของจีนอยู่ที่มณฑลไห่หนาน และยูนนาน
          ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดยางพาราธรรมชาติของจีนมากกว่าครึ่งของการนำเข้าทั้งหมดในปีที่ผ่านมา โดยสามารถส่งออกไปยังจีนประมาณ 1.1 ล้านตัน รองลงมาเป็นการส่งออกยางสังเคราะห์ปริมาณ 1.4 ล้านตัน ปริมาณที่ไทยส่งออกยางพาราไปยังจีนนั้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด คาดว่าในปี 2563 จีนจะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงปีละ 11.5 ล้านตัน เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของผลผลิตยางพาราโลก
          ทั้งนี้ จีนไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ แต่ผู้นำเข้าต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล โดยที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากจีนจัดให้ยางธรรมชาติเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว จึงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน และยางแท่งอยู่ที่ร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 7.5 อีกทั้งการนำเข้ายางทุกประเภทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 17
          สำหรับในมณฑลกวางตุ้ง มีนำเข้ายางธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 2.5 จากการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของจีน โดยมีรัฐวิสาหกิจหลักที่ดำเนินธุรกิจด้านยางพารา คือ บริษัท Guangdong Agribusiness Group Corporation ที่มีสาขาในมณฑลต่าง ๆ และต่างประเทศ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกันออกไปมากกว่า 260 แห่ง ตลอดจนมีสาขาใน ต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เบนิน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น