จากเป้าหมายรายได้ 63,920
ล้านบาท ซึ่ง สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) กำหนดไว้สำหรับปี 2556 ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเศรษฐกิจยุโรป
ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่อุตสาหกรรม "ไมซ์" ต้องเฝ้าระวัง
เพราะกังวลว่าจะมีผลต่อกลุ่มเป้าหมายประเภทบริษัทที่มีศูนย์กลางอยู่ในยุโรป
อีกทั้งกลุ่มที่ต้องจับตามองที่สุดคือ สัมมนา (คอนเวนชั่น) จากสมาคมวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มงานขนาดใหญ่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การวางกลยุทธ์สู่เป้าหมายในปีหน้า สสปน.ต้องปรับแผนการตลาดเพื่อตอบรับโจทย์ของภาคเอกชนที่ต้องการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดเอเชียมากขึ้น
ธงชัย ศรีดามา กรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. กล่าวว่าปี 2556 วาง เป้าหมายการเติบโต 7% จากจำนวนผู้เดินทาง 7.92 แสนคน และรายจ่ายต่อหัวต่อทริปอยู่ที่ 80,707 บาท คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวราว 9.79% โดยเป้าหมายอยู่ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมา 870 ล้านบาท
แรงกระตุ้นสำคัญ ส่วนหนึ่งจะมาจากการ ได้เป็น"เจ้าภาพ" งานเอ็กซิบิชั่นและคอนเวนชั่น ใหญ่อย่างน้อย 3-4 งาน ได้แก่ งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ คาดผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน โดยจะประกาศผลในเดือน ต.ค.นี้ งานเวิลด์ แสตมป์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีจะมีผู้ร่วมราว 10,000 คน รวมถึง งานโปรเฮลธ์ ไชน่า คอนเวนชั่นจากจีนที่คาดจะมีผู้ร่วมกว่า 10,000 คน
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างรอข้อสรุปจากกลุ่ม แอมเวย์ อินเดีย ที่เตรียมจัดประชุมสมาชิกราว 6,000 คน แบ่งมาที่ ไทยและอินโดนีเซีย ในราวเดือน พ.ย.ปีหน้า ซึ่งจะเป็นการย้อนรอยความสำเร็จจากกลุ่มแอมเวย์ จีนที่เดินทางเข้ามาถึง 1.6 หมื่นคนเมื่อปีก่อน และทำให้เกิดรายได้สะพัดถึง 2,000 ล้านบาท เป็นการตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของตลาดเอเชียที่ สสปน. จะจับมือกับภาคเอกชนเพื่อ ทำตลาดเชิงรุกทดแทนยุโรปที่กำลังถดถอย
ขณะที่ วิชญา สุนทรศารทูล รักษาการผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการประชุม สสปน. กล่าวว่าเทรนด์ทั่วโลกที่ ICCA (International Congress and Convention Association) สำรวจพบว่าแนวโน้มขนาดของกลุ่มสัมมนาเฉลี่ยลดลงเหลือ 500 คน จากเดิมมีผู้ร่วมงานแต่ละครั้งระดับ 1,000 คน และมีการเดินทางด้วยความถี่มากขึ้น สาเหตุหลักเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้การประชุมลดขนาดลง และเจาะกลุ่มที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น นอกจากนั้นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเสมือนจริง ทำให้การประชุมแบบไม่ต้องพบปะกันเข้ามาทดแทนได้มากขึ้น
สถานการณ์ต่างๆ และแนวโน้มตลาดไมซ์ ดังกล่าว ทำให้ สสปน.ปรับทิศทางกลยุทธ์ ปี 2556 ไปตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง โดยรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่ต้องการหันไปเน้นตลาดในเอเชียมากขึ้น โดยปรับลดการทำตลาดในพื้นที่ยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ เช่น อิตาลี สเปน และให้น้ำหนักกับเทรดโชว์ยุโรป เฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ เช่น งาน ไอเม็กซ์ แฟรงเฟิร์ต และอเมริกา ที่ยังคงมีความสำคัญสำหรับการรักษาฐานตลาดยุโรป
ด้าน ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ กล่าวว่านอกจากปัญหาเศรษฐกิจยุโรปแล้ว การเมืองในประเทศยังถือเป็นความกังวลอันดับหนึ่งของผู้จัดงานเอ็กซิบิชั่น โดย 60% เห็นว่าเป็นความเสี่ยงอันดับหนึ่งของไทย นอกจากนี้การแข่งขันปีหน้า คาดว่าจะเห็นความท้าทายจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่ง สสปน.ต้องเร่งเดินหน้ากลยุทธ์การดึงพันธมิตรในไทย เพื่อผนึกความแข็งแกร่งในการไปดึงงานต่างประเทศเข้ามาจัดมากขึ้น ทั้งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น
ขณะที่ จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ กล่าวว่าสำหรับเป้าหมายตลาดไมซ์ในประเทศปี2556 ยังไม่กำหนดตัวเลขรายได้ ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยในเดือน พ.ย.ปีนี้จะมีการประชุม "ไมซ์ ซัมมิต" เพื่อระดมความคิดเห็นภาคเอกชน เตรียมความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่การเป็น "ฮับ"ด้านการจัดประชุมของภูมิภาค ต้อนรับการเปิดศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ในปีหน้าต่อไป
