เอกชนดาหน้าถล่ม
"กระทรวงอุตสาหกรรม" ยื้อใบอนุญาตโรงงานหลังตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
"โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน" ถูกดอง ยาวกว่า 10 แห่ง
เขย่าแบงก์ปล่อยกู้ บริษัทรับเหมาเริ่มผวา ขณะที่ "ปลัดวิฑูรย์"
แจงอนุมัติไปเกือบหมดแล้ว แหล่งข่าวระดับสูงจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีกลุ่มสมาชิก ส.อ.ท.ยื่นขอ
แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรมอีกเกือบ 50 ราย
ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้ประกอบการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนไม่ต่ำกว่า 10
ราย จากที่ยื่นขอไปทั้งหมด 19 ราย ซึ่งทาง
คณะกรรมการกลั่นกรองใบอนุญาตโรงงานบางประเภทพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ทั้งที่
คณะกรรมการชุดดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่มากว่า 7 เดือน
เพื่อเข้ามาทำหน้าที่นี้โดยตรงแทนกรมโรงงาน
ผลต่อเนื่องจากความล่าช้าเรื่องไม่ได้รับใบอนุญาตโรงงานเริ่มเกิดปัญหากับนักลงทุนโรงไฟฟ้าบางแห่งแล้ว คือสถาบันการเงินที่พร้อมจะปล่อยเงินกู้มาพัฒนาการก่อสร้างตลอดโครงการ อาจจะต้องขอทบทวน รายละเอียดใหม่กับบริษัทคู่สัญญานั้น ๆ ใหม่อีกครั้ง รวมถึงบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการแสดงความไม่มั่นใจจนอาจจะนำไปสู่การหันไปรับงานอื่นแทน เพราะไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าจะให้เริ่มปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เมื่อไร
ทั้งนี้มีโรงไฟฟ้ายื่นขอใบอนุญาตโรงงานและได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้วบางแห่ง แต่ต้องใช้เวลารอมากกว่าปกติ 3-4 เดือน นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้อำนวยการด้านบริหารและธุรกิจสัมพันธ์ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า การยื่นขอใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มมิตรผล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กลั่นกรองฯ กระทรวงอุตสาหกรรม ถูกต้องตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้จะเร่งเดินหน้าการก่อสร้างให้ แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่วางไว้
ซึ่งทางกลุ่มมิตรผลมีนโยบายที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลควบคู่ไปกับพื้นที่ การลงทุนปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาล ตามแผนการลงทุนระหว่าง 2555-2556 จะใช้เงิน 20,000 ล้านบาท ลงทุนสร้าง โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ใน อ.ภูหลวง จ.เลย กำลังการผลิตน้ำตาล 20,000 ตัน/ปี โครงการขยายโรงงานน้ำตาล จ.กาฬสินธุ์ ควบคู่การลงทุน 5,600 ล้านบาท ทำโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ปลูกอ้อย โดยมีโรงน้ำตาล 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า ภูหลวง จ.เลย 2,000 ล้านบาท ขนาด 67 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าภูเวียง จ.ขอนแก่น 2,200 ล้านบาท ขนาด 44 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าหนิงหมิง จีน 1,300-1,400 ล้านบาท ขนาด 32 เมกะวัตต์
