เปิดไส้ในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท คลังจัดลำดับความสำคัญก่อนไฟเขียวเป็นรายโปรเจ็กต์ 7 สาขาหลัก โครงการระบบรางแชมป์วงเงินลงทุนสูงสุด 1.2 ล้านล้าน
ทั้งรถไฟสายใหม่-ไฮสปีดเทรน ตามด้วยพลังงาน 5.15 แสนล้าน
และขนส่งทางบก 2.22 แสนล้าน เล็งระดมทุน 5 แหล่ง ประเดิมปี'56 กว่า 1 ล้านล้าน
แบงก์ชาติชี้สภาพคล่องมีเพียงพอ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินการโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในระยะ 5 ปี (ปี 2555-2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณารายละเอียดแผนงานภายใต้โครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เรื่องรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยคัดเลือกโครงการจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวบรวมไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานแล้ว
ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ 1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%) 2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%) 3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%) 4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%) 5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%) 6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ 7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)
การลงทุน "ระบบราง" เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท
"ขนส่งทางบก" เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ" กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท
การลงทุน "ขนส่งทางอากาศ" มีของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท "ระบบสาธารณูปการ" มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท
การลงทุน "พลังงาน" เป็นของ บมจ. ปตท. 135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาทฯลน "สื่อสาร" แบ่งเป็น บมจ. กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท
กำหนดแหล่งเงินใช้สนับสนุนจาก 5 ส่วนคือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอรองรับการกู้เงินในประเทศ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2555 มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่มากถึง 2.133 ล้านล้านบาท รองรับการกู้เงินได้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล
ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ได้ในปี 2556 ประเมินว่าต้องกู้เงินเฉลี่ยปีละ 2-3 แสนล้านบาท
ขณะที่นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในปี 2556 รัฐจำเป็นต้องระดมเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา สบน.ได้เชิญเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเตรียมพร้อมรับมือแล้ว ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบสามารถรองรับการระดมทุนภาครัฐได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า สภาพคล่องมีเพียงพอ และจะไม่เกิดการแย่งตลาดรวมถึงกระทรวงการคลังก็ได้เตรียมเงินคงคลังไว้ในระดับสูง จึงสามารถรองรับได้
แผนระดมทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทยังไม่รวมกรณีร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สบน.ได้ประชุมเตรียมระดมทุนในปี 2556 ร่วมกับ ธปท. สมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (PD) และผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ 200 คน ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ปีนี้ภาครัฐต้องการระดมทุน 1,095,046 ล้านบาท ซึ่ง สบน.จะออกพันธบัตรรัฐบาลเป็น bench mark bond 525,000 ล้านบาท หรือ 48% ของปริมาณการระดมทุนทั้งหมด
คมนาคมเดินสายประชาพิจารณ์
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดสัมมนาสัญจรโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกรอบวงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563 มี 55 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อปรับให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน
ลงทุน 1.99 ล้านล้านรับเออีซี
มีทั้งโครงการเป็นยุทธศาสตร์ด้าน โลจิสติกส์และการขนส่งรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) โดยวงเงินลงทุน 1.99 ล้านล้านบาท จะเน้นทางรางมากสุด 64.05% หรือ 1.28 ล้านล้านบาท ถนน 24.20% หรือ 4.7 แสนล้านบาท ทางน้ำ 6.51% หรือ 1.2 แสนล้านบาท และทางอากาศ 4.24% หรือ 9.4 หมื่นล้านบาท อาทิ
ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มีฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์ชุมพร 16,665 ล้านบาท
สร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ 47,929 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และสายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท
รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย รถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท ส่วนการลงทุนด้านถนน เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท วงแหวนรอบรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท มอเตอร์เวย์ 5 สาย 2 แสนล้านบาท
ทางน้ำ เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน 14,394 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 วงเงิน 12,513 ล้านบาท ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 88,294 ล้านบาท ทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 วงเงิน 62,503 ล้านบาท ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 วงเงิน 24,328 ล้านบาท ปรับปรุงใช้ประโยชน์ดอนเมือง 3,200 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินการโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในระยะ 5 ปี (ปี 2555-2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณารายละเอียดแผนงานภายใต้โครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เรื่องรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยคัดเลือกโครงการจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวบรวมไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานแล้ว
ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ 1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%) 2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%) 3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%) 4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%) 5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%) 6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ 7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)
การลงทุน "ระบบราง" เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท
"ขนส่งทางบก" เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ" กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท
การลงทุน "ขนส่งทางอากาศ" มีของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท "ระบบสาธารณูปการ" มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท
การลงทุน "พลังงาน" เป็นของ บมจ. ปตท. 135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาทฯลน "สื่อสาร" แบ่งเป็น บมจ. กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท
กำหนดแหล่งเงินใช้สนับสนุนจาก 5 ส่วนคือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอรองรับการกู้เงินในประเทศ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2555 มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่มากถึง 2.133 ล้านล้านบาท รองรับการกู้เงินได้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล
ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ได้ในปี 2556 ประเมินว่าต้องกู้เงินเฉลี่ยปีละ 2-3 แสนล้านบาท
ขณะที่นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในปี 2556 รัฐจำเป็นต้องระดมเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา สบน.ได้เชิญเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเตรียมพร้อมรับมือแล้ว ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบสามารถรองรับการระดมทุนภาครัฐได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า สภาพคล่องมีเพียงพอ และจะไม่เกิดการแย่งตลาดรวมถึงกระทรวงการคลังก็ได้เตรียมเงินคงคลังไว้ในระดับสูง จึงสามารถรองรับได้
แผนระดมทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทยังไม่รวมกรณีร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สบน.ได้ประชุมเตรียมระดมทุนในปี 2556 ร่วมกับ ธปท. สมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (PD) และผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ 200 คน ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ปีนี้ภาครัฐต้องการระดมทุน 1,095,046 ล้านบาท ซึ่ง สบน.จะออกพันธบัตรรัฐบาลเป็น bench mark bond 525,000 ล้านบาท หรือ 48% ของปริมาณการระดมทุนทั้งหมด
คมนาคมเดินสายประชาพิจารณ์
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดสัมมนาสัญจรโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกรอบวงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563 มี 55 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อปรับให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน
ลงทุน 1.99 ล้านล้านรับเออีซี
มีทั้งโครงการเป็นยุทธศาสตร์ด้าน โลจิสติกส์และการขนส่งรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) โดยวงเงินลงทุน 1.99 ล้านล้านบาท จะเน้นทางรางมากสุด 64.05% หรือ 1.28 ล้านล้านบาท ถนน 24.20% หรือ 4.7 แสนล้านบาท ทางน้ำ 6.51% หรือ 1.2 แสนล้านบาท และทางอากาศ 4.24% หรือ 9.4 หมื่นล้านบาท อาทิ
ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มีฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์ชุมพร 16,665 ล้านบาท
สร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ 47,929 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และสายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท
รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย รถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท ส่วนการลงทุนด้านถนน เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท วงแหวนรอบรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท มอเตอร์เวย์ 5 สาย 2 แสนล้านบาท
ทางน้ำ เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน 14,394 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 วงเงิน 12,513 ล้านบาท ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 88,294 ล้านบาท ทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 วงเงิน 62,503 ล้านบาท ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 วงเงิน 24,328 ล้านบาท ปรับปรุงใช้ประโยชน์ดอนเมือง 3,200 ล้านบาท
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น