นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์
สหกรณ์จังหวัดขอน แก่น เปิดเผยว่า แต่เดิมชาวบ้านโคกสว่าง อำเภอแวง ใหญ่ จังหวัดขอนแก่นมีอาชีพทำนา
ปลูกข้าวจ้าวและ ข้าวเหนียว ต่อมากลุ่มแม่บ้านซึ่งมีความรู้ในการทำข้าว แตน
จึงรวมกลุ่มกันผลิตข้าวแตนสมุนไพร โดยระยะแรกสำนักงานสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นได้ส่งเจ้าหน้า ที่เข้าไปแนะนำเรื่องการบริหารจัดการภายในกลุ่ม
การพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค
ต่อมาในปี 2552 ได้มอบเงินอุดหนุนให้ทางกลุ่มจำนวน
40,000 บาท
สำหรับนำไปเป็นทุนหมุนเวียนผลิตข้าวแตน และในปี 2554 ได้มอบเงินสำหรับต่อยอดพัฒนากล่องบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและมีความสวยงาม
อีกจำนวน 25,000 บาท พร้อมทั้งได้แนะนำให้มีการสร้างความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์ประเภทข้าวแตนจากที่อื่น
ๆ
โดยเฉพาะในเรื่องรสชาติและรูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในเรื่องคุณภาพและปลอด
ภัย ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสด้านการตลาดได้มากขึ้น
และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ข้าวแตนได้
ด้านนางสายทิพย์ มาลา ประธานกลุ่มอาชีพข้าว แตนสมุนไพร เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิก 73 คน มีการออมเงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต ข้าวแตนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นแผนก อาทิ แผนกปั้น โรยน้ำตาล ทอด บรรจุและซีลถุง ซึ่งทุกคนจะมีรายได้เฉลี่ย 200-300 บาท ต่อวัน เมื่อถึงสิ้นปีจะมีการปันผลกำไรคืนให้แก่สมาชิก
ผลิตภัณฑ์ข้าวแตนสมุนไพร ใช้วัตถุดิบข้าวเหนียว ในท้องถิ่น ปริมาณวันละ 250-300 กิโลกรัม ซึ่งทางกลุ่มได้มีการพัฒนาวิธีการผลิต และรูปแบบการผลิตที่เป็นคุณเอกลักษณ์ เป็นสูตรของกลุ่มที่ริเริ่มทำขึ้นเอง
ความน่าสนใจของข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ นอกจากจะมีหน้าหลักคือหน้าหวานและเค็ม ซึ่งเป็นหน้า ที่ได้รับความนิยมและขายดีที่สุดแล้ว ยังได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยการแต่งรส แต่งหน้าข้าวแตนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ โดยปรับสูตรแต่งหน้าด้วยหน้าหมูหยอง เม็ดมะม่วง สมุนไพร งาขาว งาดำ ธัญพืช แกงเขียวหวาน น้ำหมากเม่า ชาใบหม่อน มัสมั่น แกงเผ็ด แกงป่า ต้มยำกุ้ง และอยู่ระหว่างการคิดสูตรหน้าปลาย่างเพื่อขอ รับรองมาตรฐานจากอย.อีกด้วย ทำให้ทางกลุ่มได้
รับฉายาเป็นผู้ผลิต “ข้าวแตนพันหน้า” จนผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักเป็นที่ต้องการของตลาดมาก และปริมาณการ ผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ ตลาดส่งจำหน่ายทั้งลูกค้าประจำ และยังนำไปจัดแสดง ตามงานจำหน่ายสินค้าโอท็อปที่หน่วยงานราชการต่างๆ ได้จัดขึ้น
ด้านนางสายทิพย์ มาลา ประธานกลุ่มอาชีพข้าว แตนสมุนไพร เปิดเผยว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิก 73 คน มีการออมเงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิต ข้าวแตนและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นแผนก อาทิ แผนกปั้น โรยน้ำตาล ทอด บรรจุและซีลถุง ซึ่งทุกคนจะมีรายได้เฉลี่ย 200-300 บาท ต่อวัน เมื่อถึงสิ้นปีจะมีการปันผลกำไรคืนให้แก่สมาชิก
ผลิตภัณฑ์ข้าวแตนสมุนไพร ใช้วัตถุดิบข้าวเหนียว ในท้องถิ่น ปริมาณวันละ 250-300 กิโลกรัม ซึ่งทางกลุ่มได้มีการพัฒนาวิธีการผลิต และรูปแบบการผลิตที่เป็นคุณเอกลักษณ์ เป็นสูตรของกลุ่มที่ริเริ่มทำขึ้นเอง
ความน่าสนใจของข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ นอกจากจะมีหน้าหลักคือหน้าหวานและเค็ม ซึ่งเป็นหน้า ที่ได้รับความนิยมและขายดีที่สุดแล้ว ยังได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยการแต่งรส แต่งหน้าข้าวแตนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ โดยปรับสูตรแต่งหน้าด้วยหน้าหมูหยอง เม็ดมะม่วง สมุนไพร งาขาว งาดำ ธัญพืช แกงเขียวหวาน น้ำหมากเม่า ชาใบหม่อน มัสมั่น แกงเผ็ด แกงป่า ต้มยำกุ้ง และอยู่ระหว่างการคิดสูตรหน้าปลาย่างเพื่อขอ รับรองมาตรฐานจากอย.อีกด้วย ทำให้ทางกลุ่มได้
รับฉายาเป็นผู้ผลิต “ข้าวแตนพันหน้า” จนผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักเป็นที่ต้องการของตลาดมาก และปริมาณการ ผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของ ตลาดส่งจำหน่ายทั้งลูกค้าประจำ และยังนำไปจัดแสดง ตามงานจำหน่ายสินค้าโอท็อปที่หน่วยงานราชการต่างๆ ได้จัดขึ้น
ทีมา : สยามธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น