"ปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในภาพรวมลดลงจากอันดับที่27
เป็น30 จากการประเมินในปีที่ผ่านมาหากเทียบกับขีดการแข่งขันประเทศรอบ
ๆด้านปรากฏว่าไทยจัดอยู่ในอันดับที่49 โดยประเทศมาเลเซียจัดอยู่ในอันดับที่26
อินโดนีเซียอันดับที่ 56"
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดประเด็นในฐานะที่เป็นองค์ปาฐกบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ"เปิดแผนลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน"ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ที่โรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพมหานครโดยลงรายละอียดน่าสนใจว่า รัฐบาลโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนองรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานสามารถยืนหยัดด้วยตนเองจากการระดมทุนภายในประเทศโดยไม่ต้องไปกู้เงินต่างประเทศมาดำเนินการจึงดำเนินการตามพ.ร.บ.การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายใต้งบ2.2 ล้านล้านบาทโดยการระดมทุนในต่างประเทศเป็นหลัก
โดยรัฐบาลได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไว้ 5 ด้านด้วยกัน คือ 1.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ2. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ 3.การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ 4.การพัฒนาระบบการประกันภัย และ5.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปตามที่กำหนดไว้
สำหรับเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับเออีซีที่ในภูมิภาคอาเซียนนั้นปัจจุบันมีประชากรรวมกันประมาณ669 ล้านคน คิดเป็น 9% ของประชากรโลกส่วนไทยมีประมาณ69 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังมีความวิตกว่าการจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั้นขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายเรื่องการศึกษา ระบบขนส่ง ใบขับขี่ น้ำหนักรถบรรทุก รวมถึงมิติแห่งความคิดและจิตวิญญาณของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ร่วมกันเป็นหนึ่งได้หรือยัง
ดันเส้นทางเชื่อมโยงเมืองหลวง 3 ประเทศ
ดังนั้นจึงเร่งผลักดันเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศเพื่อเสริมสร้างความเป็นฮับทางการบินของภูมิภาคอีกทั้งยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำเพื่อเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาคนี้ ส่วนทางบกในแนวอีสต์-เวสต์คอร์ริดอร์ยังต้องเร่งผลักดันโดยเฉพาะแนว 2 เส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองหลวงของ 3 ประเทศคือฮานอย-พนมเปญ-ไทย ได้แก่เส้นทางจากโฮจิมินห์-ไซ่ง่อน-พนมเปญ มุ่งสู่ทวายและเส้นทางเมืองดานังของเวียดนาม ผ่านสุวรรณเขต-มุกดาหาร-ขอนแก่น-แม่สอดตาก ออกสู่เมืองมะละแหม่งของพม่า อีกทั้งยังให้ความสำคัญเส้นทางเลียบทะเลผ่านปอยเปตซึ่งปี2556 จะให้เชื่อมโยงไทยผ่านเจดีย์ 3 องค์ออกสู่ประเทศพม่าโดยเร่งวางแผนจัดงบประมาณเร่งดำเนินการต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีถนนเพื่อการขนส่งทางบกประมาณ2 แสนกิโลเมตรโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมประมาณ 1 แสนกิโลเมตร ภายใต้การดำเนินการของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทในส่วนที่เหลือเป็นความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปัจจุบันยังได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการบริหารจัดการที่ดีจึงต้องเร่งให้เห็นถึงความสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น อีกทั้งกระทรวงคมนาคมยังมีแผนยกระดับการบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกทั้ง6 แห่งให้เกิดประสิทธิภาพและเร่งขยายศักยภาพ พร้อมกับมีแผนเร่งพัฒนาจุดคอขวดช่วงมอเตอร์เวย์สาย 7 ให้เพิ่มเป็น 14 ช่องและเร่งดำเนินการด้านการขยายเส้นทางรถไฟเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มอีก 6 รางเพื่อประโยชน์ด้านการขนส่งสินค้าออกสู่ทางทะเล
มุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP
นอกจากนั้นยังมุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อGDPที่ในปี2553 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมูลค่าประมาณ1.64 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.2 ของ GDP ต้นทุนการขนส่งสินค้ามีมูลค่าสูงถึง 47.2% หรือร้อยละ 7.2 ต่อGDP โดยกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบต้นทุน 7.2% ต่อGDP ซึ่งปัจจุบันการขนส่งภายในประเทศยังใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักมากกว่า82.6% ทางราง2.2% ทางชายฝั่งทะเล 5.7% ทางน้ำในประเทศ 9.5% และทางอากาศ 0.02%
โดยได้เร่งเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางจากเดิม 2.5% ให้เป็น 5% ในกรอบเวลา 5 ปี และ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็น10% การเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำจากเดิม 15% ให้เป็น 18% กรอบเวลา 5 ปีและใน 10 ปีเพิ่มเป็น 20% พร้อมกับการปรับทางถนนให้เป็นฟีดเดอร์ และการพัฒนารถไฟทางคู่
