“ปลอดประสพ” รมว. กระทรวงวิทย์ รุดตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการ “แสงซินโครตรอน”
แห่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่โคราช
ชี้เป็นเทคโนโลยีเทคนิควิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์ขั้นสูง ชูให้เป็น “แล็บกลาง” วิทยาศาสตร์ขั้นพื้น
ฐานของไทยเพื่อขับเคลื่อนสร้างองค์ความรู้แข่งขันกับนานาชาติได้ ระบุผลักดันผุด “เครื่องกำเนิดแสง ซินโครตรอน” ใหม่ประสิทธิภาพสูง
ใช้งบฯ 8 พันล้าน
พร้อมยกระดับเป็นศูนย์กลางวิจัยเทคโนโลยีแสง ซินโครตรอน
ด้านการแพทย์เกษตรอุตสาหกรรม
มุ่งตอบสนองพัฒนาภาคธุรกิจและการแข่งขันทางการค้าของประเทศ
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยาม ซึ่งวิชาการด้านแสงซินโครตรอนถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ในอาเซียนมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเฉพาะที่ประเทศไทยและสิงคโปร์ โดยประเทศไทย เป็นที่ตั้งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่ง ใหญ่และโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคนี้ สำหรับแสงซินโครตรอนเป็นแสงชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยได้หลายด้านทั้งเรื่องการวัดรูปร่าง โครงสร้างและคุณลักษณะรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งการวัดในทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมาก จะช่วยในการแยกแยะความแตกต่างและประสิทธิภาพชิ้นงาน แสงชนิดนี้เป็นแสงที่เล็กและคมมากมีอานุภาพในการทะลุทะลวงสูงจึงนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ด้วย
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และมองว่าเป็นเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงทางฟิสิกส์ มีประโยชน์ในการสร้างวิทยาศาสตร์พื้นฐานและสามารถสร้างวิทยาศาสตร์ขั้นก้าว ไกลในหลายสาขา เช่น สาขาการแพทย์ การเกษตร และสาขาด้านวัสดุศาสตร์ สถาบันแห่งนี้ถือเป็น “แล็บกลาง” ของไทย หรือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยไม่มี สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศไทยไม่เจริญเพราะว่าไม่สามารถขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ ได้ ซึ่งเรื่องนี้คนไทยต้องเข้าใจ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว ประเทศไทยก็จะมีองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศไทยสามารถ ก้าวหน้าแข่งขันกับประเทศอื่น หรือ นานา ชาติได้ ดร.ปลอดประสพ กล่าวอีกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะ ผลักดันให้มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน แห่งใหม่ที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการศึกษา รายละเอียดต่างๆ ประมาณ 1 เดือน เพื่อสรุปแผนดำเนินการและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยใช้สถานที่ก่อสร้างที่ จ.นครราชสีมาในบริเวณเดียวกันกับเครื่อง กำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องเดิม
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ได้เน้นย้ำให้กับสถาบันฯ ขยายฐานบริการกับกลุ่มผู้ใช้บริการมากขึ้น เพื่อให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเทคโนโลยีด้านนี้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ สถาบันการศึกษา เช่น ในด้านสาธารณสุข การแพทย์ อาจจะต้องผลักดันให้มีการตั้ง ห้องปฏิบัติการตรวจโรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆ โดยใช้แสงซินโครตรอนขึ้น หรือเป็นคลินิก ตรวจโรคด้วยแสงซินโครตรอน เป็นต้น โดยมีโรงพยาบาลทั่วประเทศเป็นเครือข่าย หรือ อาจผลักดันให้มีห้องปฏิบัติการวิจัยยาง พาราด้วยแสงซินโครตรอนโดยเฉพาะ เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์นับวันยิ่งต้องใช้ยางพารามากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะการทำยางรถยนต์ เท่านั้นอนาคตอาจพัฒนาไปเป็นตัวถังรถยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและนำกลับมารีไซเคิลได้ ฉะนั้นได้ให้การบ้านกับผู้บริหารสถาบันฯ ว่าจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีซิน โครตรอนเข้ามาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาภาคธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของไทยถือเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ที่ผ่านมาประเทศอื่นๆ มาใช้บริการห้องปฏิบัติการแสงสยามของไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะไม่เป็นเฉพาะศูนย์กลางของอาเซียน เท่านั้น แต่เราจะเป็นเอกคือหนึ่งเดียวของ อาเซียน เพื่อเป็นแชมเปี้ยนในการแข่งขันด้านนี้ สิ่งสำคัญคือเราจะต้องใช้แสงซินโครตรอนช่วยในการแข่งขันทางการค้าให้ได้มากที่สุด” ดร.ปลอดประสพ กล่าว ดร.ปลอดประสพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางสถาบันฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาสถานี ทดลองให้มีมากขึ้น จากเดิมที่มีอยู่ 9 สถานี เพื่อให้สามารถรองรับงานวิจัยได้หลากหลาย และเน้นย้ำให้เพิ่มความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้มากขึ้น โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก มาใช้ Topic ของที่นี่ให้มากขึ้น และสถาบันฯ ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Science Park หรือ นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ ของภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ขณะนี้ตั้งอยู่ที่ จ.ขอนแก่น ซึ่ง ครม.อนุมัติงบประมาณไปเรียบร้อยแล้วประมาณ 8,500 ล้านบาท เพื่อให้มี Science Park ทั่วประเทศ ซึ่ง Science Park ที่ว่านี้จะเป็นพาหนะนำพาวิทยาศาสตร์ไป สู่ภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ได้ให้ทางซินโครตรอนไปดูว่าจะเข้ามาร่วมกับก้าวใหม่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้อย่างไร
