นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการ
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระดับบริหาร
และปฏิบัติการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม
มีมากขึ้นในอนาคต
เนื่องจากคอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยประเภทเดียวที่ชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
(Freehold) ได้ในไทย (แต่กฎหมายระบุว่าชาวต่างชาติไม่สามารถถือครองกรรมสิทธิ์รวมกันเกินกว่า
49% ของพื้นที่ขายในแต่ละโครงการ)
โดยตลาดที่มีความน่าสนใจในการจะไปลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดนั้น น่าจะเป็นตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน ประกอบกับมีพื้นที่เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีประชากรมากกว่า 28 ล้านคน และยังเติบโตจากการอพยพของคนชนบททั่วประเทศ ยกเว้นในหมู่เกาะบาหลี ซึ่งเป็นเมืองการท่องเที่ยว เป็นผล มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศ โดยเฉพาะด้านการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า และโรงแรม
ในขณะที่ตลาดฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย พื้นที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะในกรุงมะนิลา ส่วน ประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เป็นอีก 2 ประเทศ ที่น่าสนใจในการลงทุน โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเข้าไปในลักษณะของการร่วมทุน
ส่วนประเทศในสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราความเสี่ยงในการลงทุนสูงสุดนั้น คงหนีไม่พ้นเวียดนาม ที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี ส่วนตลาดบรูไนยังไม่มีความพร้อมในตลาดที่อยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากปัจจุบันตลาดมีขนาดเล็กมาก สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่มีน้อยกว่า 1 ล้านคน
นายสัมมากล่าวว่า สำหรับตลาดในไทยนั้น พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วย (ยูนิต) ที่เปิดขายใหม่รวมกันประมาณ 46,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับยอด 32,500 ยูนิต ใน ช่วงเดียวกันของปี 2554, บ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ 24,000 ยูนิต ลดลง 29% เมื่อเทียบกับยอด 34,000 ยูนิต ในช่วงเดียวกันของปี 2554 อย่างไรก็ตาม ปี 2555 เป็นปีที่เห็นความชัดเจนของการขยายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ใน ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม
โดยตลาดที่มีความน่าสนใจในการจะไปลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดนั้น น่าจะเป็นตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในอาเซียน ประกอบกับมีพื้นที่เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีประชากรมากกว่า 28 ล้านคน และยังเติบโตจากการอพยพของคนชนบททั่วประเทศ ยกเว้นในหมู่เกาะบาหลี ซึ่งเป็นเมืองการท่องเที่ยว เป็นผล มาจากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้าประเทศ โดยเฉพาะด้านการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า และโรงแรม
ในขณะที่ตลาดฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 รองจาก อินโดนีเซีย พื้นที่มีการขยายตัวมากโดยเฉพาะในกรุงมะนิลา ส่วน ประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ก็เป็นอีก 2 ประเทศ ที่น่าสนใจในการลงทุน โดยเฉพาะตลาดสิงคโปร์ ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเข้าไปในลักษณะของการร่วมทุน
ส่วนประเทศในสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราความเสี่ยงในการลงทุนสูงสุดนั้น คงหนีไม่พ้นเวียดนาม ที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงสุดในรอบ 3 ปี ส่วนตลาดบรูไนยังไม่มีความพร้อมในตลาดที่อยู่อาศัยมากนัก เนื่องจากปัจจุบันตลาดมีขนาดเล็กมาก สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่มีน้อยกว่า 1 ล้านคน
นายสัมมากล่าวว่า สำหรับตลาดในไทยนั้น พบว่าในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 คอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีหน่วย (ยูนิต) ที่เปิดขายใหม่รวมกันประมาณ 46,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับยอด 32,500 ยูนิต ใน ช่วงเดียวกันของปี 2554, บ้านจัดสรรเปิดขายใหม่ 24,000 ยูนิต ลดลง 29% เมื่อเทียบกับยอด 34,000 ยูนิต ในช่วงเดียวกันของปี 2554 อย่างไรก็ตาม ปี 2555 เป็นปีที่เห็นความชัดเจนของการขยายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ใน ตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม
ที่มา : แนวหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น