นอกจากนี้ในปี 2556 จะผลักดันให้เกิด "ไมซ์ ซิตี้" เพิ่มขึ้นใน ขอนแก่น และหาดใหญ่ ซึ่งศักยภาพพื้นฐานด้านต่างๆ พร้อมแล้ว หลังจากประกาศให้เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา และกรุงเทพฯ ก้าวสู่ไมซ์ ซิตี้ ไปแล้วก่อนหน้านี้
อีกทั้งกลุ่มที่ต้องจับตามองที่สุดคือ สัมมนา (คอนเวนชั่น) จากสมาคมวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มงานขนาดใหญ่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้การวางกลยุทธ์สู่เป้าหมายในปีหน้า สสปน.ต้องปรับแผนการตลาดเพื่อตอบรับโจทย์ของภาคเอกชนที่ต้องการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดเอเชียมากขึ้น
ธงชัย ศรีดามา กรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สสปน. กล่าวว่าปี 2556 วาง เป้าหมายการเติบโต 7% จากจำนวนผู้เดินทาง 7.92 แสนคน และรายจ่ายต่อหัวต่อทริปอยู่ที่ 80,707 บาท คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวราว 9.79% โดยเป้าหมายอยู่ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรมา 870 ล้านบาท
แรงกระตุ้นสำคัญ ส่วนหนึ่งจะมาจากการ ได้เป็น"เจ้าภาพ" งานเอ็กซิบิชั่นและคอนเวนชั่น ใหญ่อย่างน้อย 3-4 งาน ได้แก่ งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ คาดผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน โดยจะประกาศผลในเดือน ต.ค.นี้ งานเวิลด์ แสตมป์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีจะมีผู้ร่วมราว 10,000 คน รวมถึง งานโปรเฮลธ์ ไชน่า คอนเวนชั่นจากจีนที่คาดจะมีผู้ร่วมกว่า 10,000 คน
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างรอข้อสรุปจากกลุ่ม แอมเวย์ อินเดีย ที่เตรียมจัดประชุมสมาชิกราว 6,000 คน แบ่งมาที่ ไทยและอินโดนีเซีย ในราวเดือน พ.ย.ปีหน้า ซึ่งจะเป็นการย้อนรอยความสำเร็จจากกลุ่มแอมเวย์ จีนที่เดินทางเข้ามาถึง 1.6 หมื่นคนเมื่อปีก่อน และทำให้เกิดรายได้สะพัดถึง 2,000 ล้านบาท เป็นการตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของตลาดเอเชียที่ สสปน. จะจับมือกับภาคเอกชนเพื่อ ทำตลาดเชิงรุกทดแทนยุโรปที่กำลังถดถอย
ขณะที่ วิชญา สุนทรศารทูล รักษาการผู้อำนวยการอุตสาหกรรมการประชุม สสปน. กล่าวว่าเทรนด์ทั่วโลกที่ ICCA (International Congress and Convention Association) สำรวจพบว่าแนวโน้มขนาดของกลุ่มสัมมนาเฉลี่ยลดลงเหลือ 500 คน จากเดิมมีผู้ร่วมงานแต่ละครั้งระดับ 1,000 คน และมีการเดินทางด้วยความถี่มากขึ้น สาเหตุหลักเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้การประชุมลดขนาดลง และเจาะกลุ่มที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น นอกจากนั้นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเสมือนจริง ทำให้การประชุมแบบไม่ต้องพบปะกันเข้ามาทดแทนได้มากขึ้น
สถานการณ์ต่างๆ และแนวโน้มตลาดไมซ์ ดังกล่าว ทำให้ สสปน.ปรับทิศทางกลยุทธ์ ปี 2556 ไปตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง โดยรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่ต้องการหันไปเน้นตลาดในเอเชียมากขึ้น โดยปรับลดการทำตลาดในพื้นที่ยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ เช่น อิตาลี สเปน และให้น้ำหนักกับเทรดโชว์ยุโรป เฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ เช่น งาน ไอเม็กซ์ แฟรงเฟิร์ต และอเมริกา ที่ยังคงมีความสำคัญสำหรับการรักษาฐานตลาดยุโรป
ด้าน ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ กล่าวว่านอกจากปัญหาเศรษฐกิจยุโรปแล้ว การเมืองในประเทศยังถือเป็นความกังวลอันดับหนึ่งของผู้จัดงานเอ็กซิบิชั่น โดย 60% เห็นว่าเป็นความเสี่ยงอันดับหนึ่งของไทย นอกจากนี้การแข่งขันปีหน้า คาดว่าจะเห็นความท้าทายจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่ง สสปน.ต้องเร่งเดินหน้ากลยุทธ์การดึงพันธมิตรในไทย เพื่อผนึกความแข็งแกร่งในการไปดึงงานต่างประเทศเข้ามาจัดมากขึ้น ทั้งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นต้น
ขณะที่ จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ กล่าวว่าสำหรับเป้าหมายตลาดไมซ์ในประเทศปี2556 ยังไม่กำหนดตัวเลขรายได้ ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยในเดือน พ.ย.ปีนี้จะมีการประชุม "ไมซ์ ซัมมิต" เพื่อระดมความคิดเห็นภาคเอกชน เตรียมความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่การเป็น "ฮับ"ด้านการจัดประชุมของภูมิภาค ต้อนรับการเปิดศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ในปีหน้าต่อไป
นอกจากนี้ในปี 2556 จะผลักดันให้เกิด "ไมซ์ ซิตี้" เพิ่มขึ้นใน ขอนแก่น และหาดใหญ่ ซึ่งศักยภาพพื้นฐานด้านต่างๆ พร้อมแล้ว หลังจากประกาศให้เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา และกรุงเทพฯ ก้าวสู่ไมซ์ ซิตี้ ไปแล้วก่อนหน้านี้
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น