รศ.ดร.ทพ.ญ.สุวิมล
ทวีชัยศุภพงษ์ หัวหน้าผู้วิจัยของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า
มีรายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-50 ของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประชากรร้อยละ 96 มีฟันผุ และร้อยละ 84
มีโรคปริทันต์อักเสบ โดยเฉพาะประชาชนในเขตชนบทที่ห่างไกล
การรักษาอนามัยช่องปากและป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์
ในสมัยโบราณมีวิธีทำความสะอาดฟันโดยใช้กิ่งไม้บางชนิดมาสีฟัน เช่น กิ่งข่อย
ซึ่งในปัจจุบันนี้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารบางพื้นที่ยังคงทำความสะอาดฟันโดยการใช้กิ่งข่อยสีฟัน
รศ.ดร.ทพ.ญ.สุวิมล กล่าวว่า ข่อยเป็นพืชสมุนไพรมีสรรพคุณหลายอย่าง ในอินเดียใช้กิ่งข่อยอ่อนทุบให้นิ่มใช้เป็นไม้สีฟัน ทำให้ฟันแน่นทน ในประเทศอื่นๆ ใช้น้ำต้มจากเปลือกข่อยต้มกับเกลือ เป็นยาอมแก้เงือกอักเสบ ในประเทศไทยพบว่าใช้กิ่งข่อยสีฟัน ใช้น้ำยางจากต้นข่อยผสมเกลือใส่ฟันหรือถูบริเวณที่ ปวดฟัน เหงือกบวม จะแก้อาการเจ็บปวดได้
"ทีมวิจัยได้รายงานผลการใช้น้ำบ้วนปากผสมสารสกัดจากใบข่อยในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่าลด ปริมาณเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ ในช่องปาก ไม่ทำให้ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์โดยรวมในช่องปากเปลี่ยน แปลง ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแคลเซียม ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำลาย นอกจากนี้ยังพบว่าการบ้วนปากด้วยสารสกัดจากใบข่อยเช้า-เย็น โดยไม่แปรงฟันเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน สามารถลดการอักเสบของเหงือกได้อย่างมีนัยสำคัญ ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้ตั้งแต่ 2-8 วัน แต่ผลการทดสอบนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น จะต้องดำเนินการวิจัยในระยะต่อไป" รศ.ดร.ทพ.ญ. สุวิมลกล่าว
รศ.ดร.ทพ.ญ.สุวิมล กล่าวว่า ข่อยเป็นพืชสมุนไพรมีสรรพคุณหลายอย่าง ในอินเดียใช้กิ่งข่อยอ่อนทุบให้นิ่มใช้เป็นไม้สีฟัน ทำให้ฟันแน่นทน ในประเทศอื่นๆ ใช้น้ำต้มจากเปลือกข่อยต้มกับเกลือ เป็นยาอมแก้เงือกอักเสบ ในประเทศไทยพบว่าใช้กิ่งข่อยสีฟัน ใช้น้ำยางจากต้นข่อยผสมเกลือใส่ฟันหรือถูบริเวณที่ ปวดฟัน เหงือกบวม จะแก้อาการเจ็บปวดได้
"ทีมวิจัยได้รายงานผลการใช้น้ำบ้วนปากผสมสารสกัดจากใบข่อยในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่าลด ปริมาณเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ ในช่องปาก ไม่ทำให้ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์โดยรวมในช่องปากเปลี่ยน แปลง ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณแคลเซียม ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำลาย นอกจากนี้ยังพบว่าการบ้วนปากด้วยสารสกัดจากใบข่อยเช้า-เย็น โดยไม่แปรงฟันเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน สามารถลดการอักเสบของเหงือกได้อย่างมีนัยสำคัญ ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มได้ตั้งแต่ 2-8 วัน แต่ผลการทดสอบนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น จะต้องดำเนินการวิจัยในระยะต่อไป" รศ.ดร.ทพ.ญ. สุวิมลกล่าว
ที่มา
: ข่าวสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น