กนอ.เผยเชิญชวนให้ยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่มากว่า
1 เดือนแล้ว มีเพียง 2 ราย
ที่สนใจจะลงทุนที่อุดรธานีและเชียงราย "วีรพงศ์" ยืนยันถึง 31 พ.ค.นี้ ปิดรับวันสุดท้าย คาดอาจมีเอกชนสนใจยื่นมาอีกหลายราย ด้าน
"เหมราช" เมิน เล็งลุยพัฒนาพื้นที่ของตัวเองก่อน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ 12 นิคมอุตสาหกรรม ว่า จากที่กนอ.ได้เชิญชวนภาคเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 8 แห่ง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ จังหวัดเชียงราย 1 แห่ง และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีอีก 3 แห่ง ซึ่งได้เปิดยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่ เพื่อจัดตั้งนิคมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดการรับข้อเสนอในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้นั้น ปรากฏว่าขณะนี้มีเพียง 2 บริษัท เท่านั้น ที่ยื่นความจำนงเข้าร่วมลงทุนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด และบริษัท เมืองเงิน เดเวอร์ลอปเม้นต์ จำกัด เสนอตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ขณะที่อีก 2 บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าร่วมจัดตั้งนิคมในจังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด
ทั้งนี้ เบื้องต้นการจัดตั้งนิคมหากยังไม่มีการตอบรับจากภาคเอกชนเท่าที่ควร แม้ว่าที่ผ่านมาเอกชนหลายรายแสดงความสนใจจะเข้าร่วมลงทุน แต่อาจจะยังอยู่ในขั้นการจัดทำรายละเอียดของโครงการอยู่ และคงรอเวลาที่เหมาะสม หรือใกล้วันปิดรับการยื่นข้อเสนอ ถึงจะมายื่นแบบ ซึ่งยังมีเวลาพอในอีก 2 สัปดาห์ เชื่อว่าน่าจะมีเอกชนเสนอคำขอการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก
"กนอ.จะสรุปรายชื่อเอกชนที่ยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคม ให้กับคณะกรรมการบริหารกนอ.หลังจากปิดรับการยื่นแบบแล้ว เพื่อจะไปกำหนดระเบียบและสิทธิประโยชน์ที่เอกชนจะได้รับในเขตการลงทุนต่างๆ
อย่างไรก็ตาม หากเอกชนยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมไม่ครบตามจำนวนที่กนอ.วางไว้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบอร์ดกนอ.ว่าจะพิจารณาขยายระยะเวลาการเชิญชวนเอกชนเข้ามาจัดตั้งนิคมออกไปหรือไม่ ซึ่งหากจัดตั้งนิคมทั้ง 12 แห่งได้ จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการรองรับนักลงทุนที่จะเข้ามา โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและจีน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปัจจุบันมีการลงทุนสูง โดยพื้นที่อุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง มีเนื้อที่ 1.8 หมื่นไร่ คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนรวม 2.7 หมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากเอกชนทั้งหมด
ด้านนายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ที่ กนอ.และภาครัฐพยายามผลักดันนั้น เหมราชคงไม่ร่วมลงทุนตอนนี้ แต่จะดูความเป็นไปได้ของโอกาสมากกว่าว่า มีมากน้อยแค่ไหน เพราะเหมราชเองก็มีแผนพัฒนาพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเข้าไปซื้อพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทคู่แข่ง และพัฒนาพื้นที่ที่บริษัทมีอยู่
สำหรับปีนี้ เหมราช ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 8 พันล้านบาท แบ่งเป็น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 2 พันล้านบาท ซื้อที่ดิน 2 พันล้านบาท สร้างโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้า 2.8 พันล้านบาท พัฒนาระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภค 700 ล้านบาท ส่วนงบประมาณที่เหลือเป็นการพัฒนาในด้านอื่นๆ นอกจากนี้บริษัทยังปรับลดรายได้ที่มาจากการขายที่ดินจากเดิมปีที่แล้วอยู่ที่ 60% ในปีนี้ตั้งเป้าลดการขายเหลือ 50%