ส่วนเป้าหมายหลักการพัฒนาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งเพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ได้1.8 บาทต่อตันต่อกิโลเมตรการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยโดยรวม6%โดยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้ได้5% ทางน้ำ10.5%ทางชายฝั่ง 7.5% เพิ่มปริมาณผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า60 ล้านคน มูลค่าประหยัดเวลาการขนส่งไม่น้อยกว่า500 ล้านบาทต่อปี ลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง1.5 แสนล้านบาท/ปี และการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งสินค้าในภาพรวม 900 ล้านตันต่อปี จาก 700 ล้านตันต่อปี
ประการสำคัญยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะเบอร์1 ขององค์กรนั้นๆ เพื่อทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ทางด้านการบริหารจัดการการสร้างแรงจูงใจที่จะต้องมีการประเมิน ล่าสุดยังเร่งเดินหน้าก่อสร้างสุวรรณภูมิเฟส2 พร้อมกับการสร้างรันเวย์ที่3 และ 4 เพิ่มซึ่งตามแผนสามารถรองรับได้100 ล้านคนต่อปี จึงต้องเริ่มวางแผนรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้พร้อมกับการเร่งสอบถามความเห็นสายการบินต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนพัฒนาในระยะต่อไป
พร้อมผลักดันกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
กระทรวงคมนาคมยังคงมุ่งเน้นการให้บริการด้านการขนส่งสาธารณะ ขนคนมากกว่าขนรถด้วยระบบรางในโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ไฮสปีดเทรน 4 เส้นทางรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มอเตอร์เวย์ 5 เส้นทาง ให้เป็นไปตามโรดแมปภายในระยะเวลา 4-5 ปีข้างหน้าโดยเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านศักยภาพจราจรและยังเป็นทางเลือกในการเดินทางให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.โลจิสติกส์โดยรัฐบาลลงทุนด้านการเวนคืน ควบคุมการจัดเก็บและบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนแล้วนำงบประมาณที่ได้กลับมาพัฒนาโครงข่ายให้ดีขึ้นหรือนำไปลงทุนในโครงการใหม่ต่อไป ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวนั้นรัฐบาลมีแผนจะก่อตั้งกองทุนเพื่อนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามาร่วมลงทุนให้มากขึ้นโดยรัฐบาลรับประกันความเสี่ยง พร้อมกับการเพิ่มกำลังขยายกองทุนให้เพียงพอต่อไป
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดประเด็นในฐานะที่เป็นองค์ปาฐกบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ"เปิดแผนลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน"ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ที่โรงแรมดุสิตธานีกรุงเทพมหานครโดยลงรายละอียดน่าสนใจว่า รัฐบาลโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนองรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานสามารถยืนหยัดด้วยตนเองจากการระดมทุนภายในประเทศโดยไม่ต้องไปกู้เงินต่างประเทศมาดำเนินการจึงดำเนินการตามพ.ร.บ.การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายใต้งบ2.2 ล้านล้านบาทโดยการระดมทุนในต่างประเทศเป็นหลัก
โดยรัฐบาลได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไว้ 5 ด้านด้วยกัน คือ 1.การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ2. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ 3.การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ 4.การพัฒนาระบบการประกันภัย และ5.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปตามที่กำหนดไว้
สำหรับเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจและประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรองรับเออีซีที่ในภูมิภาคอาเซียนนั้นปัจจุบันมีประชากรรวมกันประมาณ669 ล้านคน คิดเป็น 9% ของประชากรโลกส่วนไทยมีประมาณ69 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังมีความวิตกว่าการจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั้นขณะนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายเรื่องการศึกษา ระบบขนส่ง ใบขับขี่ น้ำหนักรถบรรทุก รวมถึงมิติแห่งความคิดและจิตวิญญาณของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ร่วมกันเป็นหนึ่งได้หรือยัง
ดันเส้นทางเชื่อมโยงเมืองหลวง 3 ประเทศ
