สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
หรือ ITD ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แนะแนวทางการปรับตัวเพื่อรองรับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ของตลาดแรงงานวิชาชีพต่างๆ
ที่เปลี่ยนแปลงไปใน เขตการค้าเสรีอาเซียน
ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrange ment : MRA) เพื่อรองรับคุณสมบัติแรงงาน ให้สามารถขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามใน MRA ไปแล้ว 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการบัญชี และการสำรวจรวมทั้งอีก 1 วิชาชีพ คือ การบริการการท่องเที่ยว นับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนโดยจะต้องมีการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ อาจต้องมีการทดสอบ ตามมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด นอกจากนี้แล้ว ต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน จากประเทศที่เข้าไปทำงาน และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศนั้นๆด้วย ในกรณีของประเทศไทย มีการกำหนดข้อตกลงว่า จะต้องมีประสบการณ์ ไม่ใช่ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ เช่น พยาบาลต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี แพทย์ ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปีเป็นต้น
"การจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศแล้ว ทางสถาบันฯ ยังเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และข้อตกลงนี้ยังได้ครอบคลุมถึงคุณภาพการศึกษาของไทย ซึ่งเงื่อนไขการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ชี้ให้เห็นว่าควรแก้ไขจุดอ่อนของแรงงานไทย โดยเฉพาะในเรื่องภาษาอังกฤษและทักษะด้านไอที รวมทั้งคุณลักษณะต่างๆ ที่ภาคธุรกิจต้องการ เช่น มีระเบียบวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม และความทุ่มเทให้กับงาน หากแรงงานไทย มีความพร้อมและสามารถปรับตัวตามเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆได้ ย่อมเพิ่มโอกาสและจุดแข็งให้แก่แรงงานไทย" ดร. วัชรัศมิ์ กล่าว
แม้ว่าการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) จะช่วยผลักดันแรงงานไทยสู่ตลาดแรงงานอาเซียน และเปิดโอกาสให้แรงงานไทยระดับบน แข่งขันได้ในอาเซียน เพื่อนำรายได้เข้าประเทศได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่วาจะเป็น ความพร้อม ในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ของสมาชิกอาเซียน บางประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานวิชาชีพในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หรือปัญหาการเข้ามาแย่งงานแรงงานภายในประเทศของแรงงานต่างชาติ รวมไปถึงเรื่องของความมีสมรรถนะความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะจัดว่าเป็นผู้ที่มีความพร้อมต่อ การเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ดังนั้นสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) จึงได้ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาเรื่อง"7+1 วิชาชีพก้าวไกลนำพาไทยสู่ AEC " ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ใน 7 วิชาชีพหลัก และกรอบข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในสาขาการบริการการท่องเที่ยว รวมถึงโอกาสและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนะแนวทาง ข้อดี ข้อเสีย และการเตรียมความพร้อมรับการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน
ดร.วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ รองผู้อำนวยการวิชาการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา หรือ ITD เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrange ment : MRA) เพื่อรองรับคุณสมบัติแรงงาน ให้สามารถขอขึ้นทะเบียนและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามใน MRA ไปแล้ว 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการบัญชี และการสำรวจรวมทั้งอีก 1 วิชาชีพ คือ การบริการการท่องเที่ยว นับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนโดยจะต้องมีการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ อาจต้องมีการทดสอบ ตามมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด นอกจากนี้แล้ว ต้องได้รับใบอนุญาตทำงาน จากประเทศที่เข้าไปทำงาน และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศนั้นๆด้วย ในกรณีของประเทศไทย มีการกำหนดข้อตกลงว่า จะต้องมีประสบการณ์ ไม่ใช่ผู้ที่จบการศึกษาใหม่ เช่น พยาบาลต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี แพทย์ ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปีเป็นต้น
"การจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการวิชาชีพข้ามพรมแดนระหว่างประเทศแล้ว ทางสถาบันฯ ยังเห็นว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และข้อตกลงนี้ยังได้ครอบคลุมถึงคุณภาพการศึกษาของไทย ซึ่งเงื่อนไขการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ชี้ให้เห็นว่าควรแก้ไขจุดอ่อนของแรงงานไทย โดยเฉพาะในเรื่องภาษาอังกฤษและทักษะด้านไอที รวมทั้งคุณลักษณะต่างๆ ที่ภาคธุรกิจต้องการ เช่น มีระเบียบวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม และความทุ่มเทให้กับงาน หากแรงงานไทย มีความพร้อมและสามารถปรับตัวตามเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆได้ ย่อมเพิ่มโอกาสและจุดแข็งให้แก่แรงงานไทย" ดร. วัชรัศมิ์ กล่าว
แม้ว่าการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) จะช่วยผลักดันแรงงานไทยสู่ตลาดแรงงานอาเซียน และเปิดโอกาสให้แรงงานไทยระดับบน แข่งขันได้ในอาเซียน เพื่อนำรายได้เข้าประเทศได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไม่วาจะเป็น ความพร้อม ในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ของสมาชิกอาเซียน บางประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานวิชาชีพในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หรือปัญหาการเข้ามาแย่งงานแรงงานภายในประเทศของแรงงานต่างชาติ รวมไปถึงเรื่องของความมีสมรรถนะความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ จึงจะจัดว่าเป็นผู้ที่มีความพร้อมต่อ การเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ดังนั้นสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) จึงได้ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาเรื่อง"7+1 วิชาชีพก้าวไกลนำพาไทยสู่ AEC " ขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ใน 7 วิชาชีพหลัก และกรอบข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ในสาขาการบริการการท่องเที่ยว รวมถึงโอกาสและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนะแนวทาง ข้อดี ข้อเสีย และการเตรียมความพร้อมรับการเปิดเสรีแรงงานวิชาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียน
ที่มา
:
พิมพ์ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น