รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
และ บริษัทบางกอกแลป แอนด์ คอสเมติก จำกัด
ได้ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ "พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ" โดยเป็นผลงานวิจัยคุณภาพดีอีกชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรมได้โดยตรง
สำหรับพริกพันธุ์อัคนีพิโรธที่ รองศาสตราจารย์สุชีลา เตชะวงค์เสถียร
คณะเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัยนั้น
ได้เริ่มมีการรวบรวมพันธุ์พ่อแม่มาตั้งแต่ปี 2550 และเริ่มสร้างลูกผสมในปี
2553 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับจากการสนับสนุนทุนจากหลายฝ่าย
ทั้งจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปรับปรุงพันธุ์จนกระทั่งได้เป็นลูกผสมที่มีลักษณะดี
คือ มีความเผ็ดสูงมากกว่า 500,000 สโคว์วิลล์ (SHU) อีกทั้งยังมีความทนทานต่อโรคแอนแทรกโนส
ซึ่งได้ยื่นจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ต่อกรมวิชาการเกษตรเรียบร้อยแล้ว
ที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พริกยอดสนเข็ม 80 ขึ้น และได้อนุญาตให้บริษัทบางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด นำพันธุ์ไปปลูกเพื่อสกัดสาร capsaicin ผสมในผลิตภัณฑ์ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยมาแล้ว แต่คณะผู้วิจัยก็ยังพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โดยการสร้างสายพันธุ์ลูกผสม"พริกอัคนีพิโรธ" ซึ่งมีสาร capsaicin ที่สูงมากกว่าพริกยอดสนเข็ม 80 ถึง 10 เท่า ซึ่งผลงานชิ้นที่สองนี้ได้ให้สิทธิแก่บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์คออสเมติค จำกัด นำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกเช่นเดียวกัน นับว่าเป็นผลสำเร็จในอีกขั้นหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้ทุน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลงานวิจัย และบริษัทซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย
อธิการบดี ม.ขอนแก่น กล่าวอีกว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้วางเป้าหมาย มุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศ ด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่สร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สร้างระบบพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย คู่ขนานไปกับการสร้างทรัพยากรเพื่อรองรับการพัฒนางานวิจัยซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การบริการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชีลา เตชะวงค์เสถียร หัวหน้าคณะผู้วิจัย ได้กล่าวถึง การพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ดของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและแนะนำพริกพันธุ์อัคนีพิโรธ ว่า สารเผ็ดของพริกหรือแคปไซซิน (Capsaicin) มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นการขับเสมหะทำให้หายใจสะดวกขึ้น และยังมีส่วนช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้ จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในทางยาและเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามพริกที่ชาวบ้านปลูกทั่วไปนั้นมีความเผ็ดไม่คงที่อีกทั้งผลผลิตต่ำ จึงได้พัฒนาพันธุ์พริกให้มีความเผ็ดและผลผลิตสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยา และได้พริกพันธุ์"ยอดสนเข็ม 80" ที่มีความเผ็ดสูงและคงที่ 80,000 สโคว์วิลล์ (SHU) มีผลผลิตประมาณ 3,000 กก./ไร่ ซึ่งได้มีการลงนามอนุญาตให้บริษัท บางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด นำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยไปเมื่อปี 2552
สำหรับ พริกลูกผสม "อัคนีพิโรธ" ที่เกิดจากพริกพันธุ์พิโรธ (Bhut Jolokia) ซึ่งเป็นพริกที่มีรายงานว่าเผ็ดที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่ง โดยพริกลูกผสม"อัคนีพิโรธ" เป็นพืชกึ่งยืนต้น สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายฤดู มีความเผ็ดสูงเป็น 10 เท่าของพริกจินดามากกว่า 500,000 สโคว์วิลล์ (SHU) มีผลผลิตพริกสดสูงประมาณ 3,600 กก./ไร่ (เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง) หรือพริกแห้งของพันธุ์อัคนีพิโรธประมาณ 32 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสารเผ็ดประมาณ 1 กิโลกรัมต่างจากพริกพันธุ์จินดา ที่ต้องใช้พริกแห้งถึง 616 กิโลกรัม นอกจากนั้นยังสามารถปรับตัวได้ดีกว่าและให้ผลผลิตสูงกว่าพริกพิโรธพันธุ์เดิม รวมทั้งทนทานต่อโรคแอนแทรกโนส ขณะนี้บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด ได้นำตัวอย่างพริกแห้ง"อัคนีพิโรธ" ไปทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยในสูตรใหม่ และจะได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อไป
