ธพ.ศึกษาขยายส่วนต่อท่อส่งน้ำมัน
ชี้หากรัฐลงทุนลดค่าน้ำมันได้ 60 สตางค์
กรมธุรกิจพลังงานส่งสถาบันปิโตรเลียมฯ ศึกษารูปแบบสร้างท่อส่งน้ำมันสายเหนือ-อีสาน
มูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านบาท มองรัฐลงทุนเองได้ประโยชน์สุด
ช่วยกดราคาน้ำมันลงได้ลิตรละ 60 สตางค์
นายสมนึก บำรุงสาลี รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวถึงแผนการสร้างท่องส่งน้ำมันส่วนต่อขยายว่ากรมธุรกิจพลังงานเตรียมหารือกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เรื่องการลงทุนก่อสร้างท่อส่งน้ำมันส่วนต่อขยายไปยังภาคตะวัตออกเฉียงหนือจาก จ.สระบุรีไปยังจ.ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร และสายเหนือจาก จ.สระบุรีไปยัง จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร
โดยจะมีการสร้างคลังน้ำมัน 4 แห่งที่จ.ขอนแก่น, นครราชสีมา, พิษณุโลก และลำปาง ซึ่งจะใช้งบลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมันได้ประมาณ 20 ปีคาดว่าจะศึกษาเสร็จภายในเดือนกันยายน 2555 จากนั้นจะนำเสนอกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.ป อนุมัติต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้าง 5-6 ปี
ทั้งนี้ ได้ให้สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ศึกษารายละเอียดของโครงการทั้งหมด รวมทั้งรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นของรัฐ หรือให้เอกชน เป็นผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นส่วนตัวมองว่าท่อส่งน้ำมันควรจะเป็นของรัฐและเปิดให้ผู้ค้าน้ำมันให้มาใช้ท่อได้อย่างเสรี ซึ่งหากรัฐเป็นเจ้าของก็จะทำให้ค่าผ่านท่อถูกลง และน่าจะทำให้ราคาน้ำมันทั้งประเทศลดลงเฉลี่ย 60 สตางค์ต่อลิตร ขึ้นอยู่กับระยะทางว่าห่างจากกรุงเทพฯ มากแค่ไหน แต่ถ้าให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนก็ต้องหารือในรายละเอียดของค่าผ่านท่ออีกครั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
"ผลประโยชน์ที่ได้จากการขนส่งทางท่อ นอกจากจะลดต้นทุนค่าขนส่งและทำให้ราคาน้ำมันทั้งประเทศใกล้เคียงกันแล้วยังคงช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดอุบัติเหตุจากรถขนส่งน้ำมัน และมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้น" นายสมนึกกล่าว
นายสมนึก บำรุงสาลี รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวถึงแผนการสร้างท่องส่งน้ำมันส่วนต่อขยายว่ากรมธุรกิจพลังงานเตรียมหารือกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เรื่องการลงทุนก่อสร้างท่อส่งน้ำมันส่วนต่อขยายไปยังภาคตะวัตออกเฉียงหนือจาก จ.สระบุรีไปยังจ.ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร และสายเหนือจาก จ.สระบุรีไปยัง จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร
โดยจะมีการสร้างคลังน้ำมัน 4 แห่งที่จ.ขอนแก่น, นครราชสีมา, พิษณุโลก และลำปาง ซึ่งจะใช้งบลงทุนประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำมันได้ประมาณ 20 ปีคาดว่าจะศึกษาเสร็จภายในเดือนกันยายน 2555 จากนั้นจะนำเสนอกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.ป อนุมัติต่อไป คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้าง 5-6 ปี
ทั้งนี้ ได้ให้สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ศึกษารายละเอียดของโครงการทั้งหมด รวมทั้งรูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นของรัฐ หรือให้เอกชน เป็นผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นส่วนตัวมองว่าท่อส่งน้ำมันควรจะเป็นของรัฐและเปิดให้ผู้ค้าน้ำมันให้มาใช้ท่อได้อย่างเสรี ซึ่งหากรัฐเป็นเจ้าของก็จะทำให้ค่าผ่านท่อถูกลง และน่าจะทำให้ราคาน้ำมันทั้งประเทศลดลงเฉลี่ย 60 สตางค์ต่อลิตร ขึ้นอยู่กับระยะทางว่าห่างจากกรุงเทพฯ มากแค่ไหน แต่ถ้าให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนก็ต้องหารือในรายละเอียดของค่าผ่านท่ออีกครั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
"ผลประโยชน์ที่ได้จากการขนส่งทางท่อ นอกจากจะลดต้นทุนค่าขนส่งและทำให้ราคาน้ำมันทั้งประเทศใกล้เคียงกันแล้วยังคงช่วยลดปัญหาจราจรติดขัดอุบัติเหตุจากรถขนส่งน้ำมัน และมลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้น" นายสมนึกกล่าว
ที่มา
: คม ชัด
ลึก ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน
พ.ศ. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น