วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผุด'จีโอปาร์ก'เชื่อมแหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยา


           สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นปีนี้โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง หรือภาวะฝนทิ้งช่วง มาเกือบทุกปี เช่นเดียวกับปีนี้ที่มีจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเผชิญกับภาวะภัยแล้งแล้ว 22 จังหวัดสร้างความเสียหายต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญๆเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าว ที่มีพื้นที่ปลูกรวม 43.14 ล้านไร่ ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ดังกล่าววิเคราะห์ ของศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KOFC) ระบุว่า จะมีมูลค่าเสียหายถึง 3.5 หมื่นล้านบาท
          นายจารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการ  KOFC อธิบายว่า จากการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ในภาคอีสานและภาคใต้ตอนบน รวม 22 จังหวัด พบว่าจังหวัดที่ประกาศประสบภัยแล้งแล้วมีจำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สกลนคร หนองคาย นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม 
ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ ยโสธร ศรีสะเกษ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และจังหวัดที่ประสบภัยแล้งแต่ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการมี จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร เลย สุรินทร์ อุบลราชธานี
          โดยการวิเคราะห์ พบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 35,502 ล้านบาท โดยเฉพาะสินค้าข้าวที่มีพื้นที่ประสบภัยมากสุดโดยปี 2555 มีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 43.14 ล้านไร่  พืชไร่ 12.85 ล้านไร่ พืชสวน 6.85 ล้านไร่  ซึ่งสถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อพื้นที่และผลผลิตภาคเกษตร  โดยคาดว่าพื้นที่เสียหายรวม 6.11 ล้านไร่ หรือ 4.01% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยเฉพาะข้าว พบว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในภาคอีสานและภาคใต้ตอนบน รวม 6.03 ล้านไร่ 8.39% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ  และมีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 34,884 ล้านบาท หรือ 9.29%ของมูลค่าผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะได้รับปีเพาะปลูก 2555/56
          พืชไร่ มีพื้นที่เสียหายจากภัยแล้งรวม 80,000ไร่ 0.25%ของพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ทั้งประเทศ มูลค่าทั้งสิ้น 494 ล้านบาท หรือ1.04% ของมูลค่าผลผลิตพืชไร่ที่คาดว่าจะได้รับในปีเพาะปลูก 2555/56 และ พืชสวนมีพื้นที่เสียหายจากภัยแล้งรวม 6,000 ล้านไร่ 0.02 %ของพื้นที่เพาะปลูกพืชสวนทั้งประเทศ มีมูลค่าทั้งสิ้น 124 ล้านบาท หรือ 0.08 % ของมูลค่าผลผลิตพืชสวนที่คาดว่าจะ  ได้รับในปีเพาะปลูก2555/2556
          ทั้งนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้น คาดว่าจะผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงรวม 6752 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นข้าว 6647 ล้านบาท พืชไร่ 83 ล้านบาท และพืชสวนและอื่นๆ 21 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคเกษตรในปี 2555คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 3 % จากเดิมที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 5% ทั้งนี้เพราะ สถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภาคเกษตร ประมาณ 1.62 %
          "ข้าวที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากภัยแล้งครั้งนี้ คือข้าวหอมมะลิ ดังนั้นราคาข้าวปี 2556 คาดว่าจะสูงขึ้น จาก2 ปัจจัยคือ ราคาจำนำและปริมาณข้าวลดลง ซึ่งราคาที่สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อสต๊อกข้าวของรัฐบาลที่ระบายออกสู่ตลาดได้ โดยไม่กระทบต่อราคาในประเทศ ขณะที่ปริมาณข้าวที่ลดลงจะไม่มีกระทบต่อการส่งออกข้าว เพราะสต๊อกข้าวมีสูงมาก ยกเว้นนโยบายรัฐที่ต้องการขายข้าวคุณภาพสูง เพื่อให้ได้มูลค่าสูงกว่าจะมีผลกระทบกรณีข้าวปริมาณลดลง" นายจารึก กล่าว
          นายจารึก กล่าวว่า เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น รัฐควรมีนโยบายและมาตรการความช่วยเหลือแก่เกษตรกรเพื่อให้การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ แนวโน้มการตลาดและสถานการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามแผนของที่ประชุมคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ที่กำหนดมาตรการ คือ 1.การจัดสรรน้ำ วางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งมีน้ำสำรองไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูฝน และพืชฤดูแล้งปีถัดไป แผนการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆโดยจัดลำดับความสำคัญเช่น เพื่อการอุปโภค บริโภค และการประปา การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรมและกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น
          2. การวางแผนและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2555/56 มาตรการจำกัดการใช้น้ำแนะนำปลูกพืช ใช้น้ำน้อยแทนนาข้าว โดยต้องนำพื้นที่ประสบภัยแล้งมาวิเคราะห์ว่าปลูกพืชชนิดใดจึงเหมาะสมให้สมดุลกับปริมาณน้ำ วางแผนและการ เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในปี 2555/2556 ทั้งประเทศจำนวน 16 ล้านไร่ แยกเป็น การปลูกข้าวนาปรัง 13 ล้านไร่ แบ่งเป็นในเขตชลประทาน 8 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 5 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผักจะสามารถปลูกได้ทั้งหมด 3 ล้านไร่ เป็นการเพาะปลูกในเขตชลประทาน 1 ล้านไร่ และนอกพื้นที่ชลประทาน 2 ล้านไร่
          3. พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยใช้เงินทดรองราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 และ 4 .การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการพยากรณ์และการแจ้งเตือนภัย และยังมีการเตรียมการเรื่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยและจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย การจัดทำข้อมูลเกษตรกร การจัดทำแผนระดับจังหวัดในขณะเผชิญภัย จะมีการแจ้งเหตุและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้ การบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย
          รวมทั้งประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมปลูกพืชฤดูแล้ง และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปทราบข้อมูลง โดยมีประเด็นในการประชาสัมพันธ์ เช่น สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ รวมทั้งแผนการจัดสรรน้ำของกรมชลประทาน รณรงค์ให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำใน กิจกรรมต่างๆมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติตามแผนหรือรอบเวรการจัดสรรน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้ง และการประชาสัมพันธ์อื่นๆ
          'รัฐควรมีนโยบาย'และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อปลูกพืชช่วงฤดูแล้งมีประสิทธิภาพ'
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น