ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่า การส่งออกของไทยปี 2555 อาจขยายตัวเพียง 3.0% จากภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าหลักชะลอตัวและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เหลือเพียงส่งออกไปกลุ่มประเทศ CLMV หรือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนามที่ยังโตต่อเนื่องสวนทางตลาดอื่นๆ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ทางการจีนได้รายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของจีนในเดือนสิงหาคมแสดงถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนที่ได้รับผลกระทบวิกฤตยุโรปและการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ สร้างความผิดหวังให้กับนักวิเคราะห์ โดยส่งออกขยายตัวได้เพียง 2.7% ในขณะที่การนำเข้าหดตัวอย่างน่าเป็นห่วงที่ 2.7% และสินค้านำเข้าจากอาเซียนและไทยกลับหดตัวมากขึ้นที่ 9.4% และ 10.4% ตามลำดับ บ่งชี้ว่าตัวเลขการส่งออกจากไทยไปจีนนั้น น่าจะหดตัวต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม ทำให้การส่งออกไทยโดยรวมมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปอีกระยะหนึ่ง
ถึงแม้ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคมจะยังไม่เปิดเผยจนกระทั่งปลายเดือนนี้ แต่ตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนกรกฎาคมลดลงถึง 8.9 พันล้านบาทหรือลดลง 1.4% สาเหตุมาจากตลาดส่งออกหลักอย่าง สหภาพยุโรปหดตัว 19.2% จีน -4.5% อาเซียนเดิม (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) -9.1% ทำให้การส่งออกไปกลุ่มอาเซียนหดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี แสดงให้เห็นว่า พิษวิกฤตยุโรปส่งผลต่อเศรษฐกิจคู่ค้าของไทยในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเชิงลึกต่อเศรษฐกิจไทย เช่น ยางพาราที่ราคาลดลงต่อเนื่อง ที่แม้ภาครัฐเข้าแทรกแซงกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ก็ยังเอาไม่อยู่ และมีแนวโน้มลดลงต่อไปอีก
ในทางตรงข้าม การส่งออกไป กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม (CLMV) กลับยังมีทิศทางสดใส ในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าส่งออกถึง 48,862 ล้านบาท ขยายตัวร้อนแรงถึง 28.4% โดยช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่าส่งออก 314,614 ล้านบาท ขยายตัว 18.6% สวนทางกับการส่งออกไปตลาดหลักอื่นๆ ทำให้การส่งออกไป CLMV อาจเป็นกลุ่มตลาดเดียวที่ขยายตัวได้ในปีนี้
ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ยังพบอีกว่าการส่งออกของ SME ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยครึ่งปีแรก SME มีมูลค่าส่งออก 627,286 ล้านบาท ลดลงกว่า 16,254 ล้านบาท หรือ 2.5% นำโดยตลาดยุโรปที่ลดลงถึง 10.9% ญี่ปุ่นที่ -8.7% สหรัฐที่ -2.2% ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิมขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% เท่านั้น ส่วนการส่งออกไป CLMV มีมูลค่า 58,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,789 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.1% แสดงให้เห็นว่า CLMV น่าจะเป็นตลาดที่ยังพึ่งพาได้ ซึ่ง SME ควรให้ความสำคัญกับตลาดนี้เพิ่มขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากตลาดหลัก
สำหรับสินค้าส่งออกของ SME ไปตลาด CLMV ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น น้ำตาล เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค สาเหตุที่สินค้ากลุ่มนี้ยังส่งออกได้ดี เพราะประเทศ CLMV ยังคงลงทุนภายในประเทศอีกมาก จึงจำเป็นต้องใช้สินค้าทุนในระยะนี้ค่อนข้างสูง ขณะที่ภาคการผลิตภายในประเทศยังมีคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ จึงต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ามาชดเชย
นอกจากนี้ แนวโน้มการนำเข้าของ CLMV จะยังขยายตัวต่อเนื่อง เพราะความจำเป็นของการใช้สินค้าทุนเพื่อการพัฒนาประเทศและตอบสนองการบริโภคในประเทศที่กำลังซื้อของผู้บริโภคกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของ SME ที่จะหันมาค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดหลักที่หดตัวในปัจจุบัน และปูทางสำหรับการค้าขายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย SME ที่จะได้ประโยชน์ คือ SME กลุ่มค้าชายแดน ธุรกิจที่มีการค้าและความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ และ SME ที่อยู่ในเครือข่ายของธุรกิจรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในประเทศ CLMV สินค้าที่น่าจะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