ส่วนแผนขยายกำลังการผลิตอ้อย น้ำตาล และไฟฟ้าชีวมวล จะทำควบคู่กันทั้งภายในประเทศ 5 แห่ง คือสิงห์บุรี กาฬสินธุ์ ด่านช้าง (สุพรรณบุรี) ภูเขียว (ชัยภูมิ) และภูเวียง (ขอนแก่น) ในต่างประเทศ 3 พื้นที่ ได้แก่ 1.บริษัท มิตรลาว จำกัด ในสะหวันนะเขต สปป.ลาว มีพื้นที่ปลูกอ้อย 62,500 ไร่ สัมปทาน 40 ปี กำลังการผลิต 500,000 ตันอ้อย/ปี เป็นผลผลิตน้ำตาล 60,000 ตัน/ปี 2.บริษัท กว่างซี หนานหนิง อีสต์ เอเชีย ชูการ์ จำกัด ในมณฑลกว่างซี จีน มีโรงงานน้ำตาล 5 แห่ง กำลังการผลิตรวม 80,000 ตันอ้อย/วัน หีบอ้อยได้ปีละกว่า 10 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายขาวได้ 1.2 ล้านตัน/ปี ทำไฟฟ้าชีวมวลแห่งเดียว ที่ฟูหนาน และเริ่มทยอยทำแห่งที่ 2 ในเมืองหนิงหมิง กำลังการผลิต 15-20 เมกะวัตต์ สัญญา 15 ปี รัฐบาลท้องถิ่นจีนให้ แอดเดอร์ 1.40 บาท/หน่วย 3.ออสเตรเลีย จะเน้นการมีส่วนร่วมด้านผลผลิตป้อน ตลาดมากกว่าเข้าไปบริหาร
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้รับฟังและชี้แจงกับคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ถึงการออกใบอนุญาตโรงงานที่ผ่านมา กระทรวงได้จัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองใบอนุญาตโรงงานขึ้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555 การประชุมแต่ละเดือนได้ทยอยอนุมัติไปเป็นจำนวนมากแล้ว จนถึงล่าสุดเมื่อสิงหาคม 2555 ได้เกินกว่า 90 ใบ
สำหรับความล่าช้าที่ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับนักลงทุนนั้น ทางคณะกรรมการ กลั่นกรองใบอนุญาตโรงงานมีเหตุผลชี้แจงได้ว่า ปกติจะใช้เวลาทำทุกอย่างให้ครบตาม ขั้นตอนภายใน 90 วัน จนถึงขณะนี้มี ผู้ประกอบการโดยรวมทั่วประเทศยื่นขอ ใบอนุญาตมาไม่ต่ำกว่า 2,600 แห่ง แต่เข้า เงื่อนไขผ่านคณะกรรมการชุดนี้เพียง 160 แห่ง หรือคิดเป็น 6% เท่านั้น และ ที่ผ่านมาก็ได้อนุมัติแล้วเกือบ 70 แห่ง
ยังคงมีบางกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงงานรีไซเคิล โรงงานกำจัด และบำบัดอุตสาหกรรม บางกิจการยังบกพร่องเรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย จึงต้องส่งกลับไป ให้แก้ไขให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
ผลต่อเนื่องจากความล่าช้าเรื่องไม่ได้รับใบอนุญาตโรงงานเริ่มเกิดปัญหากับนักลงทุนโรงไฟฟ้าบางแห่งแล้ว คือสถาบันการเงินที่พร้อมจะปล่อยเงินกู้มาพัฒนาการก่อสร้างตลอดโครงการ อาจจะต้องขอทบทวน รายละเอียดใหม่กับบริษัทคู่สัญญานั้น ๆ ใหม่อีกครั้ง รวมถึงบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการแสดงความไม่มั่นใจจนอาจจะนำไปสู่การหันไปรับงานอื่นแทน เพราะไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าจะให้เริ่มปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เมื่อไร
ทั้งนี้มีโรงไฟฟ้ายื่นขอใบอนุญาตโรงงานและได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้วบางแห่ง แต่ต้องใช้เวลารอมากกว่าปกติ 3-4 เดือน นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้อำนวยการด้านบริหารและธุรกิจสัมพันธ์ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า การยื่นขอใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มมิตรผล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ กลั่นกรองฯ กระทรวงอุตสาหกรรม ถูกต้องตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้จะเร่งเดินหน้าการก่อสร้างให้ แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาที่วางไว้
