พันเอกนาฬิกอติภัค แสงสนิท
ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(อพท.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กับพันธมิตร 2
หน่วยงาน
เพื่อร่วมทำโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่ อพท. รับผิดชอบ
ได้แก่ เอ็มโอยูกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.)
และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
สำหรับการทำเอ็มโอยูกับ สบร. ทำเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่พิเศษที่ อพท. ดูแล จะเน้นพัฒนาศูนย์ความรู้กินได้ โดยเริ่มที่พื้นที่เมืองเก่าน่าน มีระยะเวลาโครงการ 1 ปี ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ความรู้กินได้ที่น่าน เป็นแหล่งข้อมูลพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้ผู้ประกอบการ และชุมชนได้ใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง เพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ส่วนเอ็มโอยูที่ทำร่วมกับ ส.ส.ท. มี 2 ฉบับ เพื่อพัฒนาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวยั่งยืนร่วมกัน ระยะเวลา 1 ปี และร่วมมือกันสนับสนุนโครงการเชียงคานกับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยจะมีหน่วยงานอีก 4 หน่วยงานมาร่วมมือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และ บริษัท จีทีเอช เพื่อผลิตภาพยนตร์สั้น 4 เรื่อง ออกอากาศทางสถานีไทยพีบีเอส เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนในเชียงคาน
ทั้งนี้ปีงบประมาณ 56 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ที่ อพท. จัดตั้งขึ้นมาจะเน้นจับมือกับอีกหลายหน่วยงานเพื่อทำโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จะได้สอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวโลกที่ระบุว่า นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวแบบเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ อพท. จับมือสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (ทีต้า) นำพื้นที่พิเศษ 7 พื้นที่ที่ อพท. ดูแลมาทำเส้นทางท่องเที่ยวที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (โลว์ คาร์บอน) และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สร้างเป็นแพ็กเกจขายนักท่องเที่ยว โดยเริ่มทดสอบเส้นทางปลายปีนี้.
สำหรับการทำเอ็มโอยูกับ สบร. ทำเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่พิเศษที่ อพท. ดูแล จะเน้นพัฒนาศูนย์ความรู้กินได้ โดยเริ่มที่พื้นที่เมืองเก่าน่าน มีระยะเวลาโครงการ 1 ปี ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ความรู้กินได้ที่น่าน เป็นแหล่งข้อมูลพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ให้ผู้ประกอบการ และชุมชนได้ใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถของตัวเอง เพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ส่วนเอ็มโอยูที่ทำร่วมกับ ส.ส.ท. มี 2 ฉบับ เพื่อพัฒนาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวยั่งยืนร่วมกัน ระยะเวลา 1 ปี และร่วมมือกันสนับสนุนโครงการเชียงคานกับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยจะมีหน่วยงานอีก 4 หน่วยงานมาร่วมมือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และ บริษัท จีทีเอช เพื่อผลิตภาพยนตร์สั้น 4 เรื่อง ออกอากาศทางสถานีไทยพีบีเอส เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนในเชียงคาน
ทั้งนี้ปีงบประมาณ 56 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ที่ อพท. จัดตั้งขึ้นมาจะเน้นจับมือกับอีกหลายหน่วยงานเพื่อทำโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จะได้สอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวโลกที่ระบุว่า นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวแบบเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ อพท. จับมือสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (ทีต้า) นำพื้นที่พิเศษ 7 พื้นที่ที่ อพท. ดูแลมาทำเส้นทางท่องเที่ยวที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ (โลว์ คาร์บอน) และเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สร้างเป็นแพ็กเกจขายนักท่องเที่ยว โดยเริ่มทดสอบเส้นทางปลายปีนี้.
ที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น