ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน
คณะวิทยาการจัดการ มข. เผยผลวิจัยโอกาสการลงทุนอาเซียน
หวังให้นักลงทุนไทยใช้เป็นข้อมูลสู่ความสำเร็จของธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยกองสื่อสารองค์กร ร่วมกับ กองบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
จัดแถลงข่าวผลงานวิจัยเด่นของสถาบัน กิจกรรม”นักวิจัยพบสื่อมวลชน”
เรื่อง การศึกษาวิจัยศักยภาพพื้นที่ระดับประเทศของกลุ่มอาเซียน
โดยเฉพาะ ไทย ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ และ กัมพูชา โดยทีมนักวิจัยของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน
( E-San Center For Business and Economic Research : ECBER) คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่
21 มกราคม 2556 เวลา 11.00 น.ที่อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย มีรศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับสื่อมวลชน โดยผู้แถลงข่าวประกอบด้วย รศ.ดร. กัลปพฤกษ์
ผิวทองงาม ผศ.ดร. ก่อพงษ์ พลโยราช ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์
อาจารย์ ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
พร้อมผู้มีเกียรติที่ร่วมงาน นาย วิฑูรย์ กมลนฤเมธ ประธานสภาอุตสาหกรรม
นาย เขมชาติ สมใจวงศ์ เลขาธิการหอการค้า
รศ.ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มข. กล่าวว่า โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนจาก สกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นโครงการเร่งรัดของภาครัฐ ซึ่งภาครัฐต้องการที่หาข้อมูลให้กับนักธุรกิจก่อนที่จะเข้า AEC กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้จะเป็นนักธุรกิจ ซึ่งได้ประโยชน์จากโครงการนี้คือ สามารถมองเปรียบเทียบได้ว่า อุตสาหกรรมไหนมีความได้เปรียบ อุตสาหกรรมไหนมีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อบ้านอยู่แล้ว อุตสาหกรรมไหนเป็นคู่แข่งกัน ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยตัดสินใจได้ว่าถ้าเขาจะไปลงทุน หรือจะทำความร่วมมือ จะทำการแข่งขันเขาจะต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในเว็บไซด์ เพราะฉะนั้นการลงทุนในการวิจัยครั้งนี้ของภาครัฐจะไม่หายไป เพราะฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซด์ เพียงใส่ข้อมูลเข้าไปจะทำให้ดูข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง นักธุรกิจก็จะสามารถใช้ตัดสินใจได้เลย
การศึกษาวิจัยศักยภาพพื้นที่ระดับประเทศของกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะ ไทย ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ และ กัมพูชา โดยทีมนักวิจัยประกอบด้วย รศ.ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม รศ.อนงค์นุช เทียนทอง ผศ.ดร. ก่อพงษ์ พลโยราช อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ อาจารย์ ดร. ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย อาจารย์ ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์ ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจตลาด สำรวจคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ทูตพาณิชย์ นักธุรกิจไทย นักธุรกิจท้องถิ่น ที่อยู่ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างโปรแกรมสำหรับการสืบค้นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการแข่งขันทางการตลาด ไว้ให้บริการนักลงทุน ที่สนใจทำธุรกิจต่างๆ ใน 5 ประเทศ ได้ค้นหาข้อมูลประกอบการลงทุน อีกด้วย
ผศ.ดร. ก่อพงษ์ พลโยราช ภาควิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีมนักวิจัย ที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจสภาพตลาด และการลงทุนในประเทศลาว และกัมพูชาอาจารย์ได้กล่าวถึงธุรกิจที่น่าลงทุนในลาว ว่า ประเทศลาวเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับเรา ธุรกิจที่น่าสนใจอย่างแรกเลยคือธุรกิจของร้านอาหารไทย สไตล์โมเดิล เพราะว่าทางคนลาวเอง มีลักษณะการเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ธุรกิจต่อมาที่น่าสนใจก็คือธุรกิจเกี่ยวกับด้านการสื่อสาร ซึ่งทางลาวเองมีตลาดความก้าวหน้าตลาดทางด้านนี้ค่อนข้างสูง ธุรกิจถัดมาก็คือธุรกิจเกี่ยวกับการค้าวัสดุก่อสร้าง แบบครบวงจร และได้มาตรฐาน ประเทศลาวเองมีการก่อสร้างเกิดขึ้นมาก