เอลวิร่า
สนร่วมทุนญี่ปุ่นขยายฐานผลิตจักรเย็บผ้าในไทย
พร้อมตั้งรับเตรียมบุกอาเซียนคาดสิ้นปีโต 15% นายสนาม
สวนศิลป์พงศ์ประธานกรรมการ บริษัท เป็นคุณผู้นำเข้าและเจ้าของจักรเย็บผ้าแบรนด์
"เอลวิร่า" เปิดเผยว่า บริษัทมีความพร้อมร่วมลงทุนกับบริษัท ฮาราชู (Harachu) พันธมิตรในประเทศญี่ปุ่น
ที่มีแผนขยายการลงทุนโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และจักรเย็บผ้าในประเทศไทยอีก 2
ปีข้างหน้า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
คาดใช้เม็ดเงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 1,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ฮาราชู บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เข้ามาลงทุนในไทยในชื่อบริษัท ฮาราชู (ประเทศไทย)สร้างโรงงานผลิตท่อไอเสียและโรงงานถลุงเหล็ก ที่นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรีแล้ว
แผนขยายการลงทุนในโรงงานแห่งใหม่ของฮาราชูในไทยเป็นผลมาจากต้นทุนค่าแรงงานที่ถูกกว่าในญี่ปุ่นและไต้หวัน อีกทั้งถือเป็นการลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากและเป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อน โดยปัจจุบันทั่วโลกมีโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าประมาณ 5 โรงงานเท่านั้น
ขณะที่แผนการตลาดปีนี้ จะใช้งบ 20 ล้านบาท พร้อมจัดแคมเปญฉลองครบรอบ 37 ปีของบริษัท และฉลองครบรอบ 10 ปี แบรนด์ "เอลวิร่า" โดยมุ่งสร้างแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-30 ปีขึ้นไป ให้หันมาใช้จักรเย็บผ้ามากขึ้น ตามแนวโน้มงานอดิเรกที่นิยมตัดเย็บเสื้อผ้ามากขึ้น จากเดิมเป็นกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป มีราคาจักรเริ่มต้นที่ 4,900-3.9 หมื่นบาท
"บริษัทยังจะมุ่งขยายกลุ่มสินค้าในเครือเอลวิร่าอย่างต่อเนื่องอาทิกลุ่มเตารีดไอน้ำและเครื่องรีดผ้ากลุ่มเครื่องทำความสะอาดและกลุ่มอุปกรณ์ทำอาหาร เพื่อขยายสู่กลุ่มลูกค้าผู้ชาย" นายสนาม กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทวางแผนเปิดช็อปเอลวิร่าใหม่ 4-5 แห่ง ในปีนี้ โดยแบ่งเป็นโชว์รูม 2 แห่ง ในจ.ขอนแก่น และลำปาง ลงทุนแห่งละ 3-4 ล้านบาท จากปัจจุบันมีร้านค้าทั่วประเทศรวม 40 แห่งแบ่งเป็น โชว์รูม ในกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง ต่างจังหวัด 12 แห่ง และมีตัวแทนขายผ่านร้านโฮมโปร และห้างเซ็นทรัล 22 แห่ง
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเข้าไปจดลิขสิทธิ์แบรนด์เอลวิร่าในประเทศต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ในปี 2558 โดยในอาเซียนจะเข้าไปจัดตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งจะเริ่มทำตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปี2556 เป็นต้นไป
สำหรับปีนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโต 12-15% จากปี 2554 ที่มียอดขาย 320 ล้านบาท ซึ่งหลังจากเข้าไปทำตลาดต่างประเทศมากขึ้นภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จะมียอดขายในต่างประเทศสัดส่วน 30-40%จากปัจจุบันยอดขายของบริษัทมาจากตลาดในประเทศเท่านั้น
ทั้งนี้ ฮาราชู บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้เข้ามาลงทุนในไทยในชื่อบริษัท ฮาราชู (ประเทศไทย)สร้างโรงงานผลิตท่อไอเสียและโรงงานถลุงเหล็ก ที่นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรีแล้ว
แผนขยายการลงทุนในโรงงานแห่งใหม่ของฮาราชูในไทยเป็นผลมาจากต้นทุนค่าแรงงานที่ถูกกว่าในญี่ปุ่นและไต้หวัน อีกทั้งถือเป็นการลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากและเป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อน โดยปัจจุบันทั่วโลกมีโรงงานผลิตจักรเย็บผ้าประมาณ 5 โรงงานเท่านั้น
ขณะที่แผนการตลาดปีนี้ จะใช้งบ 20 ล้านบาท พร้อมจัดแคมเปญฉลองครบรอบ 37 ปีของบริษัท และฉลองครบรอบ 10 ปี แบรนด์ "เอลวิร่า" โดยมุ่งสร้างแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-30 ปีขึ้นไป ให้หันมาใช้จักรเย็บผ้ามากขึ้น ตามแนวโน้มงานอดิเรกที่นิยมตัดเย็บเสื้อผ้ามากขึ้น จากเดิมเป็นกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป มีราคาจักรเริ่มต้นที่ 4,900-3.9 หมื่นบาท
"บริษัทยังจะมุ่งขยายกลุ่มสินค้าในเครือเอลวิร่าอย่างต่อเนื่องอาทิกลุ่มเตารีดไอน้ำและเครื่องรีดผ้ากลุ่มเครื่องทำความสะอาดและกลุ่มอุปกรณ์ทำอาหาร เพื่อขยายสู่กลุ่มลูกค้าผู้ชาย" นายสนาม กล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทวางแผนเปิดช็อปเอลวิร่าใหม่ 4-5 แห่ง ในปีนี้ โดยแบ่งเป็นโชว์รูม 2 แห่ง ในจ.ขอนแก่น และลำปาง ลงทุนแห่งละ 3-4 ล้านบาท จากปัจจุบันมีร้านค้าทั่วประเทศรวม 40 แห่งแบ่งเป็น โชว์รูม ในกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง ต่างจังหวัด 12 แห่ง และมีตัวแทนขายผ่านร้านโฮมโปร และห้างเซ็นทรัล 22 แห่ง
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนขยายตลาดในต่างประเทศ โดยเข้าไปจดลิขสิทธิ์แบรนด์เอลวิร่าในประเทศต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)ในปี 2558 โดยในอาเซียนจะเข้าไปจัดตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า ซึ่งจะเริ่มทำตลาดต่างประเทศตั้งแต่ปี2556 เป็นต้นไป
สำหรับปีนี้ บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโต 12-15% จากปี 2554 ที่มียอดขาย 320 ล้านบาท ซึ่งหลังจากเข้าไปทำตลาดต่างประเทศมากขึ้นภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จะมียอดขายในต่างประเทศสัดส่วน 30-40%จากปัจจุบันยอดขายของบริษัทมาจากตลาดในประเทศเท่านั้น
ที่มา : โพสต์ทูเดย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น