รศ.วิสิฐ จะวิสิต
ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยระหว่างบรรยายหัวข้อ
"บทบาทของไทยและประชาคมอาเซียนในการเชื่อมโยงอาหารสู่ความมั่นคงทางโภชนาการ"
ในการประชุมวิชาการโภชนาการ แห่งชาติ ครั้งที่ 6 ว่า ต้องยอมรับว่า
ปัจจุบันความปลอดภัยด้านอาหารของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
องค์การอนามัยโลกเคยสำรวจพบว่าน้ำดื่ม
น้ำประปาของแต่ละประเทศสะอาดได้มาตรฐานแตกต่าง เช่น สิงคโปร์ บรูไน ได้มาตรฐาน 100%
ขณะที่กัมพูชา ร้อยละ 65 ส่วนไทย ร้อยละ 94
ดังนั้น อาจต้องมีการทำมาตรฐานอาหารปลอดภัยในระดับอาเซียน
โดยรัฐบาลไทยอาจเสนอประเทศสมาชิกให้ตั้งกลุ่มเฉพาะเพื่อออกกฎเกณฑ์อาหารปลอดภัย
และมีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อควบคุมกันเองก่อนจะขยายสู่ระดับสากล
นายสง่า ดามาพงษ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติยังได้รับอาหารไม่เพียงพอ ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีปัญหาขาดสารอาหารในกลุ่มโปรตีน พลังงาน ถึงร้อยละ 25 ซึ่งสูงกว่าเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ที่พบเพียงร้อยละ 10 ส่วนเด็กในวัยเรียนขาดสารอาหาร ร้อยละ 20 ยังพบว่าการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกหลักโภชนาการยังทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 50 ส่วนเด็กวัยเรียนจะเป็นผู้ใหญ่อ้วนร้อยละ 80 หากปัญหาเหล่านี้ยังเกิดขึ้น การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก หรือครัวของอาเซียนคงยาก
"รัฐบาลควรเพิ่มค่าอาหารกลางวันเด็กให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ จากหัวละ 13 บาท เป็น 15-20 บาท และภายในสิ้นปีนี้จะนำผลการเพิ่มค่าอาหารกลางวันเด็กที่ชุมชนจัดการกันเองนำร่อง 9 จังหวัด คือ สมุทรปราการ นนทบุรี เพชรบุรี อุดรธานี ขอนแก่น สงขลา ภูเก็ต เชียงใหม่ และลำปาง เสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย" นายสง่ากล่าว
นายสง่า ดามาพงษ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติยังได้รับอาหารไม่เพียงพอ ข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีปัญหาขาดสารอาหารในกลุ่มโปรตีน พลังงาน ถึงร้อยละ 25 ซึ่งสูงกว่าเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ที่พบเพียงร้อยละ 10 ส่วนเด็กในวัยเรียนขาดสารอาหาร ร้อยละ 20 ยังพบว่าการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกหลักโภชนาการยังทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะเป็นผู้ใหญ่อ้วนถึงร้อยละ 50 ส่วนเด็กวัยเรียนจะเป็นผู้ใหญ่อ้วนร้อยละ 80 หากปัญหาเหล่านี้ยังเกิดขึ้น การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นครัวของโลก หรือครัวของอาเซียนคงยาก
"รัฐบาลควรเพิ่มค่าอาหารกลางวันเด็กให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ จากหัวละ 13 บาท เป็น 15-20 บาท และภายในสิ้นปีนี้จะนำผลการเพิ่มค่าอาหารกลางวันเด็กที่ชุมชนจัดการกันเองนำร่อง 9 จังหวัด คือ สมุทรปราการ นนทบุรี เพชรบุรี อุดรธานี ขอนแก่น สงขลา ภูเก็ต เชียงใหม่ และลำปาง เสนอต่อนายกรัฐมนตรีด้วย" นายสง่ากล่าว
ที่มา : มติชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น