ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน
เผย 3จี และการเข้าสู่ AEC ปัจจัยกระตุ้นธุรกิจไอทีไทยให้เติบโตขึ้นชี้ด้านฮาร์ดแวร์
กระแสโมบาย ดีไวซ์ โดยเฉพาะแท็บเลตมาแรง ขณะที่ซอฟต์
แวร์โมบายแอพพลิเคชันเติบโตขึ้นมูลค่าแตะ 1 พันล้าน
ดร.มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนฯ องค์กรให้คำปรึกษา และวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่าปัจจัยการเข้าสู่ยุคของ 3จี และการเข้าสู่ AEC ของประเทศไทย ทำให้เกิดแนวโน้มของการเติบโตด้านไอทีใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ฮาร์ดแวร์ ตัวที่น่าจับตามองคือ โมบาย ดีไวซ์ (Mobile Devices) โดยเฉพาะแท็บเลต ด้วยราคาที่ถูกลง และทางเลือกมากมายของอุปกรณ์ ตลอดจนการขยายโครงข่าย 3จี ของผู้ให้บริการ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยให้ mobile devices โดยเฉพาะแท็บเลตมียอดการเติบโตทั่วโลกพุ่งกว่า 76% จากปีที่แล้ว
ในขณะที่ปี 2556 คาดว่าแท็บเลตจะมีอัตราการเติบโตจะเป็น 2 เท่า ของปีที่ผ่านมา และเทียบเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ส่วนด้านซอฟต์แวร์ (Software) ธุรกิจโมบายแอพพลิเคชัน ทั้งคอนเทนต์ และแอพพลิเคชันต่างๆ มีการเติบโตขึ้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้งาน โดยเดิมอาจมองว่า แอพพลิเคชันเป็นของฟรี แต่ขณะนี้ผู้ใช้งานเริ่มมีการยอมรับ ในเรื่องการเรียกเก็บค่าบริการ ที่เป็นคอนเทนต์มากขึ้น โดยจะมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนโมบาย แอพพลิเคชัน ที่มีทั้งหมดในตลาดอีกเกือบ 50% จากปีที่แล้ว คิดเป็นจำนวนทั้งหมดประมาณ 2,000 แอพพลิเคชัน ภายในสิ้นปี 2556 โดยจะช่วยผลักดันยอดมูลค่าตลาดรวมให้ไปถึง 1 พันล้านบาท
ขณะที่การมี 3จี ทำให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์มาใช้มากขึ้น การเตรียมพร้อมสู่ AEC ในภาคธุรกิจก็ทำให้มีการนำซอฟต์แวร์ประเภทการจัดการองค์กรมาใช้มากขึ้น สืบเนื่องจากการที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมสำหรับ AEC จึงต้องมีการจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการนำระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร หรืออีอาร์พี และซอฟต์แวร์ประเภทวิเคราะห์ธุรกิจ (Analytics) เข้ามาใช้งาน ในขณะเดียวกันไทยเป็นแหล่งเอาต์ซอร์ซซิ่ง ซอฟต์แวร์ หลักแห่งหนึ่งในเอเชียดังนั้นทั้งปัจจัยด้าน 3 จี และ AEC จะสามารถดันตลาดซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตไปถึง 1 หมื่นล้านบาท ภายในสิ้นปี 2556
ส่วนบริการ (Service) ด้านคลาวด์ และดาต้าเซ็นเตอร์นั้น การเกิด บริการ 3จี จะทำให้มีการใช้งานโมบายมากขึ้นในขณะที่มีโมบายแอพพลิเคชันใหม่ๆ เกิดขึ้นดังนั้นความต้อง การในด้านโครงสร้างพื้นฐานจึงตามมา และเมื่อถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยเรื่อง AEC ความต้องการของธุรกิจก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน จึงไว้สำหรับการสำรองข้อมูลเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างเต็มที่ ดังนั้นอัตราการเติบโตของคลาวด์ในปีนี้จึงไม่มากเท่าที่ควร แต่ภายในปีหน้า คาดว่าจะโตขึ้นจากปีนี้อีก 30% ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ดร.