ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นเดินหน้าในการพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก
เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ ระบบบริหารจัดการที่ดี
โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีมีระบบ ประหยัดพลังงานที่ดี ทั้งนี้
การพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของผู้บริหาร โดยมีเป้าหมายที่จะให้ลดค่าใช้จ่ายของการใช้พลังงาน
บุคลากรได้ตระหนักและรับรู้ในเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัด
และเกิดการพัฒนาเทคนิควิธี นวัตกรรมที่มาจากการค้นคว้าวิจัย
และความรู้ความสามารถของบุคลากร
สำหรับโครงการติดตั้งระบบแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการออกแบบติดตั้งโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัย
ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลงานที่มีความเหมาะสม ตรงตามความต้องการในการใช้งาน
มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดซื้อจากบริษัทจะไม่สามารถกำหนดรูปแบบที่ต้องการได้
นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงถึงศักยภาพในเชิงพัฒนาของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
ผศ.ดร.ชำนาญ กล่าวต่อว่า ระบบแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีการติดตั้งดำเนินการไปแล้วที่ริมบึงสีฐาน จำนวน 10 ชุด ขณะนี้สามารถใช้งานได้แล้ว เป็นระบบแสงสว่างที่สะดวกในการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ซึ่งโครงการนี้จะเป็นเพียงการเริ่มต้นในการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยจะมีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบเพิ่มเติมและนำไปติดตั้งในบริเวณอื่นๆ ต่อไป อีกทั้งจะเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรผู้พัฒนาโครงการ ด้วยการไปอบรมในเรื่องโซล่าเซลล์ และเรื่องอื่นๆ ต่อไป ส่วนนวัตกรรมด้านพลังงานที่น่าจะพัฒนาเองได้อีกส่วนหนึ่ง คือกังหันลมที่กำลังทำการศึกษาอยู่
นายชัยนิยม สินทร หัวหน้าชุดพัฒนาโครงการ กล่าวว่า ตามที่ฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานได้มอบหมายให้ งานจัดการพลังงานและนวัตกรรม กองอาคารและสถานที่ ได้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยนายชัยนิยม สินทร หัวหน้าชุดพัฒนาโครงการ พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต.มงคล ผุยน้อย และ นายมณฑล สังทะสิทธิ์ ศึกษาและออกแบบสร้างเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 ชุด ติดตั้ง ณ ถนนลานลอยกระทงบึงสีฐาน เพื่อเป็นการทดแทนพลังงานหลัก การพัฒนาระบบ คณะทำงานได้ออกแบบและสร้างในลักษณะเป็นนวัตกรรมและความคงทนต่อสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เมื่อเทียบกับเหล็กชนิดเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังสามารถปรับมุมได้ตามสภาวะของมุมดวงอาทิตย์ ในการดำเนินการนี้ ทางหน่วยงานได้ออกแบบเสาให้มีความแข็งแรงด้วยเหล็กเสาเคลือบสังกะสีเพื่อกันสนิม ขนาด 4 นิ้ว และมีความสูงของเสา 5 เมตร และชุดโครงสร้างรับแผงสามารถปรับมุมได้ไม่น้อยกว่า 35 องศา ด้วยสกรู และโครงแผงนี้สามารถปรับหมุนปรับทิศทางการรับแสง ได้ 360 องศา ส่วนกิ่งโคมได้ออกแบบใช้เหล็กเหลี่ยมทำมุม 35 องศา และสามารถหมุนรอบตัวเองได้ไม่น้อยกว่า 200 องศา เพื่อปรับทิศทางของแสงสว่างได้ ในการติดตั้งนี้ ใช้แผงขนาด 100 วัตต์ และใช้หลอดให้แสงสว่างด้วยหลอดแบบ LED ขนาด 24 วัตต์ (Lighting LED 24W) ใช้แบตเตอรี่ขนาด 100 แอมป์ เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ได้คัดเลือกวัสดุที่มีระบบควบคุมการชาร์จและการเปิด-ปิด ไฟฟ้าด้วยระบบ Automatic สำหรับการใช้งานของเสาแต่ละต้น
ผศ.ดร.ชำนาญ กล่าวต่อว่า ระบบแสงสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีการติดตั้งดำเนินการไปแล้วที่ริมบึงสีฐาน จำนวน 10 ชุด ขณะนี้สามารถใช้งานได้แล้ว เป็นระบบแสงสว่างที่สะดวกในการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ซึ่งโครงการนี้จะเป็นเพียงการเริ่มต้นในการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยจะมีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบเพิ่มเติมและนำไปติดตั้งในบริเวณอื่นๆ ต่อไป อีกทั้งจะเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรผู้พัฒนาโครงการ ด้วยการไปอบรมในเรื่องโซล่าเซลล์ และเรื่องอื่นๆ ต่อไป ส่วนนวัตกรรมด้านพลังงานที่น่าจะพัฒนาเองได้อีกส่วนหนึ่ง คือกังหันลมที่กำลังทำการศึกษาอยู่
นายชัยนิยม สินทร หัวหน้าชุดพัฒนาโครงการ กล่าวว่า ตามที่ฝ่ายพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานได้มอบหมายให้ งานจัดการพลังงานและนวัตกรรม กองอาคารและสถานที่ ได้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยนายชัยนิยม สินทร หัวหน้าชุดพัฒนาโครงการ พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต.มงคล ผุยน้อย และ นายมณฑล สังทะสิทธิ์ ศึกษาและออกแบบสร้างเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 ชุด ติดตั้ง ณ ถนนลานลอยกระทงบึงสีฐาน เพื่อเป็นการทดแทนพลังงานหลัก การพัฒนาระบบ คณะทำงานได้ออกแบบและสร้างในลักษณะเป็นนวัตกรรมและความคงทนต่อสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด เมื่อเทียบกับเหล็กชนิดเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังสามารถปรับมุมได้ตามสภาวะของมุมดวงอาทิตย์ ในการดำเนินการนี้ ทางหน่วยงานได้ออกแบบเสาให้มีความแข็งแรงด้วยเหล็กเสาเคลือบสังกะสีเพื่อกันสนิม ขนาด 4 นิ้ว และมีความสูงของเสา 5 เมตร และชุดโครงสร้างรับแผงสามารถปรับมุมได้ไม่น้อยกว่า 35 องศา ด้วยสกรู และโครงแผงนี้สามารถปรับหมุนปรับทิศทางการรับแสง ได้ 360 องศา ส่วนกิ่งโคมได้ออกแบบใช้เหล็กเหลี่ยมทำมุม 35 องศา และสามารถหมุนรอบตัวเองได้ไม่น้อยกว่า 200 องศา เพื่อปรับทิศทางของแสงสว่างได้ ในการติดตั้งนี้ ใช้แผงขนาด 100 วัตต์ และใช้หลอดให้แสงสว่างด้วยหลอดแบบ LED ขนาด 24 วัตต์ (Lighting LED 24W) ใช้แบตเตอรี่ขนาด 100 แอมป์ เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ได้คัดเลือกวัสดุที่มีระบบควบคุมการชาร์จและการเปิด-ปิด ไฟฟ้าด้วยระบบ Automatic สำหรับการใช้งานของเสาแต่ละต้น
ที่มา : บ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น