อสังหาฯอีสานไม่หวั่นฟองสบู่แตกผู้ประกอบการระบุมี
"ดีมานด์จริง" มั่นใจแบงก์ชาติคุมอยู่ เข้มปล่อยสินเชื่อ
ส่วนปัญหาแรงงานหนีทำงานเกษตรใกล้บ้าน เหตุได้ค่าแรงเท่ากัน ส่งผลกระทบส่งมอบคอนโด
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนอย่างคึกคักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคอีสานโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ขอนแก่น อุดรธานี และ นครราชสีมา ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะการเกิดภาวะฟองสบู่ เพราะสถานการณ์เวลานี้แตกต่างจากปี 2540 ที่ภาคอสังหาฯ เติบโตกระจายไปทั่วประเทศเทียบขณะนี้ขยายตัวและเติบโตเฉพาะจุดเท่านั้น แต่ครั้งนี้มีการลงทุนหนาแน่นบางจังหวัด
"ฟองสบู่เป็นการซื้อแบบเก็งกำไร ไม่ใช่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยอย่างแท้จริง แต่กรณีนี้ เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัย เพราะมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น ในภาคอีสานเองมีการลงทุน ซื้อขาย คึกคักในพื้นที่หัวเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ไม่เกิดภาวะฟองสบู่แตกแน่นอน และแบงก์ชาติเองได้ดูแลตลอดเวลาหากพบมีการปล่อยกู้เพื่อลงทุนและปล่อยกู้เพื่อซื้ออสังหาฯ เกินความเป็นจริง ก็อาจต้องมีมาตรการออกมาควบคุม" นายณรงค์ชัยกล่าวและว่า
การซื้อขายอสังหาฯ ต้องกำหนดให้สถาบันการเงินปล่อยกู้น้อยลง แต่ให้ผู้ซื้อนำ"เงินตัวเอง" ซื้อมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกอีกรอบ
นายอภิชาติ สินธุมา ผู้จัดการภูมิภาค บริษัท ซีพีแลนด์ จำกัด กล่าวว่า หากเกิดฟองสบู่ มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ธนาคารที่ปล่อยกู้ ผู้ซื้อ และกลุ่มนายทุนที่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น โดยพิจารณาจากตัวบุคคลเพิ่มขึ้น เพราะผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ จะใช้ทุนส่วนตัวไม่ได้กู้จากสถาบันการเงินมากนัก หรือ กู้เพียงบางส่วน เนื่องจากแบงก์ไม่ปล่อยกู้ 100% เพราะเกรงเกิดปัญหาเอ็นพีแอลเช่นกัน นอกจากนี้ ตัวผู้ซื้อ มีความต้องการจริง ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่หลังจากนั้น น่าจะเป็นความต้องการเทียมมากกว่าหากมีการจองในปีนี้
สำหรับซีพีแลนด์ได้ขยายการลงทุนในหัวเมืองใหญ่ ทั้งขอนแก่น สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี และ นครราชสีมา เพราะมั่นใจในโอกาสการเติบโต ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่ มีความต้องการจริง อาทิ กลุ่มผู้ปกครองที่มีลูกเรียนในมหาวิทยาลัย จะซื้อคอนโดฯ แทนการเช่าบ้าน หรือ เช่าห้องพัก เพราะได้ประโยชน์และคุ้มค่า เก็งกำไรในอนาคตได้ด้วย
แต่สิ่งที่น่าห่วง คือ ปัญหาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้คนงานหางานใกล้บ้าน ไม่อยากทำงานก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะไปทำงานในภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก และอาจทำให้การส่งมอบคอนโดล่าช้า จากกำหนดส่งมอบภายใน 12 เดือน ต้องเลื่อนเป็น 14-15 เดือน รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องการใช้แรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในประเทศได้มากขึ้น
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนอย่างคึกคักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคอีสานโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ขอนแก่น อุดรธานี และ นครราชสีมา ไม่น่าเป็นห่วงว่าจะการเกิดภาวะฟองสบู่ เพราะสถานการณ์เวลานี้แตกต่างจากปี 2540 ที่ภาคอสังหาฯ เติบโตกระจายไปทั่วประเทศเทียบขณะนี้ขยายตัวและเติบโตเฉพาะจุดเท่านั้น แต่ครั้งนี้มีการลงทุนหนาแน่นบางจังหวัด
"ฟองสบู่เป็นการซื้อแบบเก็งกำไร ไม่ใช่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยอย่างแท้จริง แต่กรณีนี้ เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัย เพราะมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น ในภาคอีสานเองมีการลงทุน ซื้อขาย คึกคักในพื้นที่หัวเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ไม่เกิดภาวะฟองสบู่แตกแน่นอน และแบงก์ชาติเองได้ดูแลตลอดเวลาหากพบมีการปล่อยกู้เพื่อลงทุนและปล่อยกู้เพื่อซื้ออสังหาฯ เกินความเป็นจริง ก็อาจต้องมีมาตรการออกมาควบคุม" นายณรงค์ชัยกล่าวและว่า
การซื้อขายอสังหาฯ ต้องกำหนดให้สถาบันการเงินปล่อยกู้น้อยลง แต่ให้ผู้ซื้อนำ"เงินตัวเอง" ซื้อมากขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกอีกรอบ
นายอภิชาติ สินธุมา ผู้จัดการภูมิภาค บริษัท ซีพีแลนด์ จำกัด กล่าวว่า หากเกิดฟองสบู่ มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ธนาคารที่ปล่อยกู้ ผู้ซื้อ และกลุ่มนายทุนที่เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น โดยพิจารณาจากตัวบุคคลเพิ่มขึ้น เพราะผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนส่วนใหญ่ จะใช้ทุนส่วนตัวไม่ได้กู้จากสถาบันการเงินมากนัก หรือ กู้เพียงบางส่วน เนื่องจากแบงก์ไม่ปล่อยกู้ 100% เพราะเกรงเกิดปัญหาเอ็นพีแอลเช่นกัน นอกจากนี้ ตัวผู้ซื้อ มีความต้องการจริง ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่หลังจากนั้น น่าจะเป็นความต้องการเทียมมากกว่าหากมีการจองในปีนี้
สำหรับซีพีแลนด์ได้ขยายการลงทุนในหัวเมืองใหญ่ ทั้งขอนแก่น สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี และ นครราชสีมา เพราะมั่นใจในโอกาสการเติบโต ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่ มีความต้องการจริง อาทิ กลุ่มผู้ปกครองที่มีลูกเรียนในมหาวิทยาลัย จะซื้อคอนโดฯ แทนการเช่าบ้าน หรือ เช่าห้องพัก เพราะได้ประโยชน์และคุ้มค่า เก็งกำไรในอนาคตได้ด้วย
แต่สิ่งที่น่าห่วง คือ ปัญหาค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ทำให้คนงานหางานใกล้บ้าน ไม่อยากทำงานก่อสร้าง ส่วนใหญ่จะไปทำงานในภาคเกษตรมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก และอาจทำให้การส่งมอบคอนโดล่าช้า จากกำหนดส่งมอบภายใน 12 เดือน ต้องเลื่อนเป็น 14-15 เดือน รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขเรื่องการใช้แรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในประเทศได้มากขึ้น
ที่มา :
กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น