เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 6 กุมภาพันธ์
ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ ผู้จัดการโครงการศึกษา
และออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมาสำนักงานนโยบาย
และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่
1 พื้นที่ย่อยที่ 3 สถานีกลางดง-สถานีนครราชสีมา มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และประชาชนกว่า 300 คน ร่วมรับฟัง โดยมีระยะเวลาศึกษา และออกแบบ 240
วัน แล้วเสร็จก่อนวันที่ 29 มกราคม 2557
นายนิรัตน์เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงจะทำให้อัตราการใช้ขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 เพิ่มปริมาณผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 4 หมื่นคนต่อวัน โดยรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน สามารถขนส่งผู้โดยสาร 800 คน เทียบเท่ารถโดยสารประจำทาง 20 คัน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางคุ้มค่าระยะยาว และด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยการันตีสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง ลดต้นทุนค่าพลังงานไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านบาทต่อปี โดยมีขนาดความกว้างของราง ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลทั่วโลก ขนาด 1.435 เมตร จึงมีหลายประเทศเสนอเทคโนโลยีให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตามความเหมาะสม คาดจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในช่วงปลายปี 2557 ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 5 ปี
"ขณะนี้อยู่ระหว่าง สนข.ศึกษาความเหมาะสมของเส้นทางรถไฟ ซึ่งยึดแนวเขตเดิมและออกแบบ เมื่อผ่านภูเขาจุดตัดทางรถไฟโดยเจาะเป็นอุโมงค์ และสร้างทางยกระดับ รวมทั้งปรับระดับความลาดเอียงของตัวรางให้น้อยที่สุด โดยแนวเขตรางจะต้องเป็นเส้นตรง หรือมีโค้งน้อยที่สุด เนื่องจากขบวนรถไฟต้องใช้ความเร็วสูง เฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวมทั้งสิ้น 256 กิโลเมตร จะมีสถานีซึ่งเป็นที่จอดรับส่งผู้โดยสาร ที่สถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา-สระบุรี-อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสถานีนครราชสีมา คิดค่าโดยสารเฉลี่ย 2.50 บาท-3 บาท ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร"
นายนิรัตน์กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นระบบที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวก ตรงเวลา มีความปลอดภัยสูง ประหยัดพลังงาน เดินทางจากกรุงเทพฯมา จ.นครราชสีมา ใช้เวลาประมาณ 90 นาที การดำเนินโครงการจะต้องรอบคอบสมบูรณ์ กระทรวงคมนาคมจึงต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯสู่ จ.นครราชสีมา ศูนย์กลางของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเชื่อมต่อไปประเทศเพื่อนบ้านแถบอินโดจีนในอนาคต
นายนิรัตน์เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงจะทำให้อัตราการใช้ขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 เพิ่มปริมาณผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 4 หมื่นคนต่อวัน โดยรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน สามารถขนส่งผู้โดยสาร 800 คน เทียบเท่ารถโดยสารประจำทาง 20 คัน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางคุ้มค่าระยะยาว และด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยการันตีสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง ลดต้นทุนค่าพลังงานไม่ต่ำกว่า 6 พันล้านบาทต่อปี โดยมีขนาดความกว้างของราง ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลทั่วโลก ขนาด 1.435 เมตร จึงมีหลายประเทศเสนอเทคโนโลยีให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตามความเหมาะสม คาดจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในช่วงปลายปี 2557 ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 5 ปี
"ขณะนี้อยู่ระหว่าง สนข.ศึกษาความเหมาะสมของเส้นทางรถไฟ ซึ่งยึดแนวเขตเดิมและออกแบบ เมื่อผ่านภูเขาจุดตัดทางรถไฟโดยเจาะเป็นอุโมงค์ และสร้างทางยกระดับ รวมทั้งปรับระดับความลาดเอียงของตัวรางให้น้อยที่สุด โดยแนวเขตรางจะต้องเป็นเส้นตรง หรือมีโค้งน้อยที่สุด เนื่องจากขบวนรถไฟต้องใช้ความเร็วสูง เฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางรวมทั้งสิ้น 256 กิโลเมตร จะมีสถานีซึ่งเป็นที่จอดรับส่งผู้โดยสาร ที่สถานีรถไฟพระนครศรีอยุธยา-สระบุรี-อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสถานีนครราชสีมา คิดค่าโดยสารเฉลี่ย 2.50 บาท-3 บาท ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร"
นายนิรัตน์กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นระบบที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวก ตรงเวลา มีความปลอดภัยสูง ประหยัดพลังงาน เดินทางจากกรุงเทพฯมา จ.นครราชสีมา ใช้เวลาประมาณ 90 นาที การดำเนินโครงการจะต้องรอบคอบสมบูรณ์ กระทรวงคมนาคมจึงต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯสู่ จ.นครราชสีมา ศูนย์กลางของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเชื่อมต่อไปประเทศเพื่อนบ้านแถบอินโดจีนในอนาคต
ที่มา : มติชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น