ชี้เทรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยโตต่อเนื่อง
จับตากลุ่มทุนเมืองลุงแซมนำทัพ 12 แฟรนไชส์บุกไทย
พร้อมเผยโฉมในงานยูเอสเอ แฟร์ หวังหาพันธมิตรขยายแผนลงทุนฝั่งเอเชีย
ผู้ช่วยทูตพาณิชย์สหรัฐฯ ชี้เป็นอีกหนึ่งธุรกิจน่าลงทุน
จากอานิสงส์ค่าเงินบาทแข็งส่งผลให้สามารถซื้อแฟรนไชส์ได้ราคาถูก
นายดีน แมทเล็ค ผู้ช่วยทูตพาณิชย์ สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการพา ณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากในปีที่ผ่านมาที่พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีการเติบโตกว่า 20% โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้การเติบโตดังกล่าว ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศสนใจขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย โดยล่าสุดมีผู้ประกอบการในธุรกิจแฟรนไชส์รวม 12 แบรนด์จากสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม ได้แก่ เดนนีส์ (Denny's) ร้านกาแฟครบวงจรและร้านอาหารสำหรับครอบครัว, ริต้าส์ อิตาเลี่ยน ไอซ์ (Rita's Italian Ice) บริการไอศกรีมอิตาเลียน, ฟรัดดรักเกอร์ส(Fruddruckers) ร้านแฮมเบอร์เกอร์, เดอะ เมลติ้ง พ็อต(Melting Pot) ร้านอาหารฟองดู, ราวด์ เทเบิ้ล พิซซ่า(Round Table Pizza) ร้านพิซซ่าอันดับ 1 ของแคลิฟอร์เนีย, โมส์ เซ้าท์เวสท์ กริล(MOE's Ga) ร้านอาหารปรุงสด, ร็อคกี้ เมาท์เท่น ช็อคโกแลต แฟ็คโตรี่ ผู้ผลิตของหวาน ลูกอมและดูแลการจัดการร้านขายปลีก, ชัคกี้ ชีส (Chuck E.Cheese's, TX) เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัว, สโลกาย'ส (Schlotzky's TX) ธุรกิจแซนด์ วิชแบบปิ้งย่าง และสเต็ก แอนด์ เชค (Steak'n Shake, Texas) ร้านอาหารสไตล์อเมริกัน คลาสสิก
กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้แก่ กรีส มังกี้ (Grease Monkey) 1 ในแฟรนไชส์ที่ใหญ่สุดของศูนย์บริการดูแลบำรุงรักษารถยนต์แบบครบวงจร, พรีซิชั่น ทูน ออโตแคร์ (Precision Tune Auto Care) ธุรกิจดูแลรถยนต์และดูแลผู้ขับขี่ ซึ่งทั้ง 12 แบรนด์แฟรนไชส์ดังกล่าว ถือว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในแต่ละรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของธุรกิจ
"แต่ละแบรนด์ล้วนเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง และมีความพร้อมในการขยายการลงทุนมายังเอเชีย โดยประเทศเหล่านี้ศึกษาตลาดและเลือกที่จะลงทุนในไทยเป็นอันดับต้นๆ เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพ ความพร้อมของประเทศไทย"
นอกจากนี้จากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทยและดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักธุรกิจรายย่อยไทย ที่สนใจจะลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์จากสหรัฐฯ จากค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สามารถซื้อไลเซนส์แฟรนไชส์สหรัฐฯ ได้ถูกลงกว่าเมื่อก่อนมาก
การขยายตลาดแฟรนไชส์จากสหรัฐฯในปีนี้ ยังถือเป็นครั้งใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา จากปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์สหรัฐฯในไทยราว 18-20 แบรนด์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ของจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ต่างชาติในไทยที่มีอยู่ราว 15% และที่เหลือ 85% เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ท้องถิ่นในไทย ที่ปัจจุบันตลาดรวมแฟรนไชส์ในไทยมีราว 370 แบรนด์ในธุรกิจทุกประเภท
สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์จากสหรัฐฯ ทั้ง 12 แบรนด์ จะเปิดตัวพร้อมแนะนำให้กับผู้สนใจในงาน ยูเอสเอแฟร์ ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-2 มิถุนายนนี้ เพื่อเปิดโอกาสและจับคู่ทางธุรกิจให้กับพันธมิตรที่สนใจ ขยายการทำตลาดร่วมกัน ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
