บีโอไออีสานบน ระบุยอดขอการลงทุน เดือนเม.ย. ติดลบ 100% ในทุกด้าน เหตุไม่มีผู้มาขอยื่น ชี้เป็นผลจาก "ภัยแล้ง"
ในช่วงต้นปี คาดเดือน พ.ค.อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นางสาวรัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 รับผิดชอบ 12 จังหวัด คือขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร นครพนม มหาสารคาม กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มุกดาหาร บึงกาฬ กล่าวว่า ภาวะการขอส่งเสริมการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประจำเดือน เม.ย. 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา "ลดลง" อย่างเห็นได้ชัด
พบว่า สัดส่วนจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุน ไม่มีโครงการมายื่นขอรับการ ส่งเสริม หรือ ลดลง 100% ทั้งในเรื่องของจำนวนโครงการ เงินลงทุน และการจ้างงาน ต่างจากปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีผู้ประกอบการมาขอยื่นการส่งเสริม 11 โครงการ มีเงินลงทุน 1,849.9 ล้านบาท
ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเดือนในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้จำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติ "ลดลง" เช่นเดียวกัน โดยมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ เงินลงทุน 143.3 ล้านบาท หรือลดลง 50% และ 89.32% ตามลำดับ แต่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 34.09%
"สภาวะภัยแล้งในช่วงต้นปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมหลักทางด้านการเกษตรชะลอตัว ประกอบกับเดือนเม.ย. มีวันหยุดยาว ทำให้ ผู้ประกอบการทำงานได้ไม่เต็มที่"
ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 2 โครงการ คือ กิจการผลิตพรม บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ จำกัด มีกำลังการผลิตปีละ 1.8 แสน ตร.ม. มูลค่าการลงทุน 63.3 ล้านบาทและ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ บริษัท วี.โอ.เน็ต ไบโอดีเซล เอเซีย จำกัด มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ปีละประมาณ 1,000 กิโลวัตต์ มูลค่าการลงทุน 80 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในเดือนพ.ค.นี้ คาด "เพิ่มขึ้น" เล็กน้อย เนื่องจากภาคการส่งออกเริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้กิจการที่ผู้ประกอบการยังคงสนใจและพร้อมที่จะลงทุน คือ เกษตรกรรม
และผลิตผลจากการเกษตร กิจการผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม บีโอไอขอนแก่น ได้มีการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานเพื่อเป็นการเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการและเปิดมุมมองของผู้ประกอบการ ในงานเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอีสาน-ตะวันออก : ซับคอนไทยแลนด์ 2013 ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ค.นี้ ซึ่งจะมีการเยี่ยมชมโรงงานด้านยานยนต์และเกษตรเพื่อนำประสบการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ในการประกอบกิจการ ทั้งเป็นการกระตุ้นนักลงทุนให้มีความสนใจที่จะลงทุนในส่วนภูมิภาคด้วย
'สภาวะภัยแล้ง ช่วงต้นปีส่งผลอุตสาหกรรมหลักด้านเกษตรชะลอตัว' ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
นางสาวรัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 รับผิดชอบ 12 จังหวัด คือขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร นครพนม มหาสารคาม กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด มุกดาหาร บึงกาฬ กล่าวว่า ภาวะการขอส่งเสริมการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประจำเดือน เม.ย. 2556 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา "ลดลง" อย่างเห็นได้ชัด
พบว่า สัดส่วนจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุน ไม่มีโครงการมายื่นขอรับการ ส่งเสริม หรือ ลดลง 100% ทั้งในเรื่องของจำนวนโครงการ เงินลงทุน และการจ้างงาน ต่างจากปี 2555 ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีผู้ประกอบการมาขอยื่นการส่งเสริม 11 โครงการ มีเงินลงทุน 1,849.9 ล้านบาท
ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเดือนในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้จำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติ "ลดลง" เช่นเดียวกัน โดยมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุน 2 โครงการ เงินลงทุน 143.3 ล้านบาท หรือลดลง 50% และ 89.32% ตามลำดับ แต่การจ้างงานเพิ่มขึ้น 34.09%
"สภาวะภัยแล้งในช่วงต้นปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมหลักทางด้านการเกษตรชะลอตัว ประกอบกับเดือนเม.ย. มีวันหยุดยาว ทำให้ ผู้ประกอบการทำงานได้ไม่เต็มที่"
ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 2 โครงการ คือ กิจการผลิตพรม บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ จำกัด มีกำลังการผลิตปีละ 1.8 แสน ตร.ม. มูลค่าการลงทุน 63.3 ล้านบาทและ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือไอน้ำ บริษัท วี.โอ.เน็ต ไบโอดีเซล เอเซีย จำกัด มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ปีละประมาณ 1,000 กิโลวัตต์ มูลค่าการลงทุน 80 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในเดือนพ.ค.นี้ คาด "เพิ่มขึ้น" เล็กน้อย เนื่องจากภาคการส่งออกเริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้กิจการที่ผู้ประกอบการยังคงสนใจและพร้อมที่จะลงทุน คือ เกษตรกรรม
และผลิตผลจากการเกษตร กิจการผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์
อย่างไรก็ตาม บีโอไอขอนแก่น ได้มีการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานเพื่อเป็นการเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการและเปิดมุมมองของผู้ประกอบการ ในงานเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอีสาน-ตะวันออก : ซับคอนไทยแลนด์ 2013 ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ค.นี้ ซึ่งจะมีการเยี่ยมชมโรงงานด้านยานยนต์และเกษตรเพื่อนำประสบการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ในการประกอบกิจการ ทั้งเป็นการกระตุ้นนักลงทุนให้มีความสนใจที่จะลงทุนในส่วนภูมิภาคด้วย
'สภาวะภัยแล้ง ช่วงต้นปีส่งผลอุตสาหกรรมหลักด้านเกษตรชะลอตัว' ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น