ที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พริกยอดสนเข็ม 80 ขึ้น และได้อนุญาตให้บริษัทบางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด นำพันธุ์ไปปลูกเพื่อสกัดสาร capsaicin ผสมในผลิตภัณฑ์ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยมาแล้ว แต่คณะผู้วิจัยก็ยังพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โดยการสร้างสายพันธุ์ลูกผสม"พริกอัคนีพิโรธ" ซึ่งมีสาร capsaicin ที่สูงมากกว่าพริกยอดสนเข็ม 80 ถึง 10 เท่า ซึ่งผลงานชิ้นที่สองนี้ได้ให้สิทธิแก่บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์คออสเมติค จำกัด นำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยอีกเช่นเดียวกัน นับว่าเป็นผลสำเร็จในอีกขั้นหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้ทุน คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลงานวิจัย และบริษัทซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย
อธิการบดี ม.ขอนแก่น กล่าวอีกว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้วางเป้าหมาย มุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศ ด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่สร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยนอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สร้างระบบพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัย คู่ขนานไปกับการสร้างทรัพยากรเพื่อรองรับการพัฒนางานวิจัยซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การบริการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความสอดคล้อง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชีลา เตชะวงค์เสถียร หัวหน้าคณะผู้วิจัย ได้กล่าวถึง การพัฒนาพันธุ์พริกเผ็ดของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและแนะนำพริกพันธุ์อัคนีพิโรธ ว่า สารเผ็ดของพริกหรือแคปไซซิน (Capsaicin) มีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นการขับเสมหะทำให้หายใจสะดวกขึ้น และยังมีส่วนช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้ จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในทางยาและเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามพริกที่ชาวบ้านปลูกทั่วไปนั้นมีความเผ็ดไม่คงที่อีกทั้งผลผลิตต่ำ จึงได้พัฒนาพันธุ์พริกให้มีความเผ็ดและผลผลิตสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยา และได้พริกพันธุ์"ยอดสนเข็ม 80" ที่มีความเผ็ดสูงและคงที่ 80,000 สโคว์วิลล์ (SHU) มีผลผลิตประมาณ 3,000 กก./ไร่ ซึ่งได้มีการลงนามอนุญาตให้บริษัท บางกอกแล็ปแอนด์ คอสเมติค จำกัด นำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยไปเมื่อปี 2552
สำหรับ พริกลูกผสม "อัคนีพิโรธ" ที่เกิดจากพริกพันธุ์พิโรธ (Bhut Jolokia) ซึ่งเป็นพริกที่มีรายงานว่าเผ็ดที่สุดในโลกพันธุ์หนึ่ง โดยพริกลูกผสม"อัคนีพิโรธ" เป็นพืชกึ่งยืนต้น สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายฤดู มีความเผ็ดสูงเป็น 10 เท่าของพริกจินดามากกว่า 500,000 สโคว์วิลล์ (SHU) มีผลผลิตพริกสดสูงประมาณ 3,600 กก./ไร่ (เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง) หรือพริกแห้งของพันธุ์อัคนีพิโรธประมาณ 32 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสารเผ็ดประมาณ 1 กิโลกรัมต่างจากพริกพันธุ์จินดา ที่ต้องใช้พริกแห้งถึง 616 กิโลกรัม นอกจากนั้นยังสามารถปรับตัวได้ดีกว่าและให้ผลผลิตสูงกว่าพริกพิโรธพันธุ์เดิม รวมทั้งทนทานต่อโรคแอนแทรกโนส ขณะนี้บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด ได้นำตัวอย่างพริกแห้ง"อัคนีพิโรธ" ไปทดลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวดเมื่อยในสูตรใหม่ และจะได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อไป
ที่มา : พิมพ์ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น