ทุนจีนรุกอีสาน
เอ็นจีโอหวั่นยึดพื้นที่ทำเหมืองแร่โปแตซ ประธานสภาอุตฯ ขอนแก่นเผย เป้าหมายมีหลายโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว และขุดลอกแก่งละว้า
คาดจีนทุ่มเงินลงขอนแก่นไม่น้อยกว่า 7.5 หมื่นล้าน
นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนชนบท หรือ กป.อพช.อีสาน เปิดเผยว่า ตอนนี้มีกระแสส่งเสริมการลงทุนทำเหมืองแร่โปแตชของนักลงทุนจีน ในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะ จ.ขอนแก่น ซึ่งตอนนี้มีการกว้านซื้อที่ดินของทุนจีน โดยเฉพาะที่เขต ต.ท่าพระ เพื่อทำนิคม อุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตซหรือไม่ แต่ก็สร้างความกังวลว่าจะเกี่ยวเนื่องกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความกังวลว่าทุนจีนจะซื้ออาญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจหาแหล่งแร่ โดยมีบริษัทคนไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่กี่ล้านทำการสำรวจในพื้นที่ ต.บ้านทุ่ม ต.บ้านหว้า อ.เมือง และ ต.บ้านฝาง ต.บ้านเหล่า อ.บ้านหว้า อ.บ้านฝาง จำนวน 10 แปลง เนื้อที่จำนวน 1 แสนไร่ ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งไม่ทราบว่าปัจจุบันดำเนินการสำรวจไปมากน้อยแค่ไหน หากมีการซื้อขายและมีการลงทุนก็จะเหมือนกับที่ จ.อุดรธานี จ.สกลนคร ที่มีการสำรวจและพยายามจะตั้งเหมืองแร่ขึ้นมา แต่อุดรธานีได้ร้บการต่อต้านอย่างรุนแรงจากคนในพื้นที่ ส่วนสกลนครกำลังจะดำเนินการขออนุญาตทำเหมืองเนื่องจากมีการสำรวจโดยบริษัท ไชน่าหมิงต๋า ของจีน
"การทำเหมืองแร่ของไทยปัจจุบันอยู่ภายใต้กฎหมายแร่ฉบับใหม่ ซึ่งมีการเอื้อต่อนายทุน เนื่องจากเจ้าของที่ดินมีสิทธิเหนือพื้นที่ดินแค่ 100 เมตร เป็นการลิดรอนสิทธิเจ้าของที่ดินประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งในภาคอีสานมีอีกหลายที่ที่มีทุนจากจีนเข้ามา และเชื่อว่าจะรุกทำธุรกิจเหมืองแร่อีกไม่น้อยเช่นกัน" นายสุวิทย์ กล่าว
ด้านายวิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้มีทุนจีนเข้ามาในพื้นที่ขอนแก่น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเม็ดเงินไม่น้อยกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท ที่มีการเซ็นเอ็มโอยูกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นแล้ว เฉพาะการทำนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวที่ ต.ท่าพระ โดยบริษัทตัวแทน เอดีเอส ใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท และเร็วๆ นี้มีบริษัท ไชน่าไอพีพีอาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอเปอเรชั่น หรือ ซีโออาร์พี ได้เซ็นสัญญาขุดลอกแก่งละว้า และบริษัทฉงชิ่ง คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ที่จะมาลงทุนเกี่ยวพลังงานทดแทนและการกำจัดขยะที่อ.บ้านไผ่ ซึ่งเฉพาะแก่งละว้าคาดว่าน่าจะใช้งบประมาณเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
"แต่สำหรับการทำเหมืองแร่โปแตช ขณะนี้ยังไม่เคยมีปรืได้พบปะพูดคุยกับนักลงทุนจีนรายใดว่าจะลงทุนเกี่ยวกับเหมืองแร่นี้ ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเหมืองแร่โปแตช เพราะน่าจะได้รับแรงค้านพอสมควรจะเห็นได้จาก จ.อุดรธานี พื้นที่ที่จะทำเหมือง 2,000 ไร่ ก็ถูกต้านจนต้องหันมาทำเป็นศูนย์อุตสาหกรรมแทน" ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าว
นายสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนชนบท หรือ กป.อพช.อีสาน เปิดเผยว่า ตอนนี้มีกระแสส่งเสริมการลงทุนทำเหมืองแร่โปแตชของนักลงทุนจีน ในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะ จ.ขอนแก่น ซึ่งตอนนี้มีการกว้านซื้อที่ดินของทุนจีน โดยเฉพาะที่เขต ต.ท่าพระ เพื่อทำนิคม อุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตซหรือไม่ แต่ก็สร้างความกังวลว่าจะเกี่ยวเนื่องกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความกังวลว่าทุนจีนจะซื้ออาญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจหาแหล่งแร่ โดยมีบริษัทคนไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่กี่ล้านทำการสำรวจในพื้นที่ ต.บ้านทุ่ม ต.บ้านหว้า อ.เมือง และ ต.บ้านฝาง ต.บ้านเหล่า อ.บ้านหว้า อ.บ้านฝาง จำนวน 10 แปลง เนื้อที่จำนวน 1 แสนไร่ ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งไม่ทราบว่าปัจจุบันดำเนินการสำรวจไปมากน้อยแค่ไหน หากมีการซื้อขายและมีการลงทุนก็จะเหมือนกับที่ จ.อุดรธานี จ.สกลนคร ที่มีการสำรวจและพยายามจะตั้งเหมืองแร่ขึ้นมา แต่อุดรธานีได้ร้บการต่อต้านอย่างรุนแรงจากคนในพื้นที่ ส่วนสกลนครกำลังจะดำเนินการขออนุญาตทำเหมืองเนื่องจากมีการสำรวจโดยบริษัท ไชน่าหมิงต๋า ของจีน
"การทำเหมืองแร่ของไทยปัจจุบันอยู่ภายใต้กฎหมายแร่ฉบับใหม่ ซึ่งมีการเอื้อต่อนายทุน เนื่องจากเจ้าของที่ดินมีสิทธิเหนือพื้นที่ดินแค่ 100 เมตร เป็นการลิดรอนสิทธิเจ้าของที่ดินประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งในภาคอีสานมีอีกหลายที่ที่มีทุนจากจีนเข้ามา และเชื่อว่าจะรุกทำธุรกิจเหมืองแร่อีกไม่น้อยเช่นกัน" นายสุวิทย์ กล่าว
ด้านายวิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้มีทุนจีนเข้ามาในพื้นที่ขอนแก่น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเม็ดเงินไม่น้อยกว่า 7.5 หมื่นล้านบาท ที่มีการเซ็นเอ็มโอยูกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่นแล้ว เฉพาะการทำนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวที่ ต.ท่าพระ โดยบริษัทตัวแทน เอดีเอส ใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท และเร็วๆ นี้มีบริษัท ไชน่าไอพีพีอาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอเปอเรชั่น หรือ ซีโออาร์พี ได้เซ็นสัญญาขุดลอกแก่งละว้า และบริษัทฉงชิ่ง คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป ที่จะมาลงทุนเกี่ยวพลังงานทดแทนและการกำจัดขยะที่อ.บ้านไผ่ ซึ่งเฉพาะแก่งละว้าคาดว่าน่าจะใช้งบประมาณเกือบ 1 หมื่นล้านบาท
"แต่สำหรับการทำเหมืองแร่โปแตช ขณะนี้ยังไม่เคยมีปรืได้พบปะพูดคุยกับนักลงทุนจีนรายใดว่าจะลงทุนเกี่ยวกับเหมืองแร่นี้ ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำเหมืองแร่โปแตช เพราะน่าจะได้รับแรงค้านพอสมควรจะเห็นได้จาก จ.อุดรธานี พื้นที่ที่จะทำเหมือง 2,000 ไร่ ก็ถูกต้านจนต้องหันมาทำเป็นศูนย์อุตสาหกรรมแทน" ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าว
ที่มา : คม ชัด ลึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น