มนธ์สินี กีรติไกรนนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัทฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนฯ องค์กรให้คำปรึกษา และวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่าปัจจัยการเข้าสู่ยุคของ 3จี และการเข้าสู่ AEC ของประเทศไทย ทำให้เกิดแนวโน้มของการเติบโตด้านไอทีใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. ฮาร์ดแวร์ ตัวที่น่าจับตามองคือ โมบาย ดีไวซ์ (Mobile Devices) โดยเฉพาะแท็บเลต ด้วยราคาที่ถูกลง และทางเลือกมากมายของอุปกรณ์ ตลอดจนการขยายโครงข่าย 3จี ของผู้ให้บริการ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปัจจัยให้ mobile devices โดยเฉพาะแท็บเลตมียอดการเติบโตทั่วโลกพุ่งกว่า 76% จากปีที่แล้ว
ในขณะที่ปี 2556 คาดว่าแท็บเลตจะมีอัตราการเติบโตจะเป็น 2 เท่า ของปีที่ผ่านมา และเทียบเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ส่วนด้านซอฟต์แวร์ (Software) ธุรกิจโมบายแอพพลิเคชัน ทั้งคอนเทนต์ และแอพพลิเคชันต่างๆ มีการเติบโตขึ้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ใช้งาน โดยเดิมอาจมองว่า แอพพลิเคชันเป็นของฟรี แต่ขณะนี้ผู้ใช้งานเริ่มมีการยอมรับ ในเรื่องการเรียกเก็บค่าบริการ ที่เป็นคอนเทนต์มากขึ้น โดยจะมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนโมบาย แอพพลิเคชัน ที่มีทั้งหมดในตลาดอีกเกือบ 50% จากปีที่แล้ว คิดเป็นจำนวนทั้งหมดประมาณ 2,000 แอพพลิเคชัน ภายในสิ้นปี 2556 โดยจะช่วยผลักดันยอดมูลค่าตลาดรวมให้ไปถึง 1 พันล้านบาท
ขณะที่การมี 3จี ทำให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์มาใช้มากขึ้น การเตรียมพร้อมสู่ AEC ในภาคธุรกิจก็ทำให้มีการนำซอฟต์แวร์ประเภทการจัดการองค์กรมาใช้มากขึ้น สืบเนื่องจากการที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมสำหรับ AEC จึงต้องมีการจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการนำระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร หรืออีอาร์พี และซอฟต์แวร์ประเภทวิเคราะห์ธุรกิจ (Analytics) เข้ามาใช้งาน ในขณะเดียวกันไทยเป็นแหล่งเอาต์ซอร์ซซิ่ง ซอฟต์แวร์ หลักแห่งหนึ่งในเอเชียดังนั้นทั้งปัจจัยด้าน 3 จี และ AEC จะสามารถดันตลาดซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตไปถึง 1 หมื่นล้านบาท ภายในสิ้นปี 2556
ส่วนบริการ (Service) ด้านคลาวด์ และดาต้าเซ็นเตอร์นั้น การเกิด บริการ 3จี จะทำให้มีการใช้งานโมบายมากขึ้นในขณะที่มีโมบายแอพพลิเคชันใหม่ๆ เกิดขึ้นดังนั้นความต้อง การในด้านโครงสร้างพื้นฐานจึงตามมา และเมื่อถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยเรื่อง AEC ความต้องการของธุรกิจก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นการใช้คลาวด์ในปัจจุบัน จึงไว้สำหรับการสำรองข้อมูลเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์อย่างเต็มที่ ดังนั้นอัตราการเติบโตของคลาวด์ในปีนี้จึงไม่มากเท่าที่ควร แต่ภายในปีหน้า คาดว่าจะโตขึ้นจากปีนี้อีก 30% ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น