ชาวบ้านหัวฝาย รวมตัวตั้งกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝาย
สืบสานวัฒนธรรมการทอผ้าไหม สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน
ขณะที่ห้างเซ็นทรัล หนุนงบ 1 ล้านบาทสร้างห้องเลี้ยงไหมพร้อมส่งผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้สมาชิก
ขอนแก่น :นางบุญสิน ราษฎร์เจริญประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝายสังกัดสหกรณ์การเกษตรชนบท จำกัดเปิดเผยถึงเป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มสตรีสหกรณ์ฯว่า ต้องการส่งเสริมเรื่องอาชีพให้กับชาวบ้านหัวฝาย ตำบลปอแดงอำเภอชนบท และช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าไหมเอาไว้ให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีรับสั่งให้ช่วยพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยการเพิ่มสมาชิกในกลุ่มให้มากขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อสืบทอดอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษตัวเองไว้ และสามารถยึดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ในวันข้างหน้า ขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันของคนในชุมชน ด้วยการร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ
ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝาย กล่าวว่า การรวมกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมในรูปของกลุ่มฯ ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชน เกิดเป็นความสามัคคีและมีพลัง และเริ่มเห็นการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น จากที่เคยต่างคนต่างทำ ทอไว้ใส่เอง แต่ไม่มีรายได้ พอมารวมเป็นกลุ่มฯ ทำให้อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีรายได้เพิ่มขึ้นจนมีความมั่นคงในอาชีพทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ทุกคนสามัคคีกัน ช่วยกันแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มเกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน ปัจจุบัน นอกจากทางกลุ่มจะทอผ้าเป็นผืนแล้ว ยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมโต๊ะ ดอกไม้ และพวงมาลัย ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า พร้อมกับพัฒนารูปแบบสีสันและลวดลายผ้าอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้หาผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมมาช่วยฝึกสมาชิกในกลุ่มให้เกิดการพัฒนาลวดลายใหม่ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ปรับปรุงทั้งเรื่องสีเรื่องลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลุ่มฯ ได้เรียนรู้เทคนิคในการย้อมผ้าเพื่อไม่ให้สีตกได้สำเร็จ ทำให้ชื่อเสียงของกลุ่มฯ โด่งดังไปไกล ซึ่งขณะนี้ห้างเซ็นทรัลสนใจที่จะให้การสนับสนุนสร้างห้องเลี้ยงไหมให้กับสมาชิกของกลุ่มฯ และให้งบประมาณเป็นทุนของกลุ่มฯ อีก 1 ล้านบาท พร้อมกับส่งอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือและดีไซเนอร์ ช่วยให้คำแนะนำเรื่องวิธีการย้อมสี เพื่อให้มีสีสันที่หลากหลายและการออกแบบลายผ้าให้มีความทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาด
นางบุญสิน กล่าวอีกว่า ผ้าไหมของกลุ่มฯ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนได้รับพระราชทานสัญลักษณ์นกยูงเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ทั้งนกยูงทอง นกยูงสีน้ำเงินและนกยูงสีเงิน อีกทั้งยังได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาวและ 5 ดาว อีกด้วย
ด้านนายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์สหกรณ์จังหวัดขอนแก่นกล่าวว่ากรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มอบเงินอุดหนุนให้ทางกลุ่มฯ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นเงิน 90,000 บาทเพื่อใช้เป็นทุนบริหารจัดการ โดยได้แบ่งไว้เป็นทุนรับซื้อผ้าไหมจากสมาชิก และส่วนหนึ่งเป็นเงินให้สมาชิกกู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า ปัจจุบันเงินจำนวนนี้ได้งอกเงยเป็น 1.5 แสนบาท และยังมีโครงการศึกษาวิจัยเรื่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น
ขอนแก่น :นางบุญสิน ราษฎร์เจริญประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝายสังกัดสหกรณ์การเกษตรชนบท จำกัดเปิดเผยถึงเป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่มสตรีสหกรณ์ฯว่า ต้องการส่งเสริมเรื่องอาชีพให้กับชาวบ้านหัวฝาย ตำบลปอแดงอำเภอชนบท และช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าไหมเอาไว้ให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีรับสั่งให้ช่วยพัฒนากลุ่มอาชีพ โดยการเพิ่มสมาชิกในกลุ่มให้มากขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง เพื่อสืบทอดอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษตัวเองไว้ และสามารถยึดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ในวันข้างหน้า ขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันของคนในชุมชน ด้วยการร่วมกันทำกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ
ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝาย กล่าวว่า การรวมกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมในรูปของกลุ่มฯ ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชน เกิดเป็นความสามัคคีและมีพลัง และเริ่มเห็นการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น จากที่เคยต่างคนต่างทำ ทอไว้ใส่เอง แต่ไม่มีรายได้ พอมารวมเป็นกลุ่มฯ ทำให้อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีรายได้เพิ่มขึ้นจนมีความมั่นคงในอาชีพทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ทุกคนสามัคคีกัน ช่วยกันแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มเกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน ปัจจุบัน นอกจากทางกลุ่มจะทอผ้าเป็นผืนแล้ว ยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมโต๊ะ ดอกไม้ และพวงมาลัย ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า พร้อมกับพัฒนารูปแบบสีสันและลวดลายผ้าอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้หาผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหมมาช่วยฝึกสมาชิกในกลุ่มให้เกิดการพัฒนาลวดลายใหม่ๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ปรับปรุงทั้งเรื่องสีเรื่องลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลุ่มฯ ได้เรียนรู้เทคนิคในการย้อมผ้าเพื่อไม่ให้สีตกได้สำเร็จ ทำให้ชื่อเสียงของกลุ่มฯ โด่งดังไปไกล ซึ่งขณะนี้ห้างเซ็นทรัลสนใจที่จะให้การสนับสนุนสร้างห้องเลี้ยงไหมให้กับสมาชิกของกลุ่มฯ และให้งบประมาณเป็นทุนของกลุ่มฯ อีก 1 ล้านบาท พร้อมกับส่งอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือและดีไซเนอร์ ช่วยให้คำแนะนำเรื่องวิธีการย้อมสี เพื่อให้มีสีสันที่หลากหลายและการออกแบบลายผ้าให้มีความทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาด
นางบุญสิน กล่าวอีกว่า ผ้าไหมของกลุ่มฯ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนได้รับพระราชทานสัญลักษณ์นกยูงเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ทั้งนกยูงทอง นกยูงสีน้ำเงินและนกยูงสีเงิน อีกทั้งยังได้รับคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาวและ 5 ดาว อีกด้วย
ด้านนายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์สหกรณ์จังหวัดขอนแก่นกล่าวว่ากรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มอบเงินอุดหนุนให้ทางกลุ่มฯ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นเงิน 90,000 บาทเพื่อใช้เป็นทุนบริหารจัดการ โดยได้แบ่งไว้เป็นทุนรับซื้อผ้าไหมจากสมาชิก และส่วนหนึ่งเป็นเงินให้สมาชิกกู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้า ปัจจุบันเงินจำนวนนี้ได้งอกเงยเป็น 1.5 แสนบาท และยังมีโครงการศึกษาวิจัยเรื่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น
ที่มา
:
สยามรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น