ศ.ดร.อนันต์ พลธานี
คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)
กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมนานาชาติว่าด้วยการยกระดับความสำคัญของอาหารพื้นบ้านในการแก้ไขการขาดแคลนอาหาร
และแลกเปลี่ยนประสบ
การณ์และบทบาทของนานาประเทศด้านการส่งเสริมและสนับสนุนอาหารพื้นบ้าน
รวมทั้งร่วมพัฒนากลยุทธ์สู่ความมั่นคงด้านอาหารของมนุษยชาติ
โดยมีนักวิชาการและเจ้าหน้าที่นานาชาติเข้าร่วมฝึกอบรมจาก 16 ประเทศ ประกอบด้วย
ประเทศบังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา จีน ฟิลิปปินส์ ไทย ติมอร์เลสเต ไนจีเรีย นามิเบีย
เคนยา กัมพูชา คอสตาริกา อียิปต์ เซเนกัล ซูดานและฟิจิ ว่า
ในอนาคตจะเกิดวิกฤตอาหารขาดแคลน จึงต้องให้ความสำคัญกับอาหารพื้นบ้านให้มากขึ้น
โดยส่งเสริมการนำพืชหรือสัตว์ที่มีในท้องถิ่นมาประกอบอาหาร
และศึกษาคุณค่าทางโภชนศาสตร์ของอาหาร พื้นเมือง
การจัดฝึกอบรมครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารพื้นบ้านของแต่ละประเทศ ทั้งด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ตลอดจนพัฒนาอาหารพื้นบ้านให้เข้าสู่ระดับสากล
ด้าน รศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรนานาชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มข. กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดรูปแบบการฝึกอบรม กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรมและคณาจารย์ที่ได้มาร่วมให้การอบรม เป็นไปอย่างเหมาะสมกับผู้ที่เข้าฝึกอบรมทุกประเทศ นอกจากนี้ ผู้เข้าฝึกอบรมได้เรียนรู้ทั้งด้านอาหารพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากชาวบ้านในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำคัญในการอบรมสามารถที่จะยกระดับอาหารพื้นบ้านสู่การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารของมวลมนุษยชาติได้
ทางด้าน W.A.H Wijerathne จากประเทศศรีลังกา กล่าวว่า การเข้าอบรมครั้งนี้ได้รับประโยชน์มาก ได้เรียนรู้ถึงการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำเป็นอาหารอันทรงคุณค่า ชอบบทบาทของกลุ่มแม่บ้านในการผลิตอาหารพื้นบ้านของไทย
ด้าน Awa Niakh Ep Ndoye จากประเทศเซเนกัล กล่าวว่า ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มาก ได้เรียนรู้เรื่องอาหารพื้นบ้านจากการฝึกอบรมหลายอย่าง โดยเฉพาะการแปรรูปอาหาร จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับไปใช้กับการทำงานในประเทศให้มากที่สุด
ที่มา : ข่าวสด
การจัดฝึกอบรมครั้งนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารพื้นบ้านของแต่ละประเทศ ทั้งด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิตและคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งการสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน ตลอดจนพัฒนาอาหารพื้นบ้านให้เข้าสู่ระดับสากล
ด้าน รศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรนานาชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มข. กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดรูปแบบการฝึกอบรม กิจกรรมที่ใช้ในการฝึกอบรมและคณาจารย์ที่ได้มาร่วมให้การอบรม เป็นไปอย่างเหมาะสมกับผู้ที่เข้าฝึกอบรมทุกประเทศ นอกจากนี้ ผู้เข้าฝึกอบรมได้เรียนรู้ทั้งด้านอาหารพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่หลากหลายจากชาวบ้านในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำคัญในการอบรมสามารถที่จะยกระดับอาหารพื้นบ้านสู่การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารของมวลมนุษยชาติได้
ทางด้าน W.A.H Wijerathne จากประเทศศรีลังกา กล่าวว่า การเข้าอบรมครั้งนี้ได้รับประโยชน์มาก ได้เรียนรู้ถึงการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำเป็นอาหารอันทรงคุณค่า ชอบบทบาทของกลุ่มแม่บ้านในการผลิตอาหารพื้นบ้านของไทย
ด้าน Awa Niakh Ep Ndoye จากประเทศเซเนกัล กล่าวว่า ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มาก ได้เรียนรู้เรื่องอาหารพื้นบ้านจากการฝึกอบรมหลายอย่าง โดยเฉพาะการแปรรูปอาหาร จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับไปใช้กับการทำงานในประเทศให้มากที่สุด
ที่มา : ข่าวสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น