น้ำตาลเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
โดยเราเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ติด1 ใน 3 ของโลก
ในช่วงรอยต่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ราคาน้ำตาลไทยอาจต้องใช้ระบบ..ลอยตัว
เนื่องจากปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำตาลในเมืองไทยไม่ได้อิงกับราคาตลาดโลกเพราะฉะนั้นไม่ว่าราคาตลาดโลกจะขึ้นหรือลงก็ไม่ส่งผลกระทบต่อกระเป๋าคนไทยเรายังซื้อน้ำตาลตามราคาควบคุมคือกิโลกรัมละ 22.30-23.30 บาท
แต่เมื่อเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี การใช้ระบบควบคุมจะส่งผลกระทบต่อน้ำตาลไทยทั้งขึ้นทั้งล่องคือหากราคาในตลาดโลกตกต่ำ ราคาขายปลีกในเมืองไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะมีการลักลอบนำเข้าน้ำตาลมาขายในเมืองไทย ในขณะเดียวกันหากราคาขายในประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่าเมืองไทย ก็จะมีการลักลอบขนน้ำตาลในโควตาก. ซึ่งเป็นน้ำตาลสำหรับบริโภคในประเทศออกไปขายในตลาดเพื่อนบ้าน
ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำเสนอว่าถึงเวลาหรือยังที่ไทยจะลอยตัวราคาน้ำตาลให้เป็นราคาเดียวกับตลาดโลก เพื่อป้องกันการลักลอบส่งออกหรือนำเข้า
แต่ประเด็นที่ต้องขบคิดคือหากลอยตัวราคาน้ำตาลแล้วจะกระทบต่อชาวไร่อ้อยหรือเปล่า จะมีการนำเงินไปอุดหนุนชาวไร่อ้อยในช่วงราคาตกต่ำเหมือนระบบเดิมหรือเปล่า ซึ่งระบบเดิมนั้นกำหนดสูตรส่วนแบ่งรายได้ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงาน 70-30 คืออ้อยที่ขายไปในตลาดชาวไร่อ้อยจะได้ส่วนแบ่ง 70% โรงงาน30% โดยจะมีการประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ด้วยการคำนวณปัจจัยรอบด้านทั้งราคาตลาดโลก อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ถ้าราคาอ้อยขั้นต้นสูงในระดับที่ชาวไร่อ้อยรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายก็จะต้องหาเงินไปชดเชยส่วนต่างนั้น เช่นราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 56/57 ราคา950 บาทต่อตันอ้อย ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต200 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่1,150-1,200 บาท กองทุนอ้อยฯ จะต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ไปชดเชยให้ชาวไร่อ้อยตันละ 200 บาทเป็นอย่างต่ำ หากมีอ้อยเข้าสู่ระบบ 100 ล้านตัน ต้องใช้เงินสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท
เมื่อกองทุนอ้อยฯ กู้เงินมาแล้วก็มีภาระต้องหาเงินไปคืน ธ.ก.ส. ปัจจุบันเงินจำนวนนี้ได้มาจากส่วนแบ่งน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 5 บาทที่ประกาศขึ้นราคาสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จากกิโลกรัมละ 18 บาทเป็น 23 บาท หากเปลี่ยนมาใช้ระบบลอยตัวราคาน้ำตาล เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ต้องใช้เงินงบประมาณของประเทศ หากงบประมาณมีปัญหาเงินอาจไม่ถึงมือชาวไร่อ้อย ก็จะกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งระบบ
นายบัญชา คันธชมภู รองผู้อำนวยการสำนักกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่าอีกไม่ถึง 2 ปีประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับราคาน้ำตาลให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก ซึ่งวันนี้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยครั้ง โดยจะเปลี่ยนระบบการค้าน้ำตาลจากการควบคุมราคามาเป็นการลอยตัวราคา แต่ยังติดปัญหาว่าถ้าเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัวจะมีส่วนแบ่งเข้าสู่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเท่าไหร่ เพราะกองทุนก็มีภาระต้องอุดหนุนชาวไร่อ้อยทุกปี ปัจจุบันแม้สถานะกองทุนจะดีขึ้นมาบ้างโดยมีหนี้ลดจาก 1.6 หมื่นล้านบาท เหลือ 8 พันล้านบาท แต่ก็อาจต้องกู้เงินล็อตใหม่อีก เพื่อจ่ายชดเชยราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลใหม่ให้กับชาวไร่อ้อย
สอดคล้องกับนายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.น้ำตาลขอนแก่นที่ยอมรับว่าการลอยตัวราคาน้ำตาลต้องคุยกันอีกมาก เพื่อไม่ให้กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไร่อ้อย ในส่วนของโรงงานน้ำตาลเองก็แทบไม่มีกำไรจากการขายน้ำตาล โชคดีที่มีอ้อยเข้าสู่ระบบจำนวนมากจึงไม่เจ็บตัว