อย่างไรก็ตาม นอกจากการขยายธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารเครื่องดื่ม และยานยนต์แล้ว ในอนาคตสหรัฐฯยังมีแผนขยายการลงทุนธุรกิจประเภทอื่นๆ เข้ามาในไทยมากขึ้น จากโอกาสในตลาดเอเชียและอาเซียนที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะไทยที่จะเป็นฮับทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
นายดีน แมทเล็ค ผู้ช่วยทูตพาณิชย์ สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการพา ณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากในปีที่ผ่านมาที่พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีการเติบโตกว่า 20% โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้การเติบโตดังกล่าว ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศสนใจขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย โดยล่าสุดมีผู้ประกอบการในธุรกิจแฟรนไชส์รวม 12 แบรนด์จากสหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยกลุ่มธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม ได้แก่ เดนนีส์ (Denny's) ร้านกาแฟครบวงจรและร้านอาหารสำหรับครอบครัว, ริต้าส์ อิตาเลี่ยน ไอซ์ (Rita's Italian Ice) บริการไอศกรีมอิตาเลียน, ฟรัดดรักเกอร์ส(Fruddruckers) ร้านแฮมเบอร์เกอร์, เดอะ เมลติ้ง พ็อต(Melting Pot) ร้านอาหารฟองดู, ราวด์ เทเบิ้ล พิซซ่า(Round Table Pizza) ร้านพิซซ่าอันดับ 1 ของแคลิฟอร์เนีย, โมส์ เซ้าท์เวสท์ กริล(MOE's Ga) ร้านอาหารปรุงสด, ร็อคกี้ เมาท์เท่น ช็อคโกแลต แฟ็คโตรี่ ผู้ผลิตของหวาน ลูกอมและดูแลการจัดการร้านขายปลีก, ชัคกี้ ชีส (Chuck E.Cheese's, TX) เป็นร้านอาหารสำหรับครอบครัว, สโลกาย'ส (Schlotzky's TX) ธุรกิจแซนด์ วิชแบบปิ้งย่าง และสเต็ก แอนด์ เชค (Steak'n Shake, Texas) ร้านอาหารสไตล์อเมริกัน คลาสสิก
กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้แก่ กรีส มังกี้ (Grease Monkey) 1 ในแฟรนไชส์ที่ใหญ่สุดของศูนย์บริการดูแลบำรุงรักษารถยนต์แบบครบวงจร, พรีซิชั่น ทูน ออโตแคร์ (Precision Tune Auto Care) ธุรกิจดูแลรถยนต์และดูแลผู้ขับขี่ ซึ่งทั้ง 12 แบรนด์แฟรนไชส์ดังกล่าว ถือว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในแต่ละรัฐที่เป็นแหล่งกำเนิดของธุรกิจ
"แต่ละแบรนด์ล้วนเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง และมีความพร้อมในการขยายการลงทุนมายังเอเชีย โดยประเทศเหล่านี้ศึกษาตลาดและเลือกที่จะลงทุนในไทยเป็นอันดับต้นๆ เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพ ความพร้อมของประเทศไทย"
นอกจากนี้จากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทไทยและดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักธุรกิจรายย่อยไทย ที่สนใจจะลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์จากสหรัฐฯ จากค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สามารถซื้อไลเซนส์แฟรนไชส์สหรัฐฯ ได้ถูกลงกว่าเมื่อก่อนมาก
การขยายตลาดแฟรนไชส์จากสหรัฐฯในปีนี้ ยังถือเป็นครั้งใหญ่ในรอบหลายปีที่ผ่านมา จากปัจจุบันมีธุรกิจแฟรนไชส์สหรัฐฯในไทยราว 18-20 แบรนด์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ของจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ต่างชาติในไทยที่มีอยู่ราว 15% และที่เหลือ 85% เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ท้องถิ่นในไทย ที่ปัจจุบันตลาดรวมแฟรนไชส์ในไทยมีราว 370 แบรนด์ในธุรกิจทุกประเภท
สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์จากสหรัฐฯ ทั้ง 12 แบรนด์ จะเปิดตัวพร้อมแนะนำให้กับผู้สนใจในงาน ยูเอสเอแฟร์ ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-2 มิถุนายนนี้ เพื่อเปิดโอกาสและจับคู่ทางธุรกิจให้กับพันธมิตรที่สนใจ ขยายการทำตลาดร่วมกัน ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
อย่างไรก็ตาม นอกจากการขยายธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มอาหารเครื่องดื่ม และยานยนต์แล้ว ในอนาคตสหรัฐฯยังมีแผนขยายการลงทุนธุรกิจประเภทอื่นๆ เข้ามาในไทยมากขึ้น จากโอกาสในตลาดเอเชียและอาเซียนที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะไทยที่จะเป็นฮับทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น