"ชัชชาติ"ว่าที่รมว.คมนาคมคนใหม่
หนุนแบ่งใช้งบ 2.2 ล้านล้านบาทจากงบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
สร้างรถไฟทางคู่ยกชุดเร่งปลุกอนาคตประเทศไทยด้วยรถไฟความ เร็วสูง
พร้อมปรับโหมดการขนส่งจากถนนสู่ระบบราง-ทางน้ำเพิ่มขึ้น
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในงานเสวนาเรื่องจัดทัพปรับกลยุทธ์รับ AEC 2558 ที่จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยว่า มีแนวคิดเสนอให้รัฐบาลใช้งบส่วนหนึ่งในจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทจากงบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ทั้งระบบตามแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเห็นว่างบประ มาณดังกล่าวสามารถจัดหาได้จากสถาบันการเงินในประเทศ ที่ปัจจุบันมีสภาพคล่องอย่างมาก
โดยเล็งเห็นว่าหากสามารถก่อ สร้างรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จทีเดียวได้ครบทั้งหมด น่าจะช่วยให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าได้รับประโยชน์มากกว่าที่จะก่อสร้างทีละโครงการ แม้จะได้รับอนุมัติกรอบวงเงินประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาทมาตั้งแต่ปี 2553 แต่จนถึงขณะนี้พบว่าแต่ละโครงการยังไม่มีการประกวดราคา
สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง มีดังนี้คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท 3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท 5.ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร 167 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท และ 6.ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
ดร.ชัชชาติกล่าวอีกว่านอกจากนั้นยังมีแนวคิดที่จะเร่งปลุกอนาคตประเทศไทยด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงตามที่มีแผนกำหนดไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดคาดว่าจะประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีหน้าเพื่อให้ลงพื้นที่ก่อสร้างได้ในปี 2557 ซึ่งหากสามารถเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านได้น่าจะเกิดผลดีเพื่อเป็นประตูการค้า ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับโหมดการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทางรถยนต์มาสู่ทางรถไฟและทางเรือให้มากขึ้น อีกทั้งจะต้องเร่งรัดโครงการรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมระหว่าง 2 สนามบินให้เกิดโดยเร็ว ส่วนประตูการค้าผ่านแหลมฉบังสำหรับเฟสที่ 3 วงเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาทนั้นยังต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว"
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในงานเสวนาเรื่องจัดทัพปรับกลยุทธ์รับ AEC 2558 ที่จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัยว่า มีแนวคิดเสนอให้รัฐบาลใช้งบส่วนหนึ่งในจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทจากงบการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ทั้งระบบตามแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเห็นว่างบประ มาณดังกล่าวสามารถจัดหาได้จากสถาบันการเงินในประเทศ ที่ปัจจุบันมีสภาพคล่องอย่างมาก
โดยเล็งเห็นว่าหากสามารถก่อ สร้างรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จทีเดียวได้ครบทั้งหมด น่าจะช่วยให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าได้รับประโยชน์มากกว่าที่จะก่อสร้างทีละโครงการ แม้จะได้รับอนุมัติกรอบวงเงินประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาทมาตั้งแต่ปี 2553 แต่จนถึงขณะนี้พบว่าแต่ละโครงการยังไม่มีการประกวดราคา
สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง มีดังนี้คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท 3.ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-ชุมทางหนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท 5.ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร 167 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท และ 6.ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
ดร.ชัชชาติกล่าวอีกว่านอกจากนั้นยังมีแนวคิดที่จะเร่งปลุกอนาคตประเทศไทยด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงตามที่มีแผนกำหนดไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดคาดว่าจะประกวดราคาได้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีหน้าเพื่อให้ลงพื้นที่ก่อสร้างได้ในปี 2557 ซึ่งหากสามารถเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านได้น่าจะเกิดผลดีเพื่อเป็นประตูการค้า ดังนั้นจึงต้องเร่งปรับโหมดการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทางรถยนต์มาสู่ทางรถไฟและทางเรือให้มากขึ้น อีกทั้งจะต้องเร่งรัดโครงการรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์เชื่อมระหว่าง 2 สนามบินให้เกิดโดยเร็ว ส่วนประตูการค้าผ่านแหลมฉบังสำหรับเฟสที่ 3 วงเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาทนั้นยังต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว"
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น