ด้านนายสิริวุทธิ์ เสียมภักดีประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ทีมงานของ ไทยชูการ์ มิลเลอร์ได้สำรวจข้อมูลราคาน้ำตาลทรายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานการค้าในประเทศต่างๆ ประกอบกับข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และเทรดเดอร์น้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก โดยเทียบเป็นสกุลเงินบาท พบว่า น้ำตาลทรายของไทยมีราคาขายปลีกต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยน้ำตาลทรายขาวมีราคาขายปลีกต่อกิโลกรัม อยู่ที่ 22.60 บาท น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 23.60 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ประเทศลาวและกัมพูชา มีราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาว 30-33 บาทต่อกิโลกรัม พม่า 30.01 บาท เวียดนาม 25.50-28.50 บาท มาเลเซีย 25.87 บาทอินโดนีเซีย 33.95 บาท สิงคโปร์ 40.35 บาท ฟิลิปปินส์ 41.20 บาท นอกจากนี้ประเทศที่ต้องบริโภคน้ำตาลทรายในราคาสูงกว่าไทย ได้แก่ ประเทศจีนกิโลกรัมละ 57.09-77.85 บาท ญี่ปุ่น66.90 บาท เกาหลีใต้ 49.50 บาท ออสเตรเลีย 59.75 บาท
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า จากราคาขายปลีกน้ำตาลทรายของไทยที่ต่ำที่สุดดังกล่าว ทำให้มีความกังวลว่า เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ซึ่งมีความเสรีในการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น หากไทยยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายในเรื่องนี้ ปัญหาการลักลอบนำน้ำตาลทรายในประเทศไปขายต่างประเทศจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น อันจะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลทรายที่กันโควตา ก. ไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัดกล่าวด้วยว่าการนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้ ก็เพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ได้เร่งหาทางป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ โดยมีหลักคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดการขาดแคลนของน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคภายในประเทศ และผลตอบแทนที่ชาวไร่อ้อยจะได้รับในสัดส่วน70% ของรายได้จากการขายน้ำตาลทรายจะต้องคุ้มค่ากับต้นทุนด้านการเพาะปลูก และมีกำไรส่วนต่างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้อาชีพชาวไร่อ้อยเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
เนื่องจากปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำตาลในเมืองไทยไม่ได้อิงกับราคาตลาดโลกเพราะฉะนั้นไม่ว่าราคาตลาดโลกจะขึ้นหรือลงก็ไม่ส่งผลกระทบต่อกระเป๋าคนไทยเรายังซื้อน้ำตาลตามราคาควบคุมคือกิโลกรัมละ 22.30-23.30 บาท
แต่เมื่อเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี การใช้ระบบควบคุมจะส่งผลกระทบต่อน้ำตาลไทยทั้งขึ้นทั้งล่องคือหากราคาในตลาดโลกตกต่ำ ราคาขายปลีกในเมืองไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะมีการลักลอบนำเข้าน้ำตาลมาขายในเมืองไทย ในขณะเดียวกันหากราคาขายในประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่าเมืองไทย ก็จะมีการลักลอบขนน้ำตาลในโควตาก. ซึ่งเป็นน้ำตาลสำหรับบริโภคในประเทศออกไปขายในตลาดเพื่อนบ้าน
ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำเสนอว่าถึงเวลาหรือยังที่ไทยจะลอยตัวราคาน้ำตาลให้เป็นราคาเดียวกับตลาดโลก เพื่อป้องกันการลักลอบส่งออกหรือนำเข้า
แต่ประเด็นที่ต้องขบคิดคือหากลอยตัวราคาน้ำตาลแล้วจะกระทบต่อชาวไร่อ้อยหรือเปล่า จะมีการนำเงินไปอุดหนุนชาวไร่อ้อยในช่วงราคาตกต่ำเหมือนระบบเดิมหรือเปล่า ซึ่งระบบเดิมนั้นกำหนดสูตรส่วนแบ่งรายได้ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงาน 70-30 คืออ้อยที่ขายไปในตลาดชาวไร่อ้อยจะได้ส่วนแบ่ง 70% โรงงาน30% โดยจะมีการประกาศราคาอ้อยขั้นต้น ด้วยการคำนวณปัจจัยรอบด้านทั้งราคาตลาดโลก อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ถ้าราคาอ้อยขั้นต้นสูงในระดับที่ชาวไร่อ้อยรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายก็จะต้องหาเงินไปชดเชยส่วนต่างนั้น เช่นราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 56/57 ราคา950 บาทต่อตันอ้อย ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต200 บาท เนื่องจากต้นทุนการผลิตอยู่ที่1,150-1,200 บาท กองทุนอ้อยฯ จะต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ไปชดเชยให้ชาวไร่อ้อยตันละ 200 บาทเป็นอย่างต่ำ หากมีอ้อยเข้าสู่ระบบ 100 ล้านตัน ต้องใช้เงินสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท
เมื่อกองทุนอ้อยฯ กู้เงินมาแล้วก็มีภาระต้องหาเงินไปคืน ธ.ก.ส. ปัจจุบันเงินจำนวนนี้ได้มาจากส่วนแบ่งน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 5 บาทที่ประกาศขึ้นราคาสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จากกิโลกรัมละ 18 บาทเป็น 23 บาท หากเปลี่ยนมาใช้ระบบลอยตัวราคาน้ำตาล เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ต้องใช้เงินงบประมาณของประเทศ หากงบประมาณมีปัญหาเงินอาจไม่ถึงมือชาวไร่อ้อย ก็จะกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งระบบ
นายบัญชา คันธชมภู รองผู้อำนวยการสำนักกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่าอีกไม่ถึง 2 ปีประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับราคาน้ำตาลให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก ซึ่งวันนี้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้บ่อยครั้ง โดยจะเปลี่ยนระบบการค้าน้ำตาลจากการควบคุมราคามาเป็นการลอยตัวราคา แต่ยังติดปัญหาว่าถ้าเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัวจะมีส่วนแบ่งเข้าสู่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเท่าไหร่ เพราะกองทุนก็มีภาระต้องอุดหนุนชาวไร่อ้อยทุกปี ปัจจุบันแม้สถานะกองทุนจะดีขึ้นมาบ้างโดยมีหนี้ลดจาก 1.6 หมื่นล้านบาท เหลือ 8 พันล้านบาท แต่ก็อาจต้องกู้เงินล็อตใหม่อีก เพื่อจ่ายชดเชยราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลใหม่ให้กับชาวไร่อ้อย
สอดคล้องกับนายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.น้ำตาลขอนแก่นที่ยอมรับว่าการลอยตัวราคาน้ำตาลต้องคุยกันอีกมาก เพื่อไม่ให้กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไร่อ้อย ในส่วนของโรงงานน้ำตาลเองก็แทบไม่มีกำไรจากการขายน้ำตาล โชคดีที่มีอ้อยเข้าสู่ระบบจำนวนมากจึงไม่เจ็บตัว
ด้านนายสิริวุทธิ์ เสียมภักดีประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ทีมงานของ ไทยชูการ์ มิลเลอร์ได้สำรวจข้อมูลราคาน้ำตาลทรายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เน้นกลุ่มประเทศอาเซียน โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานการค้าในประเทศต่างๆ ประกอบกับข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และเทรดเดอร์น้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก โดยเทียบเป็นสกุลเงินบาท พบว่า น้ำตาลทรายของไทยมีราคาขายปลีกต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยน้ำตาลทรายขาวมีราคาขายปลีกต่อกิโลกรัม อยู่ที่ 22.60 บาท น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 23.60 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ประเทศลาวและกัมพูชา มีราคาขายปลีกน้ำตาลทรายขาว 30-33 บาทต่อกิโลกรัม พม่า 30.01 บาท เวียดนาม 25.50-28.50 บาท มาเลเซีย 25.87 บาทอินโดนีเซีย 33.95 บาท สิงคโปร์ 40.35 บาท ฟิลิปปินส์ 41.20 บาท นอกจากนี้ประเทศที่ต้องบริโภคน้ำตาลทรายในราคาสูงกว่าไทย ได้แก่ ประเทศจีนกิโลกรัมละ 57.09-77.85 บาท ญี่ปุ่น66.90 บาท เกาหลีใต้ 49.50 บาท ออสเตรเลีย 59.75 บาท
นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่า จากราคาขายปลีกน้ำตาลทรายของไทยที่ต่ำที่สุดดังกล่าว ทำให้มีความกังวลว่า เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ซึ่งมีความเสรีในการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น หากไทยยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายในเรื่องนี้ ปัญหาการลักลอบนำน้ำตาลทรายในประเทศไปขายต่างประเทศจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น อันจะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลทรายที่กันโควตา ก. ไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัดกล่าวด้วยว่าการนำเสนอข้อมูลเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้ ก็เพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ได้เร่งหาทางป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ โดยมีหลักคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดการขาดแคลนของน้ำตาลทรายที่ใช้บริโภคภายในประเทศ และผลตอบแทนที่ชาวไร่อ้อยจะได้รับในสัดส่วน70% ของรายได้จากการขายน้ำตาลทรายจะต้องคุ้มค่ากับต้นทุนด้านการเพาะปลูก และมีกำไรส่วนต่างที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อให้อาชีพชาวไร่อ้อยเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง
ที่มา : สยามธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น