หากมองในระยะยาว ผลประโยชน์จากการแสวงหาช่องทางส่งออกไป CLMV ทดแทนตลาดหลัก มีความคุ้มค่า เพราะเมื่อ AEC เปิดอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 การเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทั้งทางถนนสาย R1, R2 และ R3 ระหว่าง CLMV จีน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการพัฒนาท่าเรือทวายและการเชื่อมต่อกับท่าเรือแหลมฉบัง เชื่อว่าจะเกิดการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอีกมาก เมื่อถึงวันนั้น ตลาด CLMV อาจกลายเป็นตลาดหลักของ SME และผู้ส่งออกไทยแทนตลาดยุโรปที่อาจจะยังสลบไม่ฟื้นก็เป็นได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ทางการจีนได้รายงานตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของจีนในเดือนสิงหาคมแสดงถึงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนที่ได้รับผลกระทบวิกฤตยุโรปและการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ สร้างความผิดหวังให้กับนักวิเคราะห์ โดยส่งออกขยายตัวได้เพียง 2.7% ในขณะที่การนำเข้าหดตัวอย่างน่าเป็นห่วงที่ 2.7% และสินค้านำเข้าจากอาเซียนและไทยกลับหดตัวมากขึ้นที่ 9.4% และ 10.4% ตามลำดับ บ่งชี้ว่าตัวเลขการส่งออกจากไทยไปจีนนั้น น่าจะหดตัวต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม ทำให้การส่งออกไทยโดยรวมมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปอีกระยะหนึ่ง
ถึงแม้ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคมจะยังไม่เปิดเผยจนกระทั่งปลายเดือนนี้ แต่ตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนกรกฎาคมลดลงถึง 8.9 พันล้านบาทหรือลดลง 1.4% สาเหตุมาจากตลาดส่งออกหลักอย่าง สหภาพยุโรปหดตัว 19.2% จีน -4.5% อาเซียนเดิม (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) -9.1% ทำให้การส่งออกไปกลุ่มอาเซียนหดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี แสดงให้เห็นว่า พิษวิกฤตยุโรปส่งผลต่อเศรษฐกิจคู่ค้าของไทยในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบเชิงลึกต่อเศรษฐกิจไทย เช่น ยางพาราที่ราคาลดลงต่อเนื่อง ที่แม้ภาครัฐเข้าแทรกแซงกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ก็ยังเอาไม่อยู่ และมีแนวโน้มลดลงต่อไปอีก
ในทางตรงข้าม การส่งออกไป กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม (CLMV) กลับยังมีทิศทางสดใส ในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าส่งออกถึง 48,862 ล้านบาท ขยายตัวร้อนแรงถึง 28.4% โดยช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่าส่งออก 314,614 ล้านบาท ขยายตัว 18.6% สวนทางกับการส่งออกไปตลาดหลักอื่นๆ ทำให้การส่งออกไป CLMV อาจเป็นกลุ่มตลาดเดียวที่ขยายตัวได้ในปีนี้
ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ยังพบอีกว่าการส่งออกของ SME ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยครึ่งปีแรก SME มีมูลค่าส่งออก 627,286 ล้านบาท ลดลงกว่า 16,254 ล้านบาท หรือ 2.5% นำโดยตลาดยุโรปที่ลดลงถึง 10.9% ญี่ปุ่นที่ -8.7% สหรัฐที่ -2.2% ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิมขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% เท่านั้น ส่วนการส่งออกไป CLMV มีมูลค่า 58,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,789 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.1% แสดงให้เห็นว่า CLMV น่าจะเป็นตลาดที่ยังพึ่งพาได้ ซึ่ง SME ควรให้ความสำคัญกับตลาดนี้เพิ่มขึ้นเพื่อลดผลกระทบจากตลาดหลัก
สำหรับสินค้าส่งออกของ SME ไปตลาด CLMV ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น น้ำตาล เครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค สาเหตุที่สินค้ากลุ่มนี้ยังส่งออกได้ดี เพราะประเทศ CLMV ยังคงลงทุนภายในประเทศอีกมาก จึงจำเป็นต้องใช้สินค้าทุนในระยะนี้ค่อนข้างสูง ขณะที่ภาคการผลิตภายในประเทศยังมีคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ จึงต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ามาชดเชย
นอกจากนี้ แนวโน้มการนำเข้าของ CLMV จะยังขยายตัวต่อเนื่อง เพราะความจำเป็นของการใช้สินค้าทุนเพื่อการพัฒนาประเทศและตอบสนองการบริโภคในประเทศที่กำลังซื้อของผู้บริโภคกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของ SME ที่จะหันมาค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากตลาดหลักที่หดตัวในปัจจุบัน และปูทางสำหรับการค้าขายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดย SME ที่จะได้ประโยชน์ คือ SME กลุ่มค้าชายแดน ธุรกิจที่มีการค้าและความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้ และ SME ที่อยู่ในเครือข่ายของธุรกิจรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในประเทศ CLMV สินค้าที่น่าจะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
หากมองในระยะยาว ผลประโยชน์จากการแสวงหาช่องทางส่งออกไป CLMV ทดแทนตลาดหลัก มีความคุ้มค่า เพราะเมื่อ AEC เปิดอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 การเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทั้งทางถนนสาย R1, R2 และ R3 ระหว่าง CLMV จีน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการพัฒนาท่าเรือทวายและการเชื่อมต่อกับท่าเรือแหลมฉบัง เชื่อว่าจะเกิดการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอีกมาก เมื่อถึงวันนั้น ตลาด CLMV อาจกลายเป็นตลาดหลักของ SME และผู้ส่งออกไทยแทนตลาดยุโรปที่อาจจะยังสลบไม่ฟื้นก็เป็นได้
ที่มา
: ดอกเบี้ยธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น