"เฉาก๊วยชากังราว" รุกตลาดกัมพูชา-ลาวมาเลย์ หวังโกยรายได้ปีละ 100
ล้าน ขณะที่ยอดขายในประเทศอยู่ที่ 210 ล้าน
พร้อมเดินหน้าลงทุนใหม่ 140 ล้าน ปรับปรุงโรงงานแม่
สร้างโรงงานใหม่ที่ขอนแก่น-หาดใหญ่
ช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ลดต้นทุนขนส่ง
นายสุรกิจ สุวรรณโรจน์ ผู้จัดการด้านการผลิต บริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด ผู้ผลิตเฉาก๊วยชากังราวรายใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้บริษัทได้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยการส่งออกเฉาก๊วยไปต่างประเทศ ได้แก่กัมพูชา มาเลเซีย และ สปป.ลาว ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเจาะตลาดต่างประเทศครั้งแรก ตั้งแต่เปิดบริษัทมาประมาณ 11 ปี
ขณะนี้บริษัทได้เริ่มส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาวแล้ว ส่วนประเทศมาเลเซียอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรธุรกิจ เพื่อวางแผนการจัดจำหน่ายและการขนส่งสินค้า ซึ่งมั่นใจว่าสินค้าจะติดตลาดภายใน 1-2 ปี
ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงใช้ชื่อสินค้าแบรนด์เดิม "เฉาก๊วยชากังราว" แต่จะต้องมีการปรับปรุงแพ็กเกจจิ้งใหม่ เช่น การใช้ฉลากภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้บริโภคต่างประเทศอ่านง่ายขึ้น โดยวางเป้าว่าในปีนี้จะมียอดขาย จากต่างประเทศประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนยอดขายในประเทศอยู่ที่ 210 ล้านบาท
สำหรับการผลิตเฉาก๊วยนั้น บริษัทได้ลงทุนกว่า 20 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดขอนแก่น เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่ง และรักษาคุณภาพของสินค้าให้สดใหม่ อยู่ตลอดเวลา คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2556$
นอกจากนั้น หลังจากก่อสร้างโรงงานที่จังหวัดขอนแก่นแล้วเสร็จ ก็จะเดินหน้าสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เงินลงทุน 20 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าในภาคใต้ คาดว่าจะเปิดโรงงานแห่งนี้ได้ภายในปี 2558 การขยายโรงงานไปตั้งที่ขอนแก่นและหาดใหญ่ นอกจากเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและการขนส่งได้ประมาณ 30%
ส่วนภาคกลางและภาคเหนือ จะใช้โรงงานแม่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะระยะทางการขนส่งไม่ไกลมากนัก โดยเตรียมจะปรับปรุงโรงงานที่กำแพงเพชรให้มีประสิทธิภาพ เช่น เพิ่มจำนวนพนักงาน เพราะพนักงานที่มีอยู่ 70 คนยังผลิตเฉาก๊วยไม่ทันต่อคำสั่งซื้อ โดยมีกำลัง การผลิตประมาณ 8 หมื่นถุงต่อวัน
สำหรับวัตถุดิบสำคัญคือต้นเฉาก๊วย ต้องนำเข้ามาจากเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน เพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในพื้นที่อากาศหนาว ซึ่งเคยทดลองปลูกในไทยแล้ว แต่คุณภาพไม่ดี จึงต้องนำเข้าต้นเฉาก๊วยปีละ 100 ตัน ราคาตันละ 1 แสนบาท และภายในปีนี้ยังเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือน้ำสมุนไพรเฉาก๊วย
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมว่าจ้างทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรมมาช่วยพัฒนาและผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัย เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2558-2559
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) คาดว่าผู้บริโภคจะรู้จัก สินค้าและมีความต้องการเพิ่มขึ้น เตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เข้าไปจำหน่ายในร้านอาหารเพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ เช่น อเมริกา และยุโรป
นายสุรกิจ สุวรรณโรจน์ ผู้จัดการด้านการผลิต บริษัท เฉาก๊วยชากังราว จำกัด ผู้ผลิตเฉาก๊วยชากังราวรายใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้บริษัทได้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจโดยการส่งออกเฉาก๊วยไปต่างประเทศ ได้แก่กัมพูชา มาเลเซีย และ สปป.ลาว ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเจาะตลาดต่างประเทศครั้งแรก ตั้งแต่เปิดบริษัทมาประมาณ 11 ปี
ขณะนี้บริษัทได้เริ่มส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาวแล้ว ส่วนประเทศมาเลเซียอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรธุรกิจ เพื่อวางแผนการจัดจำหน่ายและการขนส่งสินค้า ซึ่งมั่นใจว่าสินค้าจะติดตลาดภายใน 1-2 ปี
ทั้งนี้ บริษัทจะยังคงใช้ชื่อสินค้าแบรนด์เดิม "เฉาก๊วยชากังราว" แต่จะต้องมีการปรับปรุงแพ็กเกจจิ้งใหม่ เช่น การใช้ฉลากภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้บริโภคต่างประเทศอ่านง่ายขึ้น โดยวางเป้าว่าในปีนี้จะมียอดขาย จากต่างประเทศประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนยอดขายในประเทศอยู่ที่ 210 ล้านบาท
สำหรับการผลิตเฉาก๊วยนั้น บริษัทได้ลงทุนกว่า 20 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในจังหวัดขอนแก่น เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนค่าขนส่ง และรักษาคุณภาพของสินค้าให้สดใหม่ อยู่ตลอดเวลา คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2556$
นอกจากนั้น หลังจากก่อสร้างโรงงานที่จังหวัดขอนแก่นแล้วเสร็จ ก็จะเดินหน้าสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เงินลงทุน 20 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าในภาคใต้ คาดว่าจะเปิดโรงงานแห่งนี้ได้ภายในปี 2558 การขยายโรงงานไปตั้งที่ขอนแก่นและหาดใหญ่ นอกจากเพิ่มกำลังการผลิตแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและการขนส่งได้ประมาณ 30%
ส่วนภาคกลางและภาคเหนือ จะใช้โรงงานแม่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะระยะทางการขนส่งไม่ไกลมากนัก โดยเตรียมจะปรับปรุงโรงงานที่กำแพงเพชรให้มีประสิทธิภาพ เช่น เพิ่มจำนวนพนักงาน เพราะพนักงานที่มีอยู่ 70 คนยังผลิตเฉาก๊วยไม่ทันต่อคำสั่งซื้อ โดยมีกำลัง การผลิตประมาณ 8 หมื่นถุงต่อวัน
สำหรับวัตถุดิบสำคัญคือต้นเฉาก๊วย ต้องนำเข้ามาจากเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน เพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในพื้นที่อากาศหนาว ซึ่งเคยทดลองปลูกในไทยแล้ว แต่คุณภาพไม่ดี จึงต้องนำเข้าต้นเฉาก๊วยปีละ 100 ตัน ราคาตันละ 1 แสนบาท และภายในปีนี้ยังเตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือน้ำสมุนไพรเฉาก๊วย
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมว่าจ้างทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรอุตสาหกรรมมาช่วยพัฒนาและผลิตเครื่องจักรที่ทันสมัย เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2558-2559
อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) คาดว่าผู้บริโภคจะรู้จัก สินค้าและมีความต้องการเพิ่มขึ้น เตรียมผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เข้าไปจำหน่ายในร้านอาหารเพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ เช่น อเมริกา และยุโรป
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น