ดังนั้นจึงเร่งผลักดันเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศเพื่อเสริมสร้างความเป็นฮับทางการบินของภูมิภาคอีกทั้งยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำเพื่อเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาคนี้ ส่วนทางบกในแนวอีสต์-เวสต์คอร์ริดอร์ยังต้องเร่งผลักดันโดยเฉพาะแนว 2 เส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองหลวงของ 3 ประเทศคือฮานอย-พนมเปญ-ไทย ได้แก่เส้นทางจากโฮจิมินห์-ไซ่ง่อน-พนมเปญ มุ่งสู่ทวายและเส้นทางเมืองดานังของเวียดนาม ผ่านสุวรรณเขต-มุกดาหาร-ขอนแก่น-แม่สอดตาก ออกสู่เมืองมะละแหม่งของพม่า อีกทั้งยังให้ความสำคัญเส้นทางเลียบทะเลผ่านปอยเปตซึ่งปี2556 จะให้เชื่อมโยงไทยผ่านเจดีย์ 3 องค์ออกสู่ประเทศพม่าโดยเร่งวางแผนจัดงบประมาณเร่งดำเนินการต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทยมีถนนเพื่อการขนส่งทางบกประมาณ2 แสนกิโลเมตรโดยอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมประมาณ 1 แสนกิโลเมตร ภายใต้การดำเนินการของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทในส่วนที่เหลือเป็นความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปัจจุบันยังได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการบริหารจัดการที่ดีจึงต้องเร่งให้เห็นถึงความสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น อีกทั้งกระทรวงคมนาคมยังมีแผนยกระดับการบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกทั้ง6 แห่งให้เกิดประสิทธิภาพและเร่งขยายศักยภาพ พร้อมกับมีแผนเร่งพัฒนาจุดคอขวดช่วงมอเตอร์เวย์สาย 7 ให้เพิ่มเป็น 14 ช่องและเร่งดำเนินการด้านการขยายเส้นทางรถไฟเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังเพิ่มอีก 6 รางเพื่อประโยชน์ด้านการขนส่งสินค้าออกสู่ทางทะเล
มุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP
นอกจากนั้นยังมุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อGDPที่ในปี2553 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมูลค่าประมาณ1.64 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.2 ของ GDP ต้นทุนการขนส่งสินค้ามีมูลค่าสูงถึง 47.2% หรือร้อยละ 7.2 ต่อGDP โดยกระทรวงคมนาคมรับผิดชอบต้นทุน 7.2% ต่อGDP ซึ่งปัจจุบันการขนส่งภายในประเทศยังใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักมากกว่า82.6% ทางราง2.2% ทางชายฝั่งทะเล 5.7% ทางน้ำในประเทศ 9.5% และทางอากาศ 0.02%
โดยได้เร่งเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางจากเดิม 2.5% ให้เป็น 5% ในกรอบเวลา 5 ปี และ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็น10% การเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำจากเดิม 15% ให้เป็น 18% กรอบเวลา 5 ปีและใน 10 ปีเพิ่มเป็น 20% พร้อมกับการปรับทางถนนให้เป็นฟีดเดอร์ และการพัฒนารถไฟทางคู่
ส่วนเป้าหมายหลักการพัฒนาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งเพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ได้1.8 บาทต่อตันต่อกิโลเมตรการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยโดยรวม6%โดยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้ได้5% ทางน้ำ10.5%ทางชายฝั่ง 7.5% เพิ่มปริมาณผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า60 ล้านคน มูลค่าประหยัดเวลาการขนส่งไม่น้อยกว่า500 ล้านบาทต่อปี ลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง1.5 แสนล้านบาท/ปี และการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งสินค้าในภาพรวม 900 ล้านตันต่อปี จาก 700 ล้านตันต่อปี
ประการสำคัญยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะเบอร์1 ขององค์กรนั้นๆ เพื่อทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ทางด้านการบริหารจัดการการสร้างแรงจูงใจที่จะต้องมีการประเมิน ล่าสุดยังเร่งเดินหน้าก่อสร้างสุวรรณภูมิเฟส2 พร้อมกับการสร้างรันเวย์ที่3 และ 4 เพิ่มซึ่งตามแผนสามารถรองรับได้100 ล้านคนต่อปี จึงต้องเริ่มวางแผนรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้พร้อมกับการเร่งสอบถามความเห็นสายการบินต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนพัฒนาในระยะต่อไป
พร้อมผลักดันกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน
กระทรวงคมนาคมยังคงมุ่งเน้นการให้บริการด้านการขนส่งสาธารณะ ขนคนมากกว่าขนรถด้วยระบบรางในโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ไฮสปีดเทรน 4 เส้นทางรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มอเตอร์เวย์ 5 เส้นทาง ให้เป็นไปตามโรดแมปภายในระยะเวลา 4-5 ปีข้างหน้าโดยเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านศักยภาพจราจรและยังเป็นทางเลือกในการเดินทางให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.โลจิสติกส์โดยรัฐบาลลงทุนด้านการเวนคืน ควบคุมการจัดเก็บและบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนแล้วนำงบประมาณที่ได้กลับมาพัฒนาโครงข่ายให้ดีขึ้นหรือนำไปลงทุนในโครงการใหม่ต่อไป ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการโครงการดังกล่าวนั้นรัฐบาลมีแผนจะก่อตั้งกองทุนเพื่อนำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามาร่วมลงทุนให้มากขึ้นโดยรัฐบาลรับประกันความเสี่ยง พร้อมกับการเพิ่มกำลังขยายกองทุนให้เพียงพอต่อไป
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น