ใกล้เข้ามากับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ "AEC"
ที่จะมีการเปิดเสรีการค้าการลงทุนกันระหว่าง 10 ชาติสมาชิกอาเซียน ซึ่งแต่ละชาติมีบริษัทยักษ์ใหญ่จากสาขาธุรกิจที่น่าจับตามองจำนวนไม่น้อย
โดยทีมข่าวประชาชาติธุรกิจได้รวบรวมมาดังนี้
"ปิโตรนาส (Petronas-Petroliam Nasional Berhad)" บริษัทภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งธุรกิจ หลักได้แก่ การขุดเจาะ สำรวจ พัฒนาและผลิต กลั่นน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติจากทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี ทั้งยังมีบริการขนส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ LNG และน้ำมันดิบอีกด้วย
ล่าสุดจากการจัดอันดับของซีเอ็นเอ็น มันนี่ ยกให้ปิโตรนาสรั้งอันดับที่ 68 จาก 500 บริษัทชั้นนำทั่วโลก กับผลกำไรกว่า 21,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปในปี 2537 ถือเป็นปีแรกที่ปิโตรนาสได้ก้าวสู่ต่างแดน พร้อมกับ รับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันได่ ฮุ่น ในเวียดนาม และตั้งสถานีบริการน้ำมันต่างประเทศแห่งแรกในกัมพูชา ในปี 2538 ปิโตรนาสได้เข้าสู่ตลาด หลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์
ในปัจจุบันปิโตรนาสมีบริษัทลูกกว่า 100 แห่ง ตั้งแต่ปี 2543 ปิโตรนาสก็ได้เพิ่มการลงทุนด้านสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน ตลอดจนธุรกิจปลายน้ำด้านปิโตรเคมี ทั้งในทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชีย
ด้านธุรกิจโทรคมนาคมก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจด้านบริการที่น่าจับตามอง "สิงเทล (Singtel-Singapore Telecommunications)" เป็นบริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมสัญชาติสิงคโปร์ ที่เริ่มให้บริการครั้งแรกปี 2422 และได้ก้าวเข้าสู่ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2536 รวมไปถึงตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในปี 2544
สิงเทลเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ดิจิทัลทีวี ตลอดจนบริการด้านไอที นอกจากสิงเทลจะให้บริการในสิงคโปร์แล้ว ยังให้บริการในต่างประเทศผ่านบริษัทลูก คือ "ออปตัส (Optus)" ในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังถือครองหุ้นอยู่ในบริษัทพันธมิตร ซึ่งล้วนเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ ทั้งในไทย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกา
ที่ผ่านมา "สิงเทล" ทำรายได้ด้วยดีมาตลอด แต่ก็เคยสะดุดในปี 2552 ที่มี รายได้โตจากปี 2551 เพียง 0.60% แต่ ในช่วงปี 2553-2555 ผลประกอบการก็กลับมาโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์สเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3 ของปีที่แล้วสิงเทล มีกำไรรายได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี โดยสาเหตุหลักที่กำไรลดลงมาจากการแข่งขันอย่างรุนแรงกับบริษัทใหญ่อย่างเทสลา ท่ามกลางการชะลอตัวของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในออสเตรเลียที่สิงเทลพึ่งพารายได้ถึง 2 ใน 3 จากบริษัทออปตัส แต่แม้ว่ากำไรของสิงเทลลดลง แต่บริษัทนี้ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่น่าจับตามอง ด้วยบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลากหลาย
อีกหนึ่งบริษัทที่โดดเด่นจากมาเลเซียคือ บริษัท วายทีแอล คอร์ปอเรชั่น (YTL corporation) ซึ่งทำธุรกิจทางด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ ทางรถไฟความเร็วสูง และดูแลกิจการทางด้านโรงแรมและรีสอร์ต
นอกจากนี้ยังเป็นในหนึ่งบริษัทที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นมาเลเซีย ซึ่งหากรวมกับบรรดาบริษัทลูกของวายทีแอล แล้ว พบว่ามีมูลค่าตลาดสูงถึงกว่า 37,000 ล้านริงกิต (370,000 ล้านบาท) นอกจากนี้วายทีแอลยังเป็นบริษัทเอเชียที่ไม่ใช่สัญชาติญี่ปุ่นแห่งแรกที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวของญี่ปุ่น
ด้วยการเติบโตโดยเฉลี่ย 55% ในช่วง 15 ปี ทำให้วายทีแอลก้าวขึ้นมาสู่อาณาจักรธุรกิจที่มีการลงทุนทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมไปถึงยุโรป
นอกจากนี้ในปี 2553 นิตยสารมาเลเซียน บิสซิเนส ได้ยกให้วายทีแอลติด 1 ใน 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย อีกทั้งยังรั้งตำแหน่งที่ 175 จากทั้งหมด 250 บริษัทพลังงานทั่วโลก จากการจัดอันดับของแพลตต์ส (Platts) และยังเป็นบริษัทที่มีการเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน
"ปิโตรนาส (Petronas-Petroliam Nasional Berhad)" บริษัทภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งธุรกิจ หลักได้แก่ การขุดเจาะ สำรวจ พัฒนาและผลิต กลั่นน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติจากทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี ทั้งยังมีบริการขนส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ LNG และน้ำมันดิบอีกด้วย
ล่าสุดจากการจัดอันดับของซีเอ็นเอ็น มันนี่ ยกให้ปิโตรนาสรั้งอันดับที่ 68 จาก 500 บริษัทชั้นนำทั่วโลก กับผลกำไรกว่า 21,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปในปี 2537 ถือเป็นปีแรกที่ปิโตรนาสได้ก้าวสู่ต่างแดน พร้อมกับ รับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันได่ ฮุ่น ในเวียดนาม และตั้งสถานีบริการน้ำมันต่างประเทศแห่งแรกในกัมพูชา ในปี 2538 ปิโตรนาสได้เข้าสู่ตลาด หลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์
ในปัจจุบันปิโตรนาสมีบริษัทลูกกว่า 100 แห่ง ตั้งแต่ปี 2543 ปิโตรนาสก็ได้เพิ่มการลงทุนด้านสำรวจและขุดเจาะน้ำมัน ตลอดจนธุรกิจปลายน้ำด้านปิโตรเคมี ทั้งในทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชีย
ด้านธุรกิจโทรคมนาคมก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจด้านบริการที่น่าจับตามอง "สิงเทล (Singtel-Singapore Telecommunications)" เป็นบริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมสัญชาติสิงคโปร์ ที่เริ่มให้บริการครั้งแรกปี 2422 และได้ก้าวเข้าสู่ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2536 รวมไปถึงตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในปี 2544
สิงเทลเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ดิจิทัลทีวี ตลอดจนบริการด้านไอที นอกจากสิงเทลจะให้บริการในสิงคโปร์แล้ว ยังให้บริการในต่างประเทศผ่านบริษัทลูก คือ "ออปตัส (Optus)" ในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังถือครองหุ้นอยู่ในบริษัทพันธมิตร ซึ่งล้วนเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ ทั้งในไทย อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกา
ที่ผ่านมา "สิงเทล" ทำรายได้ด้วยดีมาตลอด แต่ก็เคยสะดุดในปี 2552 ที่มี รายได้โตจากปี 2551 เพียง 0.60% แต่ ในช่วงปี 2553-2555 ผลประกอบการก็กลับมาโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์สเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3 ของปีที่แล้วสิงเทล มีกำไรรายได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี โดยสาเหตุหลักที่กำไรลดลงมาจากการแข่งขันอย่างรุนแรงกับบริษัทใหญ่อย่างเทสลา ท่ามกลางการชะลอตัวของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในออสเตรเลียที่สิงเทลพึ่งพารายได้ถึง 2 ใน 3 จากบริษัทออปตัส แต่แม้ว่ากำไรของสิงเทลลดลง แต่บริษัทนี้ก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่น่าจับตามอง ด้วยบริการสื่อสารโทรคมนาคมที่หลากหลาย
อีกหนึ่งบริษัทที่โดดเด่นจากมาเลเซียคือ บริษัท วายทีแอล คอร์ปอเรชั่น (YTL corporation) ซึ่งทำธุรกิจทางด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ ทางรถไฟความเร็วสูง และดูแลกิจการทางด้านโรงแรมและรีสอร์ต
นอกจากนี้ยังเป็นในหนึ่งบริษัทที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นมาเลเซีย ซึ่งหากรวมกับบรรดาบริษัทลูกของวายทีแอล แล้ว พบว่ามีมูลค่าตลาดสูงถึงกว่า 37,000 ล้านริงกิต (370,000 ล้านบาท) นอกจากนี้วายทีแอลยังเป็นบริษัทเอเชียที่ไม่ใช่สัญชาติญี่ปุ่นแห่งแรกที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวของญี่ปุ่น
ด้วยการเติบโตโดยเฉลี่ย 55% ในช่วง 15 ปี ทำให้วายทีแอลก้าวขึ้นมาสู่อาณาจักรธุรกิจที่มีการลงทุนทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมไปถึงยุโรป
นอกจากนี้ในปี 2553 นิตยสารมาเลเซียน บิสซิเนส ได้ยกให้วายทีแอลติด 1 ใน 100 บริษัทยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย อีกทั้งยังรั้งตำแหน่งที่ 175 จากทั้งหมด 250 บริษัทพลังงานทั่วโลก จากการจัดอันดับของแพลตต์ส (Platts) และยังเป็นบริษัทที่มีการเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น