นายวรพล
อังศุลาพิวัฒน์ รองประธาน ฝ่ายขาย บริษัท บลูสโคป สตีล (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทร่วมทุนไทย-ออสเตรเลีย ผู้ผลิตเหล็กและเมทัลชีต กล่าวว่า
บริษัทมีตัวแทนจำหน่าย 4 รายอยู่ในกรุงเทพฯ โดยสั่งซื้อสินค้ามาจากโรงงานที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง
และกระจายสินค้าไปสู่ตัวแทนจำหน่ายในต่างจังหวัด
ปัจจุบันโรงงานที่มาบตาพุดมีกำลังการผลิตโดยรวมปีละ 380,000 ตัน
ที่ผ่านมาบริษัทได้เดินสายเปิดตัวในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พิษณุโลก เชียงใหม่ อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี รวมถึง สปป.ลาว ด้วย โดยเฉพาะภาคอีสาน บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 60% และเป็นเบอร์ 1 ในตลาดรวมทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดอุดรธานีถือเป็นประตูผ่านไป สปป.ลาว ฉะนั้นสินค้าบางส่วนจะข้ามไปฝั่ง สปป.ลาวด้วย
"ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคอีสานเติบโตไปเร็วมาก ดีเวลอปเปอร์ใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯเริ่มขยับเข้ามาในภาคอีสาน ตลาดเมทัลชีตจึงมีโอกาสเติบโตสูงมาก เพราะมีประชากร 1 ใน 3 ของประเทศไทย ประมาณ 20 ล้านคน ในอนาคต ถ้าจะเพิ่มดีลเลอร์ จะเพิ่มที่อีสานเป็นหลัก"
สำหรับแนวโน้มการขึ้นราคาของเหล็กนั้น เนื่องจากสินค้าเพิ่งออกสู่ตลาดได้ปีเศษ และกลางปีที่ผ่านมาราคาผันผวนสูงมาก มีความเป็นไปได้สูงที่จะขยับราคาในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เนื่องจากต้นทุนการผลิต สูงขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า และเชื้อเพลิงที่ใช้ถลุงเหล็ก ซึ่งในกลุ่มเออีซี ประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กมากที่สุดถึงปีละประมาณ 15 ล้านตัน และมีอัตราการเติบโตราว 10%
ที่ผ่านมาบริษัทได้เดินสายเปิดตัวในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พิษณุโลก เชียงใหม่ อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และอุดรธานี รวมถึง สปป.ลาว ด้วย โดยเฉพาะภาคอีสาน บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 60% และเป็นเบอร์ 1 ในตลาดรวมทั้งประเทศ สำหรับจังหวัดอุดรธานีถือเป็นประตูผ่านไป สปป.ลาว ฉะนั้นสินค้าบางส่วนจะข้ามไปฝั่ง สปป.ลาวด้วย
"ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคอีสานเติบโตไปเร็วมาก ดีเวลอปเปอร์ใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯเริ่มขยับเข้ามาในภาคอีสาน ตลาดเมทัลชีตจึงมีโอกาสเติบโตสูงมาก เพราะมีประชากร 1 ใน 3 ของประเทศไทย ประมาณ 20 ล้านคน ในอนาคต ถ้าจะเพิ่มดีลเลอร์ จะเพิ่มที่อีสานเป็นหลัก"
สำหรับแนวโน้มการขึ้นราคาของเหล็กนั้น เนื่องจากสินค้าเพิ่งออกสู่ตลาดได้ปีเศษ และกลางปีที่ผ่านมาราคาผันผวนสูงมาก มีความเป็นไปได้สูงที่จะขยับราคาในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เนื่องจากต้นทุนการผลิต สูงขึ้น ทั้งวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า และเชื้อเพลิงที่ใช้ถลุงเหล็ก ซึ่งในกลุ่มเออีซี ประเทศไทยมีความต้องการใช้เหล็กมากที่สุดถึงปีละประมาณ 15 ล้านตัน และมีอัตราการเติบโตราว 10%
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น