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยาม ซึ่งวิชาการด้านแสงซินโครตรอนถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ในอาเซียนมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเฉพาะที่ประเทศไทยและสิงคโปร์ โดยประเทศไทย เป็นที่ตั้งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่ง ใหญ่และโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคนี้ สำหรับแสงซินโครตรอนเป็นแสงชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานวิจัยได้หลายด้านทั้งเรื่องการวัดรูปร่าง โครงสร้างและคุณลักษณะรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งการวัดในทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญมาก จะช่วยในการแยกแยะความแตกต่างและประสิทธิภาพชิ้นงาน แสงชนิดนี้เป็นแสงที่เล็กและคมมากมีอานุภาพในการทะลุทะลวงสูงจึงนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ด้วย
ดร.ปลอดประสพ กล่าวว่า กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และมองว่าเป็นเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงทางฟิสิกส์ มีประโยชน์ในการสร้างวิทยาศาสตร์พื้นฐานและสามารถสร้างวิทยาศาสตร์ขั้นก้าว ไกลในหลายสาขา เช่น สาขาการแพทย์ การเกษตร และสาขาด้านวัสดุศาสตร์ สถาบันแห่งนี้ถือเป็น “แล็บกลาง” ของไทย หรือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยไม่มี สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศไทยไม่เจริญเพราะว่าไม่สามารถขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ ได้ ซึ่งเรื่องนี้คนไทยต้องเข้าใจ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้ว ประเทศไทยก็จะมีองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศไทยสามารถ ก้าวหน้าแข่งขันกับประเทศอื่น หรือ นานา ชาติได้ ดร.ปลอดประสพ กล่าวอีกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะ ผลักดันให้มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน แห่งใหม่ที่ใหญ่และมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการศึกษา รายละเอียดต่างๆ ประมาณ 1 เดือน เพื่อสรุปแผนดำเนินการและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 8,000 ล้านบาท โดยใช้สถานที่ก่อสร้างที่ จ.นครราชสีมาในบริเวณเดียวกันกับเครื่อง กำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องเดิม
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ได้เน้นย้ำให้กับสถาบันฯ ขยายฐานบริการกับกลุ่มผู้ใช้บริการมากขึ้น เพื่อให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเทคโนโลยีด้านนี้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ สถาบันการศึกษา เช่น ในด้านสาธารณสุข การแพทย์ อาจจะต้องผลักดันให้มีการตั้ง ห้องปฏิบัติการตรวจโรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆ โดยใช้แสงซินโครตรอนขึ้น หรือเป็นคลินิก ตรวจโรคด้วยแสงซินโครตรอน เป็นต้น โดยมีโรงพยาบาลทั่วประเทศเป็นเครือข่าย หรือ อาจผลักดันให้มีห้องปฏิบัติการวิจัยยาง พาราด้วยแสงซินโครตรอนโดยเฉพาะ เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์นับวันยิ่งต้องใช้ยางพารามากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะการทำยางรถยนต์ เท่านั้นอนาคตอาจพัฒนาไปเป็นตัวถังรถยนต์ที่มีความยืดหยุ่นสูงและนำกลับมารีไซเคิลได้ ฉะนั้นได้ให้การบ้านกับผู้บริหารสถาบันฯ ว่าจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีซิน โครตรอนเข้ามาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาภาคธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนของไทยถือเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ที่ผ่านมาประเทศอื่นๆ มาใช้บริการห้องปฏิบัติการแสงสยามของไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะไม่เป็นเฉพาะศูนย์กลางของอาเซียน เท่านั้น แต่เราจะเป็นเอกคือหนึ่งเดียวของ อาเซียน เพื่อเป็นแชมเปี้ยนในการแข่งขันด้านนี้ สิ่งสำคัญคือเราจะต้องใช้แสงซินโครตรอนช่วยในการแข่งขันทางการค้าให้ได้มากที่สุด” ดร.ปลอดประสพ กล่าว ดร.ปลอดประสพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทางสถาบันฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาสถานี ทดลองให้มีมากขึ้น จากเดิมที่มีอยู่ 9 สถานี เพื่อให้สามารถรองรับงานวิจัยได้หลากหลาย และเน้นย้ำให้เพิ่มความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้มากขึ้น โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก มาใช้ Topic ของที่นี่ให้มากขึ้น และสถาบันฯ ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Science Park หรือ นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ ของภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ขณะนี้ตั้งอยู่ที่ จ.ขอนแก่น ซึ่ง ครม.อนุมัติงบประมาณไปเรียบร้อยแล้วประมาณ 8,500 ล้านบาท เพื่อให้มี Science Park ทั่วประเทศ ซึ่ง Science Park ที่ว่านี้จะเป็นพาหนะนำพาวิทยาศาสตร์ไป สู่ภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ได้ให้ทางซินโครตรอนไปดูว่าจะเข้ามาร่วมกับก้าวใหม่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้อย่างไร
ที่มา : สยามธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น