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ 12 นิคมอุตสาหกรรม ว่า จากที่กนอ.ได้เชิญชวนภาคเอกชนเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 8 แห่ง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ จังหวัดเชียงราย 1 แห่ง และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีอีก 3 แห่ง ซึ่งได้เปิดยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่ เพื่อจัดตั้งนิคมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดการรับข้อเสนอในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้นั้น ปรากฏว่าขณะนี้มีเพียง 2 บริษัท เท่านั้น ที่ยื่นความจำนงเข้าร่วมลงทุนในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด และบริษัท เมืองเงิน เดเวอร์ลอปเม้นต์ จำกัด เสนอตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ขณะที่อีก 2 บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าร่วมจัดตั้งนิคมในจังหวัดขอนแก่น และนครราชสีมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียด
ทั้งนี้ เบื้องต้นการจัดตั้งนิคมหากยังไม่มีการตอบรับจากภาคเอกชนเท่าที่ควร แม้ว่าที่ผ่านมาเอกชนหลายรายแสดงความสนใจจะเข้าร่วมลงทุน แต่อาจจะยังอยู่ในขั้นการจัดทำรายละเอียดของโครงการอยู่ และคงรอเวลาที่เหมาะสม หรือใกล้วันปิดรับการยื่นข้อเสนอ ถึงจะมายื่นแบบ ซึ่งยังมีเวลาพอในอีก 2 สัปดาห์ เชื่อว่าน่าจะมีเอกชนเสนอคำขอการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก
"กนอ.จะสรุปรายชื่อเอกชนที่ยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคม ให้กับคณะกรรมการบริหารกนอ.หลังจากปิดรับการยื่นแบบแล้ว เพื่อจะไปกำหนดระเบียบและสิทธิประโยชน์ที่เอกชนจะได้รับในเขตการลงทุนต่างๆ
อย่างไรก็ตาม หากเอกชนยื่นแบบคำขอเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมไม่ครบตามจำนวนที่กนอ.วางไว้ คงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบอร์ดกนอ.ว่าจะพิจารณาขยายระยะเวลาการเชิญชวนเอกชนเข้ามาจัดตั้งนิคมออกไปหรือไม่ ซึ่งหากจัดตั้งนิคมทั้ง 12 แห่งได้ จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการรองรับนักลงทุนที่จะเข้ามา โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและจีน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปัจจุบันมีการลงทุนสูง โดยพื้นที่อุตสาหกรรมทั้ง 12 แห่ง มีเนื้อที่ 1.8 หมื่นไร่ คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนรวม 2.7 หมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากเอกชนทั้งหมด
ด้านนายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ที่ กนอ.และภาครัฐพยายามผลักดันนั้น เหมราชคงไม่ร่วมลงทุนตอนนี้ แต่จะดูความเป็นไปได้ของโอกาสมากกว่าว่า มีมากน้อยแค่ไหน เพราะเหมราชเองก็มีแผนพัฒนาพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเข้าไปซื้อพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทคู่แข่ง และพัฒนาพื้นที่ที่บริษัทมีอยู่
สำหรับปีนี้ เหมราช ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 8 พันล้านบาท แบ่งเป็น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม 2 พันล้านบาท ซื้อที่ดิน 2 พันล้านบาท สร้างโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้า 2.8 พันล้านบาท พัฒนาระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภค 700 ล้านบาท ส่วนงบประมาณที่เหลือเป็นการพัฒนาในด้านอื่นๆ นอกจากนี้บริษัทยังปรับลดรายได้ที่มาจากการขายที่ดินจากเดิมปีที่แล้วอยู่ที่ 60% ในปีนี้ตั้งเป้าลดการขายเหลือ 50%
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น