ซึ่งทางกลุ่มมิตรผลมีนโยบายที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลควบคู่ไปกับพื้นที่ การลงทุนปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาล ตามแผนการลงทุนระหว่าง 2555-2556 จะใช้เงิน 20,000 ล้านบาท ลงทุนสร้าง โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ใน อ.ภูหลวง จ.เลย กำลังการผลิตน้ำตาล 20,000 ตัน/ปี โครงการขยายโรงงานน้ำตาล จ.กาฬสินธุ์ ควบคู่การลงทุน 5,600 ล้านบาท ทำโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ปลูกอ้อย โดยมีโรงน้ำตาล 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า ภูหลวง จ.เลย 2,000 ล้านบาท ขนาด 67 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าภูเวียง จ.ขอนแก่น 2,200 ล้านบาท ขนาด 44 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าหนิงหมิง จีน 1,300-1,400 ล้านบาท ขนาด 32 เมกะวัตต์
ส่วนแผนขยายกำลังการผลิตอ้อย น้ำตาล และไฟฟ้าชีวมวล จะทำควบคู่กันทั้งภายในประเทศ 5 แห่ง คือสิงห์บุรี กาฬสินธุ์ ด่านช้าง (สุพรรณบุรี) ภูเขียว (ชัยภูมิ) และภูเวียง (ขอนแก่น) ในต่างประเทศ 3 พื้นที่ ได้แก่ 1.บริษัท มิตรลาว จำกัด ในสะหวันนะเขต สปป.ลาว มีพื้นที่ปลูกอ้อย 62,500 ไร่ สัมปทาน 40 ปี กำลังการผลิต 500,000 ตันอ้อย/ปี เป็นผลผลิตน้ำตาล 60,000 ตัน/ปี 2.บริษัท กว่างซี หนานหนิง อีสต์ เอเชีย ชูการ์ จำกัด ในมณฑลกว่างซี จีน มีโรงงานน้ำตาล 5 แห่ง กำลังการผลิตรวม 80,000 ตันอ้อย/วัน หีบอ้อยได้ปีละกว่า 10 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายขาวได้ 1.2 ล้านตัน/ปี ทำไฟฟ้าชีวมวลแห่งเดียว ที่ฟูหนาน และเริ่มทยอยทำแห่งที่ 2 ในเมืองหนิงหมิง กำลังการผลิต 15-20 เมกะวัตต์ สัญญา 15 ปี รัฐบาลท้องถิ่นจีนให้ แอดเดอร์ 1.40 บาท/หน่วย 3.ออสเตรเลีย จะเน้นการมีส่วนร่วมด้านผลผลิตป้อน ตลาดมากกว่าเข้าไปบริหาร
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้รับฟังและชี้แจงกับคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ถึงการออกใบอนุญาตโรงงานที่ผ่านมา กระทรวงได้จัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองใบอนุญาตโรงงานขึ้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555 การประชุมแต่ละเดือนได้ทยอยอนุมัติไปเป็นจำนวนมากแล้ว จนถึงล่าสุดเมื่อสิงหาคม 2555 ได้เกินกว่า 90 ใบ
สำหรับความล่าช้าที่ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับนักลงทุนนั้น ทางคณะกรรมการ กลั่นกรองใบอนุญาตโรงงานมีเหตุผลชี้แจงได้ว่า ปกติจะใช้เวลาทำทุกอย่างให้ครบตาม ขั้นตอนภายใน 90 วัน จนถึงขณะนี้มี ผู้ประกอบการโดยรวมทั่วประเทศยื่นขอ ใบอนุญาตมาไม่ต่ำกว่า 2,600 แห่ง แต่เข้า เงื่อนไขผ่านคณะกรรมการชุดนี้เพียง 160 แห่ง หรือคิดเป็น 6% เท่านั้น และ ที่ผ่านมาก็ได้อนุมัติแล้วเกือบ 70 แห่ง
ยังคงมีบางกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงงานรีไซเคิล โรงงานกำจัด และบำบัดอุตสาหกรรม บางกิจการยังบกพร่องเรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย จึงต้องส่งกลับไป ให้แก้ไขให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
ที่มา
: ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น