นางธนิฏฐา เศวตศิลามณีโชติ
รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดเผยว่า กระทรวงได้ใช้งบประมาณ 40 ล้านบาท
จัดทำโครงการประชุมสัมมนาตลาดท่องเที่ยวในประชาคมอาเซียน (เออีซี)
ไทยได้อะไรจากอาชีพบริการ Mutual Recognition Arrangement Tourism
Professionals (MRA) 32 ตำแหน่งงาน
ให้กับผู้ประกอบการทัวร์สถาบันการศึกษา ผู้ที่อยู่ในวงการท่องเที่ยว
มีความรู้ความเข้าใจถึงกรอบการพัฒนาอาชีพการบริการ 32 ตำแหน่งงาน
ให้ตรงตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
กำหนดไว้ นำร่องที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นกระจายไป 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ
รวม 9 จังหวัด เช่นจ.เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่นเป็นต้น
การดำเนินงานดังกล่าว ได้ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรเช่น พนักงานแผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้านแผนกอาหาร แยกย่อยความรู้ความสามารถในแต่ละประเภท ซึ่งแนวทางการจัดทำมาตรฐานของไทย มีค่าการชี้วัดที่สูงกว่ามาตรฐานเออีซี เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้บุคลากรไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือและคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) แรงงานคุณภาพด้านบริการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน
ขณะนี้กระทรวงได้เริ่มเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรแล้วเสร็จรวม 2 หลักสูตร คือหลักสูตรในสาขาหัวหน้างานดูแลห้องพักและพนักงานดูแลห้องพัก จัดทำเป็นหลักสูตร e-Learnning ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาฝึกอบรม
ด้าน น.ส.ลดา ภู่มาศ นักการทูตชำนาญการ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า จุดอ่อนของแรงงานไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทย คือ การศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรในเชิงปริมาณแต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ตลอดจนค่านิยมในการเลือกเรียนของตัวผู้เรียน หรือครอบครัว คนใกล้ชิด ผู้สนับสนุน ไม่สัมพันธ์กับตลาดแรงงานในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเข้าไปช่วย ตั้งแต่การปลูกฝังและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้วิธีคิดของเยาวชนไทยได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงให้มากขึ้นและเพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศก่อนการเปิดเออีซี ในวันที่ 31 ธ.ค. 2558
การดำเนินงานดังกล่าว ได้ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรเช่น พนักงานแผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้านแผนกอาหาร แยกย่อยความรู้ความสามารถในแต่ละประเภท ซึ่งแนวทางการจัดทำมาตรฐานของไทย มีค่าการชี้วัดที่สูงกว่ามาตรฐานเออีซี เนื่องจากต้องการส่งเสริมให้บุคลากรไทยเป็นแรงงานที่มีฝีมือและคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) แรงงานคุณภาพด้านบริการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน
ขณะนี้กระทรวงได้เริ่มเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรแล้วเสร็จรวม 2 หลักสูตร คือหลักสูตรในสาขาหัวหน้างานดูแลห้องพักและพนักงานดูแลห้องพัก จัดทำเป็นหลักสูตร e-Learnning ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาฝึกอบรม
ด้าน น.ส.ลดา ภู่มาศ นักการทูตชำนาญการ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า จุดอ่อนของแรงงานไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทย คือ การศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อการผลิตบุคลากรในเชิงปริมาณแต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ตลอดจนค่านิยมในการเลือกเรียนของตัวผู้เรียน หรือครอบครัว คนใกล้ชิด ผู้สนับสนุน ไม่สัมพันธ์กับตลาดแรงงานในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเข้าไปช่วย ตั้งแต่การปลูกฝังและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้วิธีคิดของเยาวชนไทยได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงให้มากขึ้นและเพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศก่อนการเปิดเออีซี ในวันที่ 31 ธ.ค. 2558
ที่มา
: โพสต์ทูเดย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น