อีกธุรกิจหนึ่งที่ผมอยากเสริมก็คือ ธุรกิจผู้ค้าส่งสินค้าให้ โรงแรม และ ร้านอาหาร เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้ต้องข้ามเข้ามาซื้อสินค้าที่ประเทศไทย ที่กัมพูชาเอง ก็มีธุรกิจหลายตัวที่น่าสนใจ ธุรกิจแรกก็คือร้านอาหาร สไตล์โมเดิล ต่อมาก็เกี่ยวกับปั้มน้ำมันและก็คาร์แคร์ เพราะที่กัมพูชามีรถจักรยายนต์ และรถยนต์ค่อนข้างมาก ธุรกิจปั้มน้ำมันและคาร์แคร์แบบครบวงจร ที่ได้มาตรฐาน ยังไม่มีที่กัมพูชา อีกธุรกิจหนึ่ง ก็คือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อันนี้น่าสนใจทั้งของลาวและกัมพูชาเลย เพราะว่าแหล่งท่องเที่ยวเขามีมาก และก็อยู่ในช่วงของการพัฒนา และรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ก็พร้อมให้การสนับสนุน
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมนักวิจัย ที่กล่าวถึงธุรกิจที่น่าลงทุนในเมืองกวางโจว จีนตอนใต้ ว่า เมืองกวางโจวเป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากเซียงไฮ้และปักกิ่ง ข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในแถบประเทศจีนตอนใต้ก็คือ เราพบว่ามันเป็นการยากมากที่นักลงทุนไทย จะตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเพราะว่า อย่างที่เราทราบกันว่านักลงทุนจีนเขามีเงินลงทุนเยอะและมีสายป่านที่ยาว เพราะฉะนั้นการเข้าไปทำธุรกิจในจีนก็จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีลู่ทาง ที่เราพอเจาะเข้าไปได้ ที่อยากจะแนะนำก็คือธุรกิจการนำเข้าสินค้าในประเทศจีน เพื่อที่เราจะทำหน้าที่เป็นตัวกระจายสินค้า ให้กับประเทศจีน ก็อย่างที่เราทราบกันว่า สินค้าของเขาค่อนข้างมีราคาถูก และก็มีให้เลือกหลากหลาย เพราะฉะนั้นการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างเช่น ของที่ระลึก กิ๊ฟช๊อบ มันก็จะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยในการทำธุรกิจเหล่านี้ นอกจากนี้ธุรกิจที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือเรื่องการเข้าไปทำธุรกิจร้านอาหาร สไตล์โมเดิล เพราะว่าเราจะพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น จากสถิติเพิ่มขึ้น จาก 1.7 ล้านคะ เป็น 2.5 ล้านคน สถิติในปี 2554 - 2555 เพราะฉะนั้นคนจีนจะคุ้นเคยกับรสชาติอาหารไทยมากขึ้น เพราะฉะนั้นธุรกิจตรงนี้ก็จะเป็นธุรกิจค่อนข้างมีโอกาส นอกจากนี้ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม แฟชั่น ระดับคุณภาพ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งของนักลงทุนชาวไทย เพราะว่า จากสถิติพบว่าสินค้าเหล่านี้ นะครับ มีการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นอันดับ 5 สินค้าไทยที่นำเข้าไปขายในจีน คนจีนค่อนข้างที่จะให้ความเชื่อถือ ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
นอกจากเมืองกวงโจว แล้ว ดร.สุทินและทีมงานยังได้ไปที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งพบโอกาสในการลงทุนกิจหลายประเทศ เช่น การให้บริการเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งด้านโครงข่าย หรือ ตัวสินค้าโทรศัพท์เอง ซึ่งลักษณะของคนสมัยใหม่ ที่เวียดนามเขาจะนิยมใช้มือถือ และรถมอเตอร์ไซด์มาก จากสถิติพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่มี การเปิดการใช้งานในประเทศเวียดนาม มีมากถึง 110 ล้าน เลขหมาย เทียบกับจำนวนประชากรมีเพียง 90 ล้านคน สำหรับสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซด์ เช่น คาร์แคร์ อุปกรณ์ตกแต่ง อุปกรณ์เสริม รถมอเตอร์ไซด์ ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าจะไปได้สวย เพราะนักวิจัยพบสถิติที่น่าสนใจอีกเช่นกัน นั้นคือจำนวนมอเตอร์ไซด์ในประเทศเวียดนาม มีถึง 24 ล้านคัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคัน
อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ หนึ่งในทีมวิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ขึ้น โดยกล่าวว่าจุดเด่นของโปรแกรมว่าเป็นการพัฒนารูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย สำหรับนักลงทุนในทุกระดับ มีรายละเอียดข้อมูลจำนวน 9,000 รายการที่แยกย่อยลงไปถึงประเภทสินค้า แสดงทั้งในส่วนของศักยภาพ โครงสร้าง นโยบายการส่งเสริมการลงทุน ที่สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและการแข่งขันที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ และยังมีข้อมูลของประเทศในอาเซียนที่ไม่มีปรากฏในสารสนเทศอื่นๆ ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจ
ทีมนักวิจัยก็ได้ฝากถึงข้อห่วงใยไปยังนักธุรกิจที่เพิ่งจะเข้าไปลงทุนในกลุ่ม 5 ประเทศ ว่าจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบ การค้าขาย ข้อกฎหมายต้องศึกษาให้ชัดเจน และการหาคู่ค้า ที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการศึกษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในแต่ละประเทศก็ไม่ควรมองข้าม ที่มา : http://www.kku.ac.th/news/2013/January/%E0%B8%A1%E0%B8%82.%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.php
รศ.ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มข. กล่าวว่า โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนจาก สกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นโครงการเร่งรัดของภาครัฐ ซึ่งภาครัฐต้องการที่หาข้อมูลให้กับนักธุรกิจก่อนที่จะเข้า AEC กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้จะเป็นนักธุรกิจ ซึ่งได้ประโยชน์จากโครงการนี้คือ สามารถมองเปรียบเทียบได้ว่า อุตสาหกรรมไหนมีความได้เปรียบ อุตสาหกรรมไหนมีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อบ้านอยู่แล้ว อุตสาหกรรมไหนเป็นคู่แข่งกัน ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยตัดสินใจได้ว่าถ้าเขาจะไปลงทุน หรือจะทำความร่วมมือ จะทำการแข่งขันเขาจะต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในเว็บไซด์ เพราะฉะนั้นการลงทุนในการวิจัยครั้งนี้ของภาครัฐจะไม่หายไป เพราะฐานข้อมูลอยู่ในเว็บไซด์ เพียงใส่ข้อมูลเข้าไปจะทำให้ดูข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง นักธุรกิจก็จะสามารถใช้ตัดสินใจได้เลย
การศึกษาวิจัยศักยภาพพื้นที่ระดับประเทศของกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะ ไทย ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ และ กัมพูชา โดยทีมนักวิจัยประกอบด้วย รศ.ดร. กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม รศ.อนงค์นุช เทียนทอง ผศ.ดร. ก่อพงษ์ พลโยราช อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ อาจารย์ ดร. ภูมิสิทธิ์ มหาสุวีระชัย อาจารย์ ดร. สุทิน เวียนวิวัฒน์ ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจตลาด สำรวจคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ทูตพาณิชย์ นักธุรกิจไทย นักธุรกิจท้องถิ่น ที่อยู่ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ยังได้มีการสร้างโปรแกรมสำหรับการสืบค้นข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการแข่งขันทางการตลาด ไว้ให้บริการนักลงทุน ที่สนใจทำธุรกิจต่างๆ ใน 5 ประเทศ ได้ค้นหาข้อมูลประกอบการลงทุน อีกด้วย
ผศ.ดร. ก่อพงษ์ พลโยราช ภาควิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีมนักวิจัย ที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจสภาพตลาด และการลงทุนในประเทศลาว และกัมพูชาอาจารย์ได้กล่าวถึงธุรกิจที่น่าลงทุนในลาว ว่า ประเทศลาวเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับเรา ธุรกิจที่น่าสนใจอย่างแรกเลยคือธุรกิจของร้านอาหารไทย สไตล์โมเดิล เพราะว่าทางคนลาวเอง มีลักษณะการเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ธุรกิจต่อมาที่น่าสนใจก็คือธุรกิจเกี่ยวกับด้านการสื่อสาร ซึ่งทางลาวเองมีตลาดความก้าวหน้าตลาดทางด้านนี้ค่อนข้างสูง ธุรกิจถัดมาก็คือธุรกิจเกี่ยวกับการค้าวัสดุก่อสร้าง แบบครบวงจร และได้มาตรฐาน ประเทศลาวเองมีการก่อสร้างเกิดขึ้นมาก อีกธุรกิจหนึ่งที่ผมอยากเสริมก็คือ ธุรกิจผู้ค้าส่งสินค้าให้ โรงแรม และ ร้านอาหาร เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานเหล่านี้ต้องข้ามเข้ามาซื้อสินค้าที่ประเทศไทย ที่กัมพูชาเอง ก็มีธุรกิจหลายตัวที่น่าสนใจ ธุรกิจแรกก็คือร้านอาหาร สไตล์โมเดิล ต่อมาก็เกี่ยวกับปั้มน้ำมันและก็คาร์แคร์ เพราะที่กัมพูชามีรถจักรยายนต์ และรถยนต์ค่อนข้างมาก ธุรกิจปั้มน้ำมันและคาร์แคร์แบบครบวงจร ที่ได้มาตรฐาน ยังไม่มีที่กัมพูชา อีกธุรกิจหนึ่ง ก็คือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อันนี้น่าสนใจทั้งของลาวและกัมพูชาเลย เพราะว่าแหล่งท่องเที่ยวเขามีมาก และก็อยู่ในช่วงของการพัฒนา และรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ก็พร้อมให้การสนับสนุน
ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในทีมนักวิจัย ที่กล่าวถึงธุรกิจที่น่าลงทุนในเมืองกวางโจว จีนตอนใต้ ว่า เมืองกวางโจวเป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากเซียงไฮ้และปักกิ่ง ข้อมูลที่สำคัญสำหรับนักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในแถบประเทศจีนตอนใต้ก็คือ เราพบว่ามันเป็นการยากมากที่นักลงทุนไทย จะตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าเพราะว่า อย่างที่เราทราบกันว่านักลงทุนจีนเขามีเงินลงทุนเยอะและมีสายป่านที่ยาว เพราะฉะนั้นการเข้าไปทำธุรกิจในจีนก็จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีลู่ทาง ที่เราพอเจาะเข้าไปได้ ที่อยากจะแนะนำก็คือธุรกิจการนำเข้าสินค้าในประเทศจีน เพื่อที่เราจะทำหน้าที่เป็นตัวกระจายสินค้า ให้กับประเทศจีน ก็อย่างที่เราทราบกันว่า สินค้าของเขาค่อนข้างมีราคาถูก และก็มีให้เลือกหลากหลาย เพราะฉะนั้นการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างเช่น ของที่ระลึก กิ๊ฟช๊อบ มันก็จะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยในการทำธุรกิจเหล่านี้ นอกจากนี้ธุรกิจที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือเรื่องการเข้าไปทำธุรกิจร้านอาหาร สไตล์โมเดิล เพราะว่าเราจะพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น จากสถิติเพิ่มขึ้น จาก 1.7 ล้านคะ เป็น 2.5 ล้านคน สถิติในปี 2554 - 2555 เพราะฉะนั้นคนจีนจะคุ้นเคยกับรสชาติอาหารไทยมากขึ้น เพราะฉะนั้นธุรกิจตรงนี้ก็จะเป็นธุรกิจค่อนข้างมีโอกาส นอกจากนี้ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม แฟชั่น ระดับคุณภาพ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งของนักลงทุนชาวไทย เพราะว่า จากสถิติพบว่าสินค้าเหล่านี้ นะครับ มีการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นอันดับ 5 สินค้าไทยที่นำเข้าไปขายในจีน คนจีนค่อนข้างที่จะให้ความเชื่อถือ ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
นอกจากเมืองกวงโจว แล้ว ดร.สุทินและทีมงานยังได้ไปที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งพบโอกาสในการลงทุนกิจหลายประเทศ เช่น การให้บริการเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งด้านโครงข่าย หรือ ตัวสินค้าโทรศัพท์เอง ซึ่งลักษณะของคนสมัยใหม่ ที่เวียดนามเขาจะนิยมใช้มือถือ และรถมอเตอร์ไซด์มาก จากสถิติพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่มี การเปิดการใช้งานในประเทศเวียดนาม มีมากถึง 110 ล้าน เลขหมาย เทียบกับจำนวนประชากรมีเพียง 90 ล้านคน สำหรับสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซด์ เช่น คาร์แคร์ อุปกรณ์ตกแต่ง อุปกรณ์เสริม รถมอเตอร์ไซด์ ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าจะไปได้สวย เพราะนักวิจัยพบสถิติที่น่าสนใจอีกเช่นกัน นั้นคือจำนวนมอเตอร์ไซด์ในประเทศเวียดนาม มีถึง 24 ล้านคัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคัน
อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ หนึ่งในทีมวิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ขึ้น โดยกล่าวว่าจุดเด่นของโปรแกรมว่าเป็นการพัฒนารูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย สำหรับนักลงทุนในทุกระดับ มีรายละเอียดข้อมูลจำนวน 9,000 รายการที่แยกย่อยลงไปถึงประเภทสินค้า แสดงทั้งในส่วนของศักยภาพ โครงสร้าง นโยบายการส่งเสริมการลงทุน ที่สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและการแข่งขันที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ และยังมีข้อมูลของประเทศในอาเซียนที่ไม่มีปรากฏในสารสนเทศอื่นๆ ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจ
ทีมนักวิจัยก็ได้ฝากถึงข้อห่วงใยไปยังนักธุรกิจที่เพิ่งจะเข้าไปลงทุนในกลุ่ม 5 ประเทศ ว่าจะเป็นเรื่องของกฎระเบียบ การค้าขาย ข้อกฎหมายต้องศึกษาให้ชัดเจน และการหาคู่ค้า ที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงการศึกษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในแต่ละประเทศก็ไม่ควรมองข้าม ที่มา : http://www.kku.ac.th/news/2013/January/%E0%B8%A1%E